ครม.ไฟเขียวตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา 19 สถาบัน “วรวัจน์” ยันเริ่มได้ทันปีการศึกษา 55 ด้าน “ชัยพฤกษ์” ชี้ จากนี้ต้องเร่งจัดทำระเบียบต่างๆ เพื่อให้สถาบันเดินหน้าได้ เผย การมีสถาบันจะเปิดโอกาสให้ นศ.ปวส.มีเส้นทางเรียนต่อสายอาชีพโดยไม่ต้องเสียเวลาเปลี่ยนสายและไม่เสียเวลาสอบเทียบอีกครึ่งปี จนทำให้ต้องใช้เวลาเรียนถึง 2 ปีครึ่งเช่นที่ผ่านมา
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรที่จ.เชียงใหม่ วานนี้ (15 ม.ค.) ได้มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ เสนอ ร่าง กฎกระทรวงรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ... เพื่อดำเนินการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ.2551 ซึ่งจะมีการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ทั้งหมด 19 สถาบัน โดยการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษา จำนวน 161 แห่งในจำนวนนี้ได้รวมวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีที่ผ่านการประเมินอีก 6 แห่งเข้าร่วมด้วย
ทั้งนี้ การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษานั้น เพื่อส่งเสริมนโยบายของรัฐบาลในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคการเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยวและบริการ และสนับสนุนการผลิตกำลังคนเข้าสู่ตลาดการค้าและการลงทุน เน้นการจัดการอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ และเพิ่มขีดความสามารถด้านทรัพยากรบุคคลเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีเมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 อย่างไรก็ตาม ต่อไปนักศึกษาของอาชีวศึกษาก็จะสามารถเรียนได้จบระดับปริญญาตรี ซึ่งจะเริ่มดำเนินการได้ในปีการศึกษา 2555 แน่นอน
ด้าน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า สถาบันการอาชีวศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้นนี้ จะมีสถานภาพเป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี เน้นจัดการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาสายปฏิบัติการ หรือสายเทคโนโลยี สาขาวิชาที่จะเปิดรับนักศึกษาเข้าเรียนจะพิจารณาตามความต้องการของตลาดแรงงาน โดยมีสถานประกอบการร่วมเป็นเครือข่ายในการจัดการเรียนการสอนและการฝึกงาน เน้นเรียนเป็นนักปฏิบัติมากกว่านักวิชาการ เปิดโอกาสให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีเส้นทางศึกษาต่อเนื่องในสายวิชาชีพ โดยไม่ต้องเปลี่ยนเส้นทางเรียนและใช้เวลาเรียนต่อระดับปริญญาตรีได้ภายใน 2 ปีเท่านั้น ไม่ต้องไปเทียบระดับและใช้เวลาเรียนถึง 2 ปีครึ่งเหมือนที่เป็นอยู่
นายชัยพฤกษ์ กล่าวว่า สำหรับเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการร่างกฎกระทรวงจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาแบบกลุ่มจังหวัด 19 แห่ง แล้ว คือการ
เตรียมการในเรื่องระเบียบปฏิบัติต่าง ๆเพื่อให้สถาบันการอาชีวศึกษา สามารถเดินหน้าได้ เช่น การหากรรมการสภาสถาบัน การหานายกสภาสถาบัน การหาผู้บริหารสถาบันตำแหน่งต่างๆ การจัดทำโครงสร้างสถาบัน การคัดเลือกสถานที่ที่เป็นที่ตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา หรือที่ทำการสำนักงานสถาบันในรูปแบบกลุ่มจังหวัด หรื อ Area Based อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้จะตั้งสำนักงานชั่วคราวของ 19 สถาบันนี้ ที่ย่านรามอินทรา เพื่อเป็นสถานที่ประสานการดำเนินงานต่อไป
