สธ.ลงตรวจเยาวราช รณรงค์ซื้อเนื้อสัตว์ ผลไม้ ผัก อาหารปลอดภัย รับเทศกาลตรุษจีน เน้นคุมเข้มทุกขั้นตอน
วันนี้ (20 ม.ค.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวหลังการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแผงจำหน่ายอาหาร ซอยเล่งบ๊วยเอี๊ยะ ถ.เยาวราช ช่วงเทศกาลตรุษจีน ว่า ช่วงเทศกาลตรุษจีนทุกปี จะมีชาวไทยเชื้อสายจีนมาจับจ่ายสินค้าต่างๆ เพื่อนำไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมานาน ส่งผลให้การจำหน่ายสินค้าภายในตลาดและร้านค้าอย่างคึกคัก ดังนั้น ประชาชนที่ซื้อสินค้าต้องให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัย เบื้องต้นกระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายให้กรมอนามัยประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการตลาดสด เพื่อคุมเข้มความสะอาดปลอดภัยในตลาด โดยเฉพาะตลาดที่ผ่านการประเมินรับรอง เป็นตลาดสดน่าซื้อจากกรมอนามัย ซึ่งมีจำนวน 1,302 แห่งทั่วประเทศ ให้ผู้ค้าภายในตลาดมีสุขอนามัยที่ดี อาทิ ล้างทำความสะอากแผง เขียง เป็นประจำทุกวันตามหลักสุขาภิบาล แต่งกายสะอาด โดยใส่ผ้ากันเปื้อนที่สะอาดและสวมหมวก หรือเน็ตคลุมผม ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหาร เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่เลือกซื้อสินค้าภายในตลาดสด
“ประชาชนต้องรู้จักป้องกันตัวเองเบื้องต้น ด้วยการซื้ออาหารเซ่นไหว้ที่ปลอดภัย โดยเฉพาะเป็ด ไก่ ต้องสดใหม่ เนื้อแน่นสะอาดไม่มีจ้ำเลือด ไม่มีสีคล้ำ ไม่มีการทาสีตามตัว ไม่มีกลิ่นเหม็น สำหรับเนื้อหมูต้องเลือกหมูที่มีสีแดงธรรมชาติ ไม่มีกลิ่นเหม็น และที่สำคัญ ต้องไม่มีเม็ดสาคู หรือตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด เพื่อความปลอดภัยควรซื้อจากแหล่งที่ได้รับรองมาตรฐานว่าถูกสุขอนามัย สำหรับผัก ผลไม้สด ควรเลือกซื้อผลไม้ตามฤดูกาลจะได้ผักและผลไม้ที่สดใหม่มีคุณภาพ สังเกตที่เนื้อผักและผลไม้ต้องแน่น สีสด เป็นธรรมชาติไม่เหี่ยวเฉา เน่าหรือช้ำ หรือขึ้นรา ไม่มีเศษดิน หรือคราบสกปรก รวมทั้งคราบขาวของยาฆ่าแมลง พร้อมทั้งต้องเลือกจากแหล่งที่เชื่อถือได้ได้และมีเครื่องหมายรับรอง ด้านไข่ไก่ ไข่เป็ด ต้องมีลักษณะผิวนวล คล้ายแป้งเคลือบอยู่ที่เปลือกไข่ เปลือกไข่ต้องไม่แตกร้าว ไม่มีคราบมูลสัตว์ หรือคราบสกปรกติดมา วิธีการสังเกตไข่สดใหม่จะมีน้ำหนักมากกว่าไข่เก่า เมื่อเขย่าจะไม่มีเสียงคลอน จากที่เดินตรวจพบว่า เป็ด และไก่ ที่ร้านค้ามาวางจำหน่าย มีความสะอาดและสด เนื่องจากรับมาจากโรงงานที่มีคุณภาพในขั้นตอนการผลิต ปลอดจากไข้หวัดนก” นายวิทยากล่าว
