รองผู้ว่าฯ กทม.ตรวจอาคารทรุด ย่านบางพลัด เผย มีการขออนุญาตก่อสร้างอย่างถูกต้อง ขณะที่วิศวกรรมสถานฯ ชี้ ไม่น่าเกิดจากน้ำท่วม คาด เกิดจากระบบรากฐานอาคาร ต้องใช้เวลาตรวจสอบกว่า 10 วัน
วันนี้ (16 ม.ค.) เวลา 13.00 น. พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้เดินทางไปตรวจอาคารก่อสร้างไม่มีบ้านเลขที่ ที่ถนนอรุณอัมรินทร์ ซอยอรุณอัมรินทร์ 30 แยกซอยสุวิชาญดำริ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กทม.ซึ่งเมื่อวานนี้เวลา 20.30 น.อาคารก่อสร้างแห่งนี้ทรุดตัว ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 2 คน คือ นายบุญส่ง ธนพจน์ พักอาศัยบริเวณอาคารที่เกิดเหตุ อายุ 31 ปี ได้รับบาดเจ็บที่แขนซ้าย และหน้าอก ขณะนี้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า และ นางสาววรรณพร บุญเกิด อายุ 20 ปี เกิดอาการช็อก จากเหตุการณ์ตึกถล่ม และได้รับการรักษาโรงพยาบาลเจ้าพระยาอย่างปลอดภัย ซึ่งขณะเกิดเหตุได้พักในบ้านเลขที่ 294 แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กทม. เป็นบริเวณใกล้ที่เกิดเหตุ และได้รับความเสียหายหลังคาแตกหัก นอกจากนี้ ที่พักคนงานได้รับความเสียหาย 3 ห้อง บ้านเลขที่ 249 หลังคาบ้านเสียหาย และรถจักรยานยนต์เสียหายอีก 6 คัน จากการตรวจสอบอาคารนี้ พบว่า มี นายกานต์ ผลเปี่ยม และ นางสาวปิยนุช ทองถม เป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้าง ตัวอาคารเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กำลังก่อสร้างใหม่สูง 6 ชั้น อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง อาคารนี้ก่อสร้างเพื่อเป็นที่พักอาศัยรวม 70 ห้อง พร้อมที่จอดรถ
พญ.มาลินี กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า การก่อสร้างอาคารนี้ ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้องตามระเบียบ และแบบก็ถูกต้อง มีการติดประกาศรายละเอียดก่อสร้างอย่างชัดเจนว่าใครเป็นผู้ดำเนินการ อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายโยธาเขตบางพลัดจะดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
ส่วน นายธเนศ ธีระศิริ เลขาธิการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า เบื้องต้นตนเองสันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากระบบฐานราก เช่น การรับน้ำหนักเสาเข็ม ฐานรากครอบหัวเสาเข็มชำรุดบกพร่องฐานใดฐานหนึ่ง หรือเสาตอม่อ เนื่องจากเห็นได้ว่าอาคารได้ทรุดลงทางด้านซ้าย เสาเข็มต้องตรวจสอบว่าผู้ออกแบบได้ออกแบบให้สร้างอาคารโดยใช้เสาเข็มประเภทใด เช่น เสาเข็มตอก หรือเสาเข็มเจาะ แต่ที่ระบุในการออกแบบนั้นเป็นเสาเข็มที่มีความลึก 28 เมตร และพื้นที่บริเวณนี้อาจเป็นทรายอัดแน่น ตามวัตถุประสงค์การออกแบบ หากเป็นทรายอัดแน่นจริง ตัวอาคารนี้ก็จะได้รับน้ำหนักตัวอาคารได้สมบูรณ์ไม่น่าเกิดปัญหาใดๆ แต่หากทำการก่อสร้างแล้วบริเวณนี้ไม่ใช่ชั้นทรายอัดแน่นก็จะเกิดปัญหา รวมถึงหากมีการแก้ไขแบบ สร้างอาคารไม่ตรงตามแบบก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้อาคารล้มได้
นายธเนศ กล่าวต่อว่า ส่วนที่มีการสันนิษฐาน ว่า การทรุดตัวอาจเกิดจากปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ดังกล่าวช่วงสิ้นปีที่ผ่านนั้น ตนคาดว่า ไม่น่าจะใช่ปัจจัยหลัก เพราะจากการสังเกตอาคารบริเวณรอบข้าง พบว่า ยังมีความมั่นคงแข็งแรง หากเกิดจากปัญหาน้ำท่วมแล้วสภาพดินจะมีการอ่อนตัว และอาคารข้างเคียงต้องมีปัญหาในการขยับ และยุบตัวลงด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม อาจจะเป็นปัญหาเฉพาะจุดก็ได้ ส่วนปัจจัยรองลงมาที่คาดว่าจะทำให้อาคารนี้ทรุดตัวลงมา คือ การแช่น้ำ เนื่องจากอาคารนี้เป็นอาคารเปลือยที่ยังไม่มีการฉาบปิด เหมือนอาคารใกล้เคียง มีโอกาสที่น้ำจะซึมเข้าไปและทำให้ชำรุดบกพร่องได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติมอีกที ถึงจะทราบปัญหาที่แท้จริงได้ โดยจะใช้วิธีรื้อและขุดเจาะอาคารเพื่อตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วคาดว่าจะใช้เวลากว่า 10 วัน
