กรมจัดหางาน เผย เตรียมตำแหน่งงานว่างกว่า 1.5 แสนอัตรา รองรับแรงงานน้ำท่วมตกงาน ชี้ ไทยขาดแคลนแรงงานภาคอุตสาหกรรม เหตุเด็กเน้นเรียนต่อปริญญาตรี เตรียมผนึกครูแนะแนว-สถานศึกษา เข้าไปแนะแนวเรียนสายอาชีพ-ตำแหน่งงานที่ตลาดต้องการใน ร.ร.
วันนี้ (4 ม.ค.) นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากจำนวนแรงงานที่ถูกเลิกจ้างจากปัญหาอุทกภัย 25,501 คน และมาลงทะเบียนใช้สิทธิประกันว่างงานของประกันสังคมเพียง 14,000 คน ขณะที่มีตำแหน่งงานว่างรองรับกว่า 150,000 อัตรา ส่วนใหญ่เป็นสายการผลิตชิ้นส่วนอิเลกทรอนิกส์ ยานยนต์ และภาคบริการ ซึ่งถือว่าเพียงพอรองรับแรงงานที่ถูกเลิกจ้างจากปัญหาอุทกภัย แม้จะมีนักศึกษาจบใหม่อีก 6-7 หมื่นคน มาสมทบก็ตาม ส่วนปัญหาการขาดแคลนแรงงานยังเป็นสายการผลิต เนื่องจากแรงงานต่างด้าวที่หนีน้ำท่วมกลับประเทศกลับมาไม่ทั้งหมด เพราะบางส่วนเป็นแรงงานผิดกฎหมาย
“ปัญหาการขาดแคลนแรงงานของไทยต้องแก้ควบคู่กับการศึกษาของเด็กไทย เนื่องจากปัจจุบันเด็กไทยเน้นเรียนต่อระดับปริญญาตรีมากขึ้น ส่งผลให้คุณสมบัติไม่ตรงตามความต้องการของนายจ้าง อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ กกจ.มีแผนเชิงรุกในการนำตำแหน่งงานที่ยังขาดแคลนไปให้ความรู้นักเรียนในสถานศึกษา โดยอาศัยช่องทางของครูแนะแนว เพื่อเป็นทางเลือกให้นักเรียนตัดสินในการศึกษาต่อ” นายประวิทย์ กล่าว
อธิบดี กกจ.กล่าวต่อไปว่า ขณะเดียวกัน จะต้องมีการปรับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัยขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถดึงข้อมูลมาวิเคราะห์ว่าทิศทางความต้องการแรงงานในแต่ละปี และแต่ละอุตสาหกรรมขาดแรงงานประเภทใด เพื่อป้อนข้อมูลให้ครูแนะแนวนำไปให้ความรู้นักเรียนได้ถูกทาง
วันนี้ (4 ม.ค.) นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากจำนวนแรงงานที่ถูกเลิกจ้างจากปัญหาอุทกภัย 25,501 คน และมาลงทะเบียนใช้สิทธิประกันว่างงานของประกันสังคมเพียง 14,000 คน ขณะที่มีตำแหน่งงานว่างรองรับกว่า 150,000 อัตรา ส่วนใหญ่เป็นสายการผลิตชิ้นส่วนอิเลกทรอนิกส์ ยานยนต์ และภาคบริการ ซึ่งถือว่าเพียงพอรองรับแรงงานที่ถูกเลิกจ้างจากปัญหาอุทกภัย แม้จะมีนักศึกษาจบใหม่อีก 6-7 หมื่นคน มาสมทบก็ตาม ส่วนปัญหาการขาดแคลนแรงงานยังเป็นสายการผลิต เนื่องจากแรงงานต่างด้าวที่หนีน้ำท่วมกลับประเทศกลับมาไม่ทั้งหมด เพราะบางส่วนเป็นแรงงานผิดกฎหมาย
“ปัญหาการขาดแคลนแรงงานของไทยต้องแก้ควบคู่กับการศึกษาของเด็กไทย เนื่องจากปัจจุบันเด็กไทยเน้นเรียนต่อระดับปริญญาตรีมากขึ้น ส่งผลให้คุณสมบัติไม่ตรงตามความต้องการของนายจ้าง อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ กกจ.มีแผนเชิงรุกในการนำตำแหน่งงานที่ยังขาดแคลนไปให้ความรู้นักเรียนในสถานศึกษา โดยอาศัยช่องทางของครูแนะแนว เพื่อเป็นทางเลือกให้นักเรียนตัดสินในการศึกษาต่อ” นายประวิทย์ กล่าว
อธิบดี กกจ.กล่าวต่อไปว่า ขณะเดียวกัน จะต้องมีการปรับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัยขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถดึงข้อมูลมาวิเคราะห์ว่าทิศทางความต้องการแรงงานในแต่ละปี และแต่ละอุตสาหกรรมขาดแรงงานประเภทใด เพื่อป้อนข้อมูลให้ครูแนะแนวนำไปให้ความรู้นักเรียนได้ถูกทาง