เปิดผลสำรวจหลังน้ำลด พบประชาชนเกินครึ่ง ไม่เห็นด้วยกับการป้องกันกรุงเทพฯ ชั้นในแห้ง ส่วนใหญ่รู้การเตรียมพร้อม เฝ้าระวัง/รับมือ สุดปลื้ม ทหารช่วยน้ำท่วมเต็มที่ คนปทุมให้คะแนนองค์กรปกครองท้องถิ่นช่วยเหลือดีสุด แนะข้อเสนอถึงรัฐบาล ส่งเสริมศักยภาพท้องถิ่น-เพิ่มช่องทางรับรู้-สื่อมวลชน มีบทบาทสร้างความเข้าใจในสังคม
วันนี้ (24 ม.ค.) ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) จัดแถลงข่าว “รายงานผลแบบสำรวจความคิดเห็นประชาชน การจัดการอุทกภัยที่เกิดขึ้นในเขต กทม.และปริมณฑล ปี พ.ศ.2554” โดย ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด ผู้อำนวยการแผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) กล่าวว่า การสำรวจความคิดเห็นประชาชนในการจัดการอุทกภัยในเขต กทม.และปริมณฑล ปี 2554 เพื่อนำไปสู่มาตรการและวิธีการจัดการน้ำท่วม และแนวทางจัดการปัญหาน้ำท่วมในอนาคต โดยได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชน 3,048 คน แบ่งเป็น กรุงเทพฯ 2,154 คน, จ.นนทบุรี 465 คน และ จ.ปทุมธานี 429 คน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่อาศัยในกรุงเทพฯ 52.7% น้ำไม่ท่วมที่อยู่อาศัย ขณะที่ผู้ที่อาศัยใน จ.นนทบุรี และ จ.ปทุมธานี 75% น้ำท่วมที่อยู่อาศัยแต่ไม่เข้าตัวอาคาร โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน โดยคนกรุงเทพฯ เห็นด้วยเพียง 44.8% ชาวปทุมธานี เห็นด้วย 50.3% และชาวนนทบุรี เห็นด้วยเพียง 32.3%
ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ กล่าวว่า เมื่อถามถึงการรับรู้ต่อมาตรการและวิธีจัดการน้ำท่วมในท้องถิ่น พบว่า การเฝ้าระวังและเตือนภัยเป็นสิ่งที่กลุ่มตัวอย่างมีความรับรู้มากกว่า 50% มาตรการดูแลระหว่างน้ำท่วม มีความรับรู้ประมาณ 20-30% มาตรการเตรียมรับมือน้ำท่วม มีการรับรู้ 10-16% และมีกลุ่มตัวอย่างเพียง 5% ที่ไม่รับรู้ถึงการเตรียมการใดๆ เลย สำหรับความเห็นในเรื่องหน่วยงานที่ให้การดูแลประชาชน กลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพฯ และนนทบุรี เห็นตรงกันว่าหน่วยงานทหารมีประสิทธิภาพในการดูแลประชาชนมากที่สุด ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างในจ.ปทุมธานี มีความเห็นว่าองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีประสิทธิภาพในการดูแลประชาชนมากที่สุด ทั้งนี้ ประชาชนรับรู้ข่าวสารจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด และกลุ่มตัวอย่างใน จ.ปทุมธานี รับรู้ข่าวสารทางตรงจากเสียงตามสาย รถกระจายเสียงรองจากสื่อโทรทัศน์
สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาในอนาคต กลุ่มตัวอย่างมากว่า 60% เห็นด้วยกับมาตรการด้านการลงทุนและก่อสร้าง เช่น สร้างระบบแก้มลิง ระบบระบายน้ำขนาดใหญ่ และระบบคลองย่อย ขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่เหลือ เห็นด้วยกับมาตรการที่ไม่ใช้การลงทุนก่อสร้าง เช่น การควบคุมการใช้ที่ดิน การจัดการความขัดแย้ง และการจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาดูแลปัญหาน้ำท่วมอย่างบูรณาการ โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 35-49% ไม่ต้องการจ่ายเงินในการสนับสนุนการก่อสร้างเพื่อป้องกันน้ำท่วม แต่เห็นด้วยกับแนวทางการระดมทุน และรับบริจาค ในขณะกลุ่มตัวอย่างเพียง 1-5% เห็นด้วยกับการหารายได้ด้วยการจัดเก็บจากผู้ที่ได้รับการป้องกันน้ำท่วม ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างมากกว่า 55% เห็นว่า ภาครัฐควรให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามหลักเกณฑ์ที่ว่า ผู้ที่ถูกน้ำท่วมนานกว่าควรได้รับการสงเคราะห์มากกว่า
ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ กล่าวว่า ข้อเสนอแนะจากการสำรวจ คือ 1.รัฐบาล ให้ความสำคัญกับการสนับสนุน อปท.ให้มีบทบาทสูงในด้านการรับมือกับอุทกภัย ด้วยการสนับสนุนการเตรียมการป้องกันน้ำท่วมในระดับท้องถิ่นให้มากขึ้น เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในระดับพื้นที่ที่ใกล้ตัวประชาชนมากที่สุด 2.รัฐบาลควรให้ความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญในการป้องกันพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน ว่า ไม่ใช่เป็นเรื่องของเศรษฐกิจ แต่เป็นเรื่องของการคุ้มครองชีวิตคน 5-6 ล้านคน 3.เพิ่มช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับน้ำท่วมนอกจากโทรทัศน์ โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกล เช่น การส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือการสื่อสารโดยตรง เป็นต้น และ 4.สื่อมวลชนควรให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องมาตรการป้องกันน้ำท่วม โดยเฉพาะมาตรการที่ไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง เช่น การควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดี การออกข้อบัญญัติของ อปท. ในการควบคุมอาคารในเขตน้ำท่วมซ้ำซาก เน้นการสร้างความร่วมมือของคนในชุมชนเพื่อลดความขัดแย้ง นอกเหนือจากให้ความสำคัญเรื่องสิ่งก่อสร้าง
วันนี้ (24 ม.ค.) ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) จัดแถลงข่าว “รายงานผลแบบสำรวจความคิดเห็นประชาชน การจัดการอุทกภัยที่เกิดขึ้นในเขต กทม.และปริมณฑล ปี พ.ศ.2554” โดย ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด ผู้อำนวยการแผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) กล่าวว่า การสำรวจความคิดเห็นประชาชนในการจัดการอุทกภัยในเขต กทม.และปริมณฑล ปี 2554 เพื่อนำไปสู่มาตรการและวิธีการจัดการน้ำท่วม และแนวทางจัดการปัญหาน้ำท่วมในอนาคต โดยได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชน 3,048 คน แบ่งเป็น กรุงเทพฯ 2,154 คน, จ.นนทบุรี 465 คน และ จ.ปทุมธานี 429 คน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่อาศัยในกรุงเทพฯ 52.7% น้ำไม่ท่วมที่อยู่อาศัย ขณะที่ผู้ที่อาศัยใน จ.นนทบุรี และ จ.ปทุมธานี 75% น้ำท่วมที่อยู่อาศัยแต่ไม่เข้าตัวอาคาร โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน โดยคนกรุงเทพฯ เห็นด้วยเพียง 44.8% ชาวปทุมธานี เห็นด้วย 50.3% และชาวนนทบุรี เห็นด้วยเพียง 32.3%
ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ กล่าวว่า เมื่อถามถึงการรับรู้ต่อมาตรการและวิธีจัดการน้ำท่วมในท้องถิ่น พบว่า การเฝ้าระวังและเตือนภัยเป็นสิ่งที่กลุ่มตัวอย่างมีความรับรู้มากกว่า 50% มาตรการดูแลระหว่างน้ำท่วม มีความรับรู้ประมาณ 20-30% มาตรการเตรียมรับมือน้ำท่วม มีการรับรู้ 10-16% และมีกลุ่มตัวอย่างเพียง 5% ที่ไม่รับรู้ถึงการเตรียมการใดๆ เลย สำหรับความเห็นในเรื่องหน่วยงานที่ให้การดูแลประชาชน กลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพฯ และนนทบุรี เห็นตรงกันว่าหน่วยงานทหารมีประสิทธิภาพในการดูแลประชาชนมากที่สุด ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างในจ.ปทุมธานี มีความเห็นว่าองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีประสิทธิภาพในการดูแลประชาชนมากที่สุด ทั้งนี้ ประชาชนรับรู้ข่าวสารจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด และกลุ่มตัวอย่างใน จ.ปทุมธานี รับรู้ข่าวสารทางตรงจากเสียงตามสาย รถกระจายเสียงรองจากสื่อโทรทัศน์
สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาในอนาคต กลุ่มตัวอย่างมากว่า 60% เห็นด้วยกับมาตรการด้านการลงทุนและก่อสร้าง เช่น สร้างระบบแก้มลิง ระบบระบายน้ำขนาดใหญ่ และระบบคลองย่อย ขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่เหลือ เห็นด้วยกับมาตรการที่ไม่ใช้การลงทุนก่อสร้าง เช่น การควบคุมการใช้ที่ดิน การจัดการความขัดแย้ง และการจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาดูแลปัญหาน้ำท่วมอย่างบูรณาการ โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 35-49% ไม่ต้องการจ่ายเงินในการสนับสนุนการก่อสร้างเพื่อป้องกันน้ำท่วม แต่เห็นด้วยกับแนวทางการระดมทุน และรับบริจาค ในขณะกลุ่มตัวอย่างเพียง 1-5% เห็นด้วยกับการหารายได้ด้วยการจัดเก็บจากผู้ที่ได้รับการป้องกันน้ำท่วม ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างมากกว่า 55% เห็นว่า ภาครัฐควรให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามหลักเกณฑ์ที่ว่า ผู้ที่ถูกน้ำท่วมนานกว่าควรได้รับการสงเคราะห์มากกว่า
ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ กล่าวว่า ข้อเสนอแนะจากการสำรวจ คือ 1.รัฐบาล ให้ความสำคัญกับการสนับสนุน อปท.ให้มีบทบาทสูงในด้านการรับมือกับอุทกภัย ด้วยการสนับสนุนการเตรียมการป้องกันน้ำท่วมในระดับท้องถิ่นให้มากขึ้น เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในระดับพื้นที่ที่ใกล้ตัวประชาชนมากที่สุด 2.รัฐบาลควรให้ความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญในการป้องกันพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน ว่า ไม่ใช่เป็นเรื่องของเศรษฐกิจ แต่เป็นเรื่องของการคุ้มครองชีวิตคน 5-6 ล้านคน 3.เพิ่มช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับน้ำท่วมนอกจากโทรทัศน์ โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกล เช่น การส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือการสื่อสารโดยตรง เป็นต้น และ 4.สื่อมวลชนควรให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องมาตรการป้องกันน้ำท่วม โดยเฉพาะมาตรการที่ไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง เช่น การควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดี การออกข้อบัญญัติของ อปท. ในการควบคุมอาคารในเขตน้ำท่วมซ้ำซาก เน้นการสร้างความร่วมมือของคนในชุมชนเพื่อลดความขัดแย้ง นอกเหนือจากให้ความสำคัญเรื่องสิ่งก่อสร้าง