อนึ่ง ในร่างกฎกระทรวง การรวมสถานศึกษาอาชีวะ ได้กำหนดให้มีการเรียกชื่อ ดังนี้ สถานศึกษาอาชีวศึกษาตามบัญชี 1-5 เรียกว่า สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 -5 ตามลำดับ สถานศึกษาอาชีวศึกษาตามบัญชี 6-8 เรียกว่า สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1-3 ตามลำดับ สถานศึกษาอาชีวศึกษาตามบัญชี 9 เรียกว่า สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก สถานศึกษาอาชีวศึกษาตามบัญชี 10-14 เรียกว่า สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1-5 ตามลำดับ สถานศึกษาอาชีวศึกษาตามบัญชี 15-18 เรียกว่า สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1-4 ตามลำดับ และสถานศึกษาอาชีวศึกษาตามบัญชี 19 เรียกว่า สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรที่จ.เชียงใหม่ วานนี้ (15 ม.ค.) ได้มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ เสนอ ร่าง กฎกระทรวงรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ... เพื่อดำเนินการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ.2551 ซึ่งจะมีการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ทั้งหมด 19 สถาบัน โดยการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษา จำนวน 161 แห่งในจำนวนนี้ได้รวมวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีที่ผ่านการประเมินอีก 6 แห่งเข้าร่วมด้วย
ทั้งนี้ การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษานั้น เพื่อส่งเสริมนโยบายของรัฐบาลในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคการเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยวและบริการ และสนับสนุนการผลิตกำลังคนเข้าสู่ตลาดการค้าและการลงทุน เน้นการจัดการอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ และเพิ่มขีดความสามารถด้านทรัพยากรบุคคลเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีเมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 อย่างไรก็ตาม ต่อไปนักศึกษาของอาชีวศึกษาก็จะสามารถเรียนได้จบระดับปริญญาตรี ซึ่งจะเริ่มดำเนินการได้ในปีการศึกษา 2555 แน่นอน
ด้าน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า สถาบันการอาชีวศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้นนี้ จะมีสถานภาพเป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี เน้นจัดการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาสายปฏิบัติการ หรือสายเทคโนโลยี สาขาวิชาที่จะเปิดรับนักศึกษาเข้าเรียนจะพิจารณาตามความต้องการของตลาดแรงงาน โดยมีสถานประกอบการร่วมเป็นเครือข่ายในการจัดการเรียนการสอนและการฝึกงาน เน้นเรียนเป็นนักปฏิบัติมากกว่านักวิชาการ เปิดโอกาสให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีเส้นทางศึกษาต่อเนื่องในสายวิชาชีพ โดยไม่ต้องเปลี่ยนเส้นทางเรียนและใช้เวลาเรียนต่อระดับปริญญาตรีได้ภายใน 2 ปีเท่านั้น ไม่ต้องไปเทียบระดับและใช้เวลาเรียนถึง 2 ปีครึ่งเหมือนที่เป็นอยู่
นายชัยพฤกษ์ กล่าวว่า สำหรับเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการร่างกฎกระทรวงจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาแบบกลุ่มจังหวัด 19 แห่ง แล้ว คือการ
เตรียมการในเรื่องระเบียบปฏิบัติต่าง ๆเพื่อให้สถาบันการอาชีวศึกษา สามารถเดินหน้าได้ เช่น การหากรรมการสภาสถาบัน การหานายกสภาสถาบัน การหาผู้บริหารสถาบันตำแหน่งต่างๆ การจัดทำโครงสร้างสถาบัน การคัดเลือกสถานที่ที่เป็นที่ตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา หรือที่ทำการสำนักงานสถาบันในรูปแบบกลุ่มจังหวัด หรื อ Area Based อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้จะตั้งสำนักงานชั่วคราวของ 19 สถาบันนี้ ที่ย่านรามอินทรา เพื่อเป็นสถานที่ประสานการดำเนินงานต่อไป
อนึ่ง ในร่างกฎกระทรวง การรวมสถานศึกษาอาชีวะ ได้กำหนดให้มีการเรียกชื่อ ดังนี้ สถานศึกษาอาชีวศึกษาตามบัญชี 1-5 เรียกว่า สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 -5 ตามลำดับ สถานศึกษาอาชีวศึกษาตามบัญชี 6-8 เรียกว่า สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1-3 ตามลำดับ สถานศึกษาอาชีวศึกษาตามบัญชี 9 เรียกว่า สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก สถานศึกษาอาชีวศึกษาตามบัญชี 10-14 เรียกว่า สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1-5 ตามลำดับ สถานศึกษาอาชีวศึกษาตามบัญชี 15-18 เรียกว่า สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1-4 ตามลำดับ และสถานศึกษาอาชีวศึกษาตามบัญชี 19 เรียกว่า สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร