“สุกุมล” แฉ 30 ปีก่อนบูรณะกำแพงโบราณสถานวัดมหาธาตุไร้มาตรฐาน เหตุทำถล่ม สั่งเช็กวัดพระราม-ราชบูรณะ หวั่นพังเพิ่ม เล็งยกเลิกงานกาชาด กลัวส่งผลกระทบ เตรียมรายงานยูเนสโกความเสียหายมรดกโลกจมน้ำ
นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) พร้อมด้วย นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร และกรรมการมรดกโลก ลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายของโบราณสถานวัดมหาธาตุ ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีแนวกำแพงพังทลายลงมาความยาวกว่า 10 เมตร
นางสุกุมล กล่าวว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นคล้ายคลึงกับโบราณสถานหลายจุดที่มีการบูรณะเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ ทำให้การบูรณะนำวัสดุเก่าใส่ไว้ด้านในของแนวกำแพงโบราณสถาน ด้านในจึงเป็นโพรง และไม่มีความแข็งแรง ซึ่งการบูรณะครั้งนี้จะทำให้เกิดความมั่นคงมากที่สุด โดยจะมีการก่ออิฐให้แน่นหนา มีความตัน ขณะเดียวกัน ตนได้สั่งการให้สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา เร่งตรวจสอบโบราณสถานที่มีการบูรณะในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีการบูรณะในลักษณะเดียวกัน จึงอาจมีความเสี่ยงต่อการพังทลายเช่นเดียวกัน ส่วนการจัดงานกาชาด ประจำปี 2555 หรือ งานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก ที่จะมีการจัดแสงสีเสียงนั้น จะต้องมีการหารือกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดอีกครั้งว่า งานดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อมรดกโลกหรือไม่ หากคิดว่าการแสดงส่วนใดมีความเสี่ยงก็จะต้องยกเลิกไป
“ในส่วนของการป้องกันน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ จะต้องมีการขุดลอกคูคลองโบราณเมืองเก่า ส่วนแผนระยะยาวนั้น จะมีการหารืออีกครั้ง เนื่องจากต้องใช้งบประมาณค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม การบูรณะโบราณสถานในบริเวณเกาะเมืองอยุธยา ได้รับงบประมาณมาแล้วกว่า 600 ล้านบาท แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นของแนวกำแพงวัดมหาธาตุจะมีการเสนองบประมาณเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการบูรณะต่อไป” นางสุกุมล กล่าว
ด้านนางโสมสุดา กล่าวว่า ทางกรมศิลปากรจะต้องรายงานความเสียหายของแนวกำแพงวัดมหาธาตุ ที่ถล่มลงมาถือเป็นประเด็นที่จะต้องเร่งนำเสนอองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโกอย่างเร่งด่วน เพราะกรรมการมรดกโลกต่างให้ความสำคัญ และมีความเป็นห่วง รวมถึงวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ วัดราชบูรณะ ที่แช่น้ำเป็นระยะเวลานาน ส่วนวัดไชยวัฒนาราม แม้จะอยู่นอกเกาะเมือง ก็จะต้องมีการรายงานเช่นกัน เพราะถือว่าอยู่ในส่วนของเมืองมรดกโลกด้วย พร้อมทั้งจะรายงานผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมในปี 2554 ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยอีกด้วย
ขณะที่นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่า มีแนวทรุดเอียงและมีรอยแตกร้าวของพื้นที่โดยรอบกำแพงวัดมหาธาตุอีกหลายแห่ง เนื่องจากการบูรณะครั้งที่ผ่านมาขาดความมั่นคง จึงคาดการณ์ว่า อาจจะเกิดผลกระทบในลักษณะดังกล่าวอีกหลายแห่ง ซึ่งโบราณสถานที่มีการบูรณะในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ในกลุ่ม จ.อยุธยา ได้แก่ วัดพระราม วัดมหาธาตุ และวัดราชบูรณะ จึงมีความเสี่ยงต่อการพังทลายจากผลกระทบของน้ำฝนที่ท่วมขังเป็นเวลานาน ส่วนการบูรณะแนวกำแพงจะต้องมีการเสริมฐานรากให้มีความมั่นคง และมีการใช้อิฐก่อในลักษณะที่ตันให้มากขึ้น คาดว่า จะใช้เวลาในการทำงานประมาณ 20 วันจึงจะแล้วเสร็จ
นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) พร้อมด้วย นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร และกรรมการมรดกโลก ลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายของโบราณสถานวัดมหาธาตุ ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีแนวกำแพงพังทลายลงมาความยาวกว่า 10 เมตร
นางสุกุมล กล่าวว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นคล้ายคลึงกับโบราณสถานหลายจุดที่มีการบูรณะเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ ทำให้การบูรณะนำวัสดุเก่าใส่ไว้ด้านในของแนวกำแพงโบราณสถาน ด้านในจึงเป็นโพรง และไม่มีความแข็งแรง ซึ่งการบูรณะครั้งนี้จะทำให้เกิดความมั่นคงมากที่สุด โดยจะมีการก่ออิฐให้แน่นหนา มีความตัน ขณะเดียวกัน ตนได้สั่งการให้สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา เร่งตรวจสอบโบราณสถานที่มีการบูรณะในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีการบูรณะในลักษณะเดียวกัน จึงอาจมีความเสี่ยงต่อการพังทลายเช่นเดียวกัน ส่วนการจัดงานกาชาด ประจำปี 2555 หรือ งานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก ที่จะมีการจัดแสงสีเสียงนั้น จะต้องมีการหารือกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดอีกครั้งว่า งานดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อมรดกโลกหรือไม่ หากคิดว่าการแสดงส่วนใดมีความเสี่ยงก็จะต้องยกเลิกไป
“ในส่วนของการป้องกันน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ จะต้องมีการขุดลอกคูคลองโบราณเมืองเก่า ส่วนแผนระยะยาวนั้น จะมีการหารืออีกครั้ง เนื่องจากต้องใช้งบประมาณค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม การบูรณะโบราณสถานในบริเวณเกาะเมืองอยุธยา ได้รับงบประมาณมาแล้วกว่า 600 ล้านบาท แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นของแนวกำแพงวัดมหาธาตุจะมีการเสนองบประมาณเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการบูรณะต่อไป” นางสุกุมล กล่าว
ด้านนางโสมสุดา กล่าวว่า ทางกรมศิลปากรจะต้องรายงานความเสียหายของแนวกำแพงวัดมหาธาตุ ที่ถล่มลงมาถือเป็นประเด็นที่จะต้องเร่งนำเสนอองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโกอย่างเร่งด่วน เพราะกรรมการมรดกโลกต่างให้ความสำคัญ และมีความเป็นห่วง รวมถึงวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ วัดราชบูรณะ ที่แช่น้ำเป็นระยะเวลานาน ส่วนวัดไชยวัฒนาราม แม้จะอยู่นอกเกาะเมือง ก็จะต้องมีการรายงานเช่นกัน เพราะถือว่าอยู่ในส่วนของเมืองมรดกโลกด้วย พร้อมทั้งจะรายงานผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมในปี 2554 ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยอีกด้วย
ขณะที่นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่า มีแนวทรุดเอียงและมีรอยแตกร้าวของพื้นที่โดยรอบกำแพงวัดมหาธาตุอีกหลายแห่ง เนื่องจากการบูรณะครั้งที่ผ่านมาขาดความมั่นคง จึงคาดการณ์ว่า อาจจะเกิดผลกระทบในลักษณะดังกล่าวอีกหลายแห่ง ซึ่งโบราณสถานที่มีการบูรณะในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ในกลุ่ม จ.อยุธยา ได้แก่ วัดพระราม วัดมหาธาตุ และวัดราชบูรณะ จึงมีความเสี่ยงต่อการพังทลายจากผลกระทบของน้ำฝนที่ท่วมขังเป็นเวลานาน ส่วนการบูรณะแนวกำแพงจะต้องมีการเสริมฐานรากให้มีความมั่นคง และมีการใช้อิฐก่อในลักษณะที่ตันให้มากขึ้น คาดว่า จะใช้เวลาในการทำงานประมาณ 20 วันจึงจะแล้วเสร็จ