ดร.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ก่อนการปรุงอาหารต้องล้างวัตถุดิบทุกครั้ง โดยเฉพาะผักสดต้องล้างด้วยน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง สำหรับผักบ้างชนิด เช่น คะน้า กะหล่ำ ถั่วฝักยาว หากมีคราบจับที่ก้านใบหรือฝักมากเกินไปให้ล้างน้ำหลายๆ ครั้ง และคลี่ใบถูหรือล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านผักสดอย่างน้อย 2 นาที หรือใช้สารละลายอื่นๆ ในการล้าง หรือแช่นานประมาณ 5 นาที อาทิ 1) ใช้น้ำเกลือ (เกลือ 2 ช้อนโต๊ะพูนต่อน้ำ 4 ลิตร) 2) ใช้น้ำปูนคลอรีน ความเข้มข้น 50 พีพีเอ็ม (ผสมผงปูนคลอรีน ครึ่งช้อนชา ในน้ำ 1 แก้ว คนให้เข้ากัน ทั้งไว้ให้ตกตะกอน รินเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำใสผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร) 3) ใช้น้ำส้มสายชู (ผสมน้ำส้มสายชู ครึ่งถ้วยต่อน้ำ 4 ลิตร) 4) ใช้โซดา (โซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร) และ 5) ใช้น้ำยาล้างผัก เป็นต้นแล้วจึงนำผักสดมาล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งก็สามารถและขจัดพิษภัยต่างๆ ในผักสดออกได้
“สำหรับการปรุงอาหารภายในครอบครัวก้ต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ต้องปรุงให้สุกทั่วชิ้น ด้วยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส เพื่อเป็นการทำลายเชื้อโรคประเภทแบคทีเรีย ไวรัส พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิตัวตืดที่อยู่ในเนื้อสัตว์ รวมทั้งโรคไข้หวัดนก และก่อนนำมารับประทานควรอุ่นให้สุกอีกครั้ง สำหรับการเก็บรักษาวัตถุดิบ ประเภท ไก่ ไข่ หมู จะต้องเก็บในภาชนะที่สะอาดแยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ ส่วนการประกอบอาหารควรเลี่ยงการทอด ด้วยน้ำมันมากเกินไป และให้ ลด หวาน มัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้สดหลังมื้ออาหารทุกครั้ง” อธิบดีกรมอนามัย
วันนี้ (20 ม.ค.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวหลังการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแผงจำหน่ายอาหาร ซอยเล่งบ๊วยเอี๊ยะ ถ.เยาวราช ช่วงเทศกาลตรุษจีน ว่า ช่วงเทศกาลตรุษจีนทุกปี จะมีชาวไทยเชื้อสายจีนมาจับจ่ายสินค้าต่างๆ เพื่อนำไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมานาน ส่งผลให้การจำหน่ายสินค้าภายในตลาดและร้านค้าอย่างคึกคัก ดังนั้น ประชาชนที่ซื้อสินค้าต้องให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัย เบื้องต้นกระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายให้กรมอนามัยประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการตลาดสด เพื่อคุมเข้มความสะอาดปลอดภัยในตลาด โดยเฉพาะตลาดที่ผ่านการประเมินรับรอง เป็นตลาดสดน่าซื้อจากกรมอนามัย ซึ่งมีจำนวน 1,302 แห่งทั่วประเทศ ให้ผู้ค้าภายในตลาดมีสุขอนามัยที่ดี อาทิ ล้างทำความสะอากแผง เขียง เป็นประจำทุกวันตามหลักสุขาภิบาล แต่งกายสะอาด โดยใส่ผ้ากันเปื้อนที่สะอาดและสวมหมวก หรือเน็ตคลุมผม ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหาร เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่เลือกซื้อสินค้าภายในตลาดสด
