กรมศิลป์ เผย พระสังฆาธิการ เมินเรียนรู้กฎหมายโบราณสถาน ส่งผลทำลายของเก่าอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ย้ำ ก่อนรื้อโบราณสถาน อาคารอนุรักษ์ ต้องทำหนังสือถึงกรมศิลปากร “รื้อได้หรือไม่”
นายธราพงศ์ ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร กล่าวว่า จากกรณีวัดสวนพลู เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ดำเนินการรื้ออาคารไม้โบราณ อายุกว่า 70 ปี โดยกลุ่มอาคารดังกลาวได้รับรางวัลหมู่กุฏิอนุรักษ์ดีเด่น มรดกสถาปัตยกรรมในประเทศไทยจากสมาคมสถาปนิกสยาม เมื่อปี 2545 นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายวัดที่ดำเนินการรื้ออาคารโบราณสถานโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้น ตนเห็นว่า ที่ผ่านมา กรมศิลปากรได้มีการอบรมพระสังฆาธิการ ให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ฉบับปรับปรุงแก้ไข 2535 อย่างต่อเนื่อง ทว่า ได้รับความสนใจจากพระสังฆาธิการน้อยมาก โดยส่งผู้แทนเข้ามาอบรม พอเกิดปัญหาเกี่ยวกับโบราณสถาน ก็จะทำให้ขาดความรู้ และก่อให้เกิดความเสียหายต่อโบราณสถาน รวมทั้งต่อตัวพระสังฆาธิการด้วยที่ดำเนินการทำลายโบราณสถานแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์
นายธราพงศ์ กล่าวว่า ตนขอชี้แจงพระสังฆาธิการทั่วประเทศ ว่า วัดที่มีโบราณสถานอยู่ภายในวัด จะยึด พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม 2535 เพียงอย่างเดียวว่า มีอำนาจสิทธิขาดดำเนินการอะไรทุกอย่าง ไม่ได้ โดยจะต้องยึด พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุฯ ควบคู่ไปด้วย แต่วัดใดเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ อาทิ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก สามารถยึดตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ เพียงอย่างเดียวได้เลย เนื่องจากเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด อย่างไรก็ดี เพื่อให้เข้าใจตรงกัน กรมศิลปากร พร้อมให้ความรู้พระสังฆาธิการอย่างต่อเนื่อง หากวัดใดไม่แน่ใจว่า อาคารต่างๆ ที่อยู่ภายในวัด เป็นโบราณสถานหรือไม่ สามารถแจ้งให้กรมศิลปากรเข้าไปช่วยตรวจสอบ
ผอ.สำนักโบราณคดี กล่าวว่า อาคารที่มีอายุเข้าเกณฑ์โบราณสถาน หรือเป็นอาคารอนุรักษ์ ทั้งที่อยู่ในวัดหรือตามสถานที่ต่างๆ ถ้าจะดำเนินการรื้อถอนจะต้องทำหนังสือแจ้งมายัง อธิบดีกรมศิลปากร เพื่อให้คณะกรรมการวิชาการ พิจารณา ว่า จะรื้อได้หรือไม่ หากเป็นอาคารมีซ้ำกันหลายหลังหรือมีสถาปัตยกรรมที่ซ้ำแบบกันมาก อาจจะให้รื้อได้ หากคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า เป็นสถาปัตยกรรมที่หายากมากแล้วในประเทศไทย จะไม่ให้ดำเนินการรื้อถอน ถ้าฝ่าฝืนจะมีโทษทั้งจำและปรับ
นายธราพงศ์ ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร กล่าวว่า จากกรณีวัดสวนพลู เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ดำเนินการรื้ออาคารไม้โบราณ อายุกว่า 70 ปี โดยกลุ่มอาคารดังกลาวได้รับรางวัลหมู่กุฏิอนุรักษ์ดีเด่น มรดกสถาปัตยกรรมในประเทศไทยจากสมาคมสถาปนิกสยาม เมื่อปี 2545 นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายวัดที่ดำเนินการรื้ออาคารโบราณสถานโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้น ตนเห็นว่า ที่ผ่านมา กรมศิลปากรได้มีการอบรมพระสังฆาธิการ ให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ฉบับปรับปรุงแก้ไข 2535 อย่างต่อเนื่อง ทว่า ได้รับความสนใจจากพระสังฆาธิการน้อยมาก โดยส่งผู้แทนเข้ามาอบรม พอเกิดปัญหาเกี่ยวกับโบราณสถาน ก็จะทำให้ขาดความรู้ และก่อให้เกิดความเสียหายต่อโบราณสถาน รวมทั้งต่อตัวพระสังฆาธิการด้วยที่ดำเนินการทำลายโบราณสถานแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์
นายธราพงศ์ กล่าวว่า ตนขอชี้แจงพระสังฆาธิการทั่วประเทศ ว่า วัดที่มีโบราณสถานอยู่ภายในวัด จะยึด พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม 2535 เพียงอย่างเดียวว่า มีอำนาจสิทธิขาดดำเนินการอะไรทุกอย่าง ไม่ได้ โดยจะต้องยึด พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุฯ ควบคู่ไปด้วย แต่วัดใดเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ อาทิ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก สามารถยึดตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ เพียงอย่างเดียวได้เลย เนื่องจากเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด อย่างไรก็ดี เพื่อให้เข้าใจตรงกัน กรมศิลปากร พร้อมให้ความรู้พระสังฆาธิการอย่างต่อเนื่อง หากวัดใดไม่แน่ใจว่า อาคารต่างๆ ที่อยู่ภายในวัด เป็นโบราณสถานหรือไม่ สามารถแจ้งให้กรมศิลปากรเข้าไปช่วยตรวจสอบ
ผอ.สำนักโบราณคดี กล่าวว่า อาคารที่มีอายุเข้าเกณฑ์โบราณสถาน หรือเป็นอาคารอนุรักษ์ ทั้งที่อยู่ในวัดหรือตามสถานที่ต่างๆ ถ้าจะดำเนินการรื้อถอนจะต้องทำหนังสือแจ้งมายัง อธิบดีกรมศิลปากร เพื่อให้คณะกรรมการวิชาการ พิจารณา ว่า จะรื้อได้หรือไม่ หากเป็นอาคารมีซ้ำกันหลายหลังหรือมีสถาปัตยกรรมที่ซ้ำแบบกันมาก อาจจะให้รื้อได้ หากคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า เป็นสถาปัตยกรรมที่หายากมากแล้วในประเทศไทย จะไม่ให้ดำเนินการรื้อถอน ถ้าฝ่าฝืนจะมีโทษทั้งจำและปรับ