วันนี้ (16 ม.ค.) เวลา 13.00 น. พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้เดินทางไปตรวจอาคารก่อสร้างไม่มีบ้านเลขที่ ที่ถนนอรุณอัมรินทร์ ซอยอรุณอัมรินทร์ 30 แยกซอยสุวิชาญดำริ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กทม.ซึ่งเมื่อวานนี้เวลา 20.30 น.อาคารก่อสร้างแห่งนี้ทรุดตัว ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 2 คน คือ นายบุญส่ง ธนพจน์ พักอาศัยบริเวณอาคารที่เกิดเหตุ อายุ 31 ปี ได้รับบาดเจ็บที่แขนซ้าย และหน้าอก ขณะนี้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า และ นางสาววรรณพร บุญเกิด อายุ 20 ปี เกิดอาการช็อก จากเหตุการณ์ตึกถล่ม และได้รับการรักษาโรงพยาบาลเจ้าพระยาอย่างปลอดภัย ซึ่งขณะเกิดเหตุได้พักในบ้านเลขที่ 294 แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กทม. เป็นบริเวณใกล้ที่เกิดเหตุ และได้รับความเสียหายหลังคาแตกหัก นอกจากนี้ ที่พักคนงานได้รับความเสียหาย 3 ห้อง บ้านเลขที่ 249 หลังคาบ้านเสียหาย และรถจักรยานยนต์เสียหายอีก 6 คัน จากการตรวจสอบอาคารนี้ พบว่า มี นายกานต์ ผลเปี่ยม และ นางสาวปิยนุช ทองถม เป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้าง ตัวอาคารเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กำลังก่อสร้างใหม่สูง 6 ชั้น อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง อาคารนี้ก่อสร้างเพื่อเป็นที่พักอาศัยรวม 70 ห้อง พร้อมที่จอดรถ
พญ.มาลินี กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า การก่อสร้างอาคารนี้ ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้องตามระเบียบ และแบบก็ถูกต้อง มีการติดประกาศรายละเอียดก่อสร้างอย่างชัดเจนว่าใครเป็นผู้ดำเนินการ อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายโยธาเขตบางพลัดจะดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
ส่วน นายธเนศ ธีระศิริ เลขาธิการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า เบื้องต้นตนเองสันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากระบบฐานราก เช่น การรับน้ำหนักเสาเข็ม ฐานรากครอบหัวเสาเข็มชำรุดบกพร่องฐานใดฐานหนึ่ง หรือเสาตอม่อ เนื่องจากเห็นได้ว่าอาคารได้ทรุดลงทางด้านซ้าย เสาเข็มต้องตรวจสอบว่าผู้ออกแบบได้ออกแบบให้สร้างอาคารโดยใช้เสาเข็มประเภทใด เช่น เสาเข็มตอก หรือเสาเข็มเจาะ แต่ที่ระบุในการออกแบบนั้นเป็นเสาเข็มที่มีความลึก 28 เมตร และพื้นที่บริเวณนี้อาจเป็นทรายอัดแน่น ตามวัตถุประสงค์การออกแบบ หากเป็นทรายอัดแน่นจริง ตัวอาคารนี้ก็จะได้รับน้ำหนักตัวอาคารได้สมบูรณ์ไม่น่าเกิดปัญหาใดๆ แต่หากทำการก่อสร้างแล้วบริเวณนี้ไม่ใช่ชั้นทรายอัดแน่นก็จะเกิดปัญหา รวมถึงหากมีการแก้ไขแบบ สร้างอาคารไม่ตรงตามแบบก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้อาคารล้มได้
นายธเนศ กล่าวต่อว่า ส่วนที่มีการสันนิษฐาน ว่า การทรุดตัวอาจเกิดจากปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ดังกล่าวช่วงสิ้นปีที่ผ่านนั้น ตนคาดว่า ไม่น่าจะใช่ปัจจัยหลัก เพราะจากการสังเกตอาคารบริเวณรอบข้าง พบว่า ยังมีความมั่นคงแข็งแรง หากเกิดจากปัญหาน้ำท่วมแล้วสภาพดินจะมีการอ่อนตัว และอาคารข้างเคียงต้องมีปัญหาในการขยับ และยุบตัวลงด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม อาจจะเป็นปัญหาเฉพาะจุดก็ได้ ส่วนปัจจัยรองลงมาที่คาดว่าจะทำให้อาคารนี้ทรุดตัวลงมา คือ การแช่น้ำ เนื่องจากอาคารนี้เป็นอาคารเปลือยที่ยังไม่มีการฉาบปิด เหมือนอาคารใกล้เคียง มีโอกาสที่น้ำจะซึมเข้าไปและทำให้ชำรุดบกพร่องได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติมอีกที ถึงจะทราบปัญหาที่แท้จริงได้ โดยจะใช้วิธีรื้อและขุดเจาะอาคารเพื่อตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วคาดว่าจะใช้เวลากว่า 10 วัน