“ประชาชนต้องรู้จักป้องกันตัวเองเบื้องต้น ด้วยการซื้ออาหารเซ่นไหว้ที่ปลอดภัย โดยเฉพาะเป็ด ไก่ ต้องสดใหม่ เนื้อแน่นสะอาดไม่มีจ้ำเลือด ไม่มีสีคล้ำ ไม่มีการทาสีตามตัว ไม่มีกลิ่นเหม็น สำหรับเนื้อหมูต้องเลือกหมูที่มีสีแดงธรรมชาติ ไม่มีกลิ่นเหม็น และที่สำคัญ ต้องไม่มีเม็ดสาคู หรือตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด เพื่อความปลอดภัยควรซื้อจากแหล่งที่ได้รับรองมาตรฐานว่าถูกสุขอนามัย สำหรับผัก ผลไม้สด ควรเลือกซื้อผลไม้ตามฤดูกาลจะได้ผักและผลไม้ที่สดใหม่มีคุณภาพ สังเกตที่เนื้อผักและผลไม้ต้องแน่น สีสด เป็นธรรมชาติไม่เหี่ยวเฉา เน่าหรือช้ำ หรือขึ้นรา ไม่มีเศษดิน หรือคราบสกปรก รวมทั้งคราบขาวของยาฆ่าแมลง พร้อมทั้งต้องเลือกจากแหล่งที่เชื่อถือได้ได้และมีเครื่องหมายรับรอง ด้านไข่ไก่ ไข่เป็ด ต้องมีลักษณะผิวนวล คล้ายแป้งเคลือบอยู่ที่เปลือกไข่ เปลือกไข่ต้องไม่แตกร้าว ไม่มีคราบมูลสัตว์ หรือคราบสกปรกติดมา วิธีการสังเกตไข่สดใหม่จะมีน้ำหนักมากกว่าไข่เก่า เมื่อเขย่าจะไม่มีเสียงคลอน จากที่เดินตรวจพบว่า เป็ด และไก่ ที่ร้านค้ามาวางจำหน่าย มีความสะอาดและสด เนื่องจากรับมาจากโรงงานที่มีคุณภาพในขั้นตอนการผลิต ปลอดจากไข้หวัดนก” นายวิทยากล่าว
ดร.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ก่อนการปรุงอาหารต้องล้างวัตถุดิบทุกครั้ง โดยเฉพาะผักสดต้องล้างด้วยน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง สำหรับผักบ้างชนิด เช่น คะน้า กะหล่ำ ถั่วฝักยาว หากมีคราบจับที่ก้านใบหรือฝักมากเกินไปให้ล้างน้ำหลายๆ ครั้ง และคลี่ใบถูหรือล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านผักสดอย่างน้อย 2 นาที หรือใช้สารละลายอื่นๆ ในการล้าง หรือแช่นานประมาณ 5 นาที อาทิ 1) ใช้น้ำเกลือ (เกลือ 2 ช้อนโต๊ะพูนต่อน้ำ 4 ลิตร) 2) ใช้น้ำปูนคลอรีน ความเข้มข้น 50 พีพีเอ็ม (ผสมผงปูนคลอรีน ครึ่งช้อนชา ในน้ำ 1 แก้ว คนให้เข้ากัน ทั้งไว้ให้ตกตะกอน รินเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำใสผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร) 3) ใช้น้ำส้มสายชู (ผสมน้ำส้มสายชู ครึ่งถ้วยต่อน้ำ 4 ลิตร) 4) ใช้โซดา (โซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร) และ 5) ใช้น้ำยาล้างผัก เป็นต้นแล้วจึงนำผักสดมาล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งก็สามารถและขจัดพิษภัยต่างๆ ในผักสดออกได้
“สำหรับการปรุงอาหารภายในครอบครัวก้ต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ต้องปรุงให้สุกทั่วชิ้น ด้วยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส เพื่อเป็นการทำลายเชื้อโรคประเภทแบคทีเรีย ไวรัส พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิตัวตืดที่อยู่ในเนื้อสัตว์ รวมทั้งโรคไข้หวัดนก และก่อนนำมารับประทานควรอุ่นให้สุกอีกครั้ง สำหรับการเก็บรักษาวัตถุดิบ ประเภท ไก่ ไข่ หมู จะต้องเก็บในภาชนะที่สะอาดแยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ ส่วนการประกอบอาหารควรเลี่ยงการทอด ด้วยน้ำมันมากเกินไป และให้ ลด หวาน มัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้สดหลังมื้ออาหารทุกครั้ง” อธิบดีกรมอนามัย