4 มี.ค.นี้ กทม.เตรียมจัดกิจกรรมรวมพลังระวังต้อหิน เนื่องในวันต้อหินโลก ปี 2555
พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานการประชุมการจัดกิจกรรม “รวมพลังระวังต้อหิน เนื่องในวันต้อหินโลก ปี 2555” ร่วมกับชมรมต้อหินแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้คนไทยเกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญในการดูแลรักษาดวงตาอย่างถูกวิธี โดยกิจกรรมดังกล่าวกำหนดจะจัดขึ้นในวันที่ 4 มี.ค.2555 ระหว่างเวลา 07.00-11.00 น.ณ อาคารลุมพินี สวนลุมพินี กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การเดินรณรงค์ “รวมพลังระวังต้อหิน” การตรวจสุขภาพตา การเสวนาหัวข้อ “รู้ลึก รู้จริงเรื่องต้อหิน” นิทรรศการความรู้เรื่องต้อหิน และกิจกรรมตอบปัญหากับดารานักแสดง
ทั้งนี้ โรคต้อหินเป็นสาเหตุทำให้ตาบอดชนิดถาวรที่พบบ่อยเป็นอันดับ 1 ในประเทศไทย โดยผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคต้อหิน ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีสายตายาวมาก ผู้ที่เคยผ่าตัดหรือได้รับอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา และผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหิน ซึ่งผู้ป่วย 9 ใน 10 คน จะไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่จะสังเกตได้เมื่ออาการขั้นรุนแรง และอาจทำให้ตามัวหรือมองไม่เห็นได้ ดังนั้นทุกคนควรรับการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองโรคต้อหินทุก 1-2 ปี ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรตรวจตาเป็นประจำทุก 1 ปี หากตรวจพบเร็วจะสามารถรักษาไม่ให้ตาบอดได้
พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานการประชุมการจัดกิจกรรม “รวมพลังระวังต้อหิน เนื่องในวันต้อหินโลก ปี 2555” ร่วมกับชมรมต้อหินแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้คนไทยเกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญในการดูแลรักษาดวงตาอย่างถูกวิธี โดยกิจกรรมดังกล่าวกำหนดจะจัดขึ้นในวันที่ 4 มี.ค.2555 ระหว่างเวลา 07.00-11.00 น.ณ อาคารลุมพินี สวนลุมพินี กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การเดินรณรงค์ “รวมพลังระวังต้อหิน” การตรวจสุขภาพตา การเสวนาหัวข้อ “รู้ลึก รู้จริงเรื่องต้อหิน” นิทรรศการความรู้เรื่องต้อหิน และกิจกรรมตอบปัญหากับดารานักแสดง
ทั้งนี้ โรคต้อหินเป็นสาเหตุทำให้ตาบอดชนิดถาวรที่พบบ่อยเป็นอันดับ 1 ในประเทศไทย โดยผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคต้อหิน ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีสายตายาวมาก ผู้ที่เคยผ่าตัดหรือได้รับอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา และผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหิน ซึ่งผู้ป่วย 9 ใน 10 คน จะไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่จะสังเกตได้เมื่ออาการขั้นรุนแรง และอาจทำให้ตามัวหรือมองไม่เห็นได้ ดังนั้นทุกคนควรรับการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองโรคต้อหินทุก 1-2 ปี ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรตรวจตาเป็นประจำทุก 1 ปี หากตรวจพบเร็วจะสามารถรักษาไม่ให้ตาบอดได้