ก.แรงงาน เผย พิษน้ำท่วม ลูกจ้างถูกลอยแพกว่า 25,994 คน แรงงานอยุธยา ถูกเลิกจ้างมากสุด คาด สิ้นเดือน ม.ค.นี้ ยอดเลิกจ้างอาจพุ่งหลายหมื่นคน เชื่อสูงสุดไม่เกิน 5 หมื่นคน เน้นเฝ้าระวังสถานประกอบการขนาดใหญ่เป็นพิเศษ
วันนี้ (10 ม.ค.) นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากข้อมูลของ กสร.ณ วันที่ 9 ม.ค.2555 มีแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมถูกเลิกจ้าง 25,994 คน ในสถานประกอบการ 91 แห่ง ใน 7 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ฉะเชิงเทา สระบุรี นครปฐม นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ
ขณะเดียวกัน ยังมีสถานประกอบการอีก 1,333 แห่ง ที่ยังไม่ได้เปิดกิจการ ลูกจ้าง 232,019 คนที่ยังไม่ได้กลับเข้าทำงานและขณะนี้มีสถานประกอบการเปิดกิจการแล้ว 27,3456 แห่ง ลูกจ้างกลับเข้าทำงานแล้ว 761,925 คน ซึ่งในจำนวนดังกล่าวได้สมัครเข้าร่วมโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างของ รัฐบาลเท่าเดิมกับสัปดาห์ที่ผ่านมา จากยอดสมัครทั้งหมดในสถานประกอบการ 1,170 แห่ง ส่งผลให้ลูกจ้าง 272,193 คน จะได้รับการคุ้มครองโดยไม่มีการเลิกจ้าง
นอกจากนี้ จากข้อมูลสายด่วน 1546 ของ กสร.ระหว่างวันที่ 4-6 มกราคม 2555 มีผู้ใช้แรงงานโทร.ไปสอบถามข้อมูลกว่า 514 สาย ส่วนใหญ่เป็นการสอบถามสิทธิ์ที่ควรจะได้รับหากถูกเลิกจ้าง เรื่องข้อพิพาทแรงงาน เช่น การเรียกร้องโบนัส ส่วนสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน ในการส่งลูกจ้างที่ประสบน้ำท่วมไปทำงานที่อื่นชั่วคราวและถาวร 652 แห่ง ในจำนวนที่ต้องการรับ 78,445 คน ขณะที่มีลูกจ้างที่ประสบปัญหาน้ำท่วมเข้าร่วมโครงการ 13,251 คน ในสถานประกอบการ 110 แห่ง
นายอาทิตย์ กล่าวด้วยว่า สถานการณ์การเลิกจ้างขณะนี้ยังทรงตัว และเชื่อว่า สิ้นเดือนมกราคมนี้ตัวเลขการเลิกจ้างจะชัดเจนขึ้น เนื่องจากสิ้นสุดโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างของรัฐบาล ในการช่วยจ่ายค่าจ้างให้นายจ้างจำนวน 2,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน โดยไม่มีการเลิกจ้างเป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2554 - มกราคม 2555 และจากที่คาดการณ์ไว้ลูกจ้างจะถูกเลิกจ้างไม่เกิน 50,000 คน
“ขณะนี้ได้เตรียมมาตรการรองรับใน 2 แนวทาง คือ การรักษาสภาพการจ้างต่อ ในการนำเม็ดเงินที่เหลือมาขยายโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้าง ซึ่งเรื่องนี้ต้องหารือกับนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) ก่อน หากเห็นชอบ ก็จะได้หาวิธีการที่เหมาะสมก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป และมาตรการเยียวยาหลังเลิกจ้าง ในการจ่ายค่าประกันการว่างงาน โดยสำนักงานประกันสังคม(สปส.) และหางานใหม่ให้ โดยกรมการจัดหางาน (กกจ.)” อธิบดี กสร.กล่าว
นายอาทิตย์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้สถานประกอบการขนาดใหญ่เป็นอีก 1 เป้าหมายที่น่าเป็นห่วง เพราะฟื้นตัวช้าและอาจมีการปลดคนงาน หรือคนงานสมัครใจลาออกเอง เนื่องจากบางแห่งต้องใช้เวลาฟื้นฟูถึงเดือนเมษายน ขณะที่เงินในกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างที่มีอยู่กว่า 250 ล้านบาท ก็มีเพียงพอ เพื่อรองรับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างและนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย
วันนี้ (10 ม.ค.) นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากข้อมูลของ กสร.ณ วันที่ 9 ม.ค.2555 มีแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมถูกเลิกจ้าง 25,994 คน ในสถานประกอบการ 91 แห่ง ใน 7 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ฉะเชิงเทา สระบุรี นครปฐม นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ
ขณะเดียวกัน ยังมีสถานประกอบการอีก 1,333 แห่ง ที่ยังไม่ได้เปิดกิจการ ลูกจ้าง 232,019 คนที่ยังไม่ได้กลับเข้าทำงานและขณะนี้มีสถานประกอบการเปิดกิจการแล้ว 27,3456 แห่ง ลูกจ้างกลับเข้าทำงานแล้ว 761,925 คน ซึ่งในจำนวนดังกล่าวได้สมัครเข้าร่วมโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างของ รัฐบาลเท่าเดิมกับสัปดาห์ที่ผ่านมา จากยอดสมัครทั้งหมดในสถานประกอบการ 1,170 แห่ง ส่งผลให้ลูกจ้าง 272,193 คน จะได้รับการคุ้มครองโดยไม่มีการเลิกจ้าง
นอกจากนี้ จากข้อมูลสายด่วน 1546 ของ กสร.ระหว่างวันที่ 4-6 มกราคม 2555 มีผู้ใช้แรงงานโทร.ไปสอบถามข้อมูลกว่า 514 สาย ส่วนใหญ่เป็นการสอบถามสิทธิ์ที่ควรจะได้รับหากถูกเลิกจ้าง เรื่องข้อพิพาทแรงงาน เช่น การเรียกร้องโบนัส ส่วนสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน ในการส่งลูกจ้างที่ประสบน้ำท่วมไปทำงานที่อื่นชั่วคราวและถาวร 652 แห่ง ในจำนวนที่ต้องการรับ 78,445 คน ขณะที่มีลูกจ้างที่ประสบปัญหาน้ำท่วมเข้าร่วมโครงการ 13,251 คน ในสถานประกอบการ 110 แห่ง
นายอาทิตย์ กล่าวด้วยว่า สถานการณ์การเลิกจ้างขณะนี้ยังทรงตัว และเชื่อว่า สิ้นเดือนมกราคมนี้ตัวเลขการเลิกจ้างจะชัดเจนขึ้น เนื่องจากสิ้นสุดโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างของรัฐบาล ในการช่วยจ่ายค่าจ้างให้นายจ้างจำนวน 2,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน โดยไม่มีการเลิกจ้างเป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2554 - มกราคม 2555 และจากที่คาดการณ์ไว้ลูกจ้างจะถูกเลิกจ้างไม่เกิน 50,000 คน
“ขณะนี้ได้เตรียมมาตรการรองรับใน 2 แนวทาง คือ การรักษาสภาพการจ้างต่อ ในการนำเม็ดเงินที่เหลือมาขยายโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้าง ซึ่งเรื่องนี้ต้องหารือกับนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) ก่อน หากเห็นชอบ ก็จะได้หาวิธีการที่เหมาะสมก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป และมาตรการเยียวยาหลังเลิกจ้าง ในการจ่ายค่าประกันการว่างงาน โดยสำนักงานประกันสังคม(สปส.) และหางานใหม่ให้ โดยกรมการจัดหางาน (กกจ.)” อธิบดี กสร.กล่าว
นายอาทิตย์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้สถานประกอบการขนาดใหญ่เป็นอีก 1 เป้าหมายที่น่าเป็นห่วง เพราะฟื้นตัวช้าและอาจมีการปลดคนงาน หรือคนงานสมัครใจลาออกเอง เนื่องจากบางแห่งต้องใช้เวลาฟื้นฟูถึงเดือนเมษายน ขณะที่เงินในกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างที่มีอยู่กว่า 250 ล้านบาท ก็มีเพียงพอ เพื่อรองรับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างและนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย