ระนอง - จังหวัดระนองเตือนแรงงานต่างด้าวในกิจการประมง ให้ยื่นขออนุญาตทำงานภายใน 13 สิงหาคม 54 พร้อมขู่นายจ้างใช้แรงงานผิดกฎหมายมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
นายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2554 เห็นชอบมาตรการรับจดทะเบียนและอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่ลักลอบทำงานอยู่ในประเทศไทย รวมทั้งผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรอายุไม่เกิน 15 ปี เพื่อผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ชั่วคราวระหว่างรอการส่งกลับเป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี ซึ่งได้สิ้นสุดการยื่นจดทะเบียนและยื่นขอใบอนุญาตทำงานไปแล้วเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2554 ปรากฏว่าจังหวัดระนองมีแรงงานต่างด้าวยื่นจดทะเบียนจำนวน 20,891 คน ยกเว้นกิจการประมงทะเลให้ยื่นขออนุญาตทำงานได้จนถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2554
ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวต่อว่า หากนายจ้างและ/หรือแรงงานต่างด้าวเพิกเฉยไม่ดำเนินการยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานภายในระยะเวลาที่กำหนด ย่อมมีความผิดและต้องระวางโทษตามที่กฎหมายตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551
กล่าวคือ ผู้ใดรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงานมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน, ผู้ใดรับคนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานแต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานกับตนเอง ให้คนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานอื่นนอกเหนือจากประเภทหรือลักษณะงานที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ณ ท้องที่หรือสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท, คนต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000-100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ, คนต่างด้าวไม่ทำงานตามประเภทหรือลักษณะงานและกับนายจ้าง ณ ท้องที่หรือสถานที่และเงื่อนไขตามที่ได้รับอนุญาตมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
และความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 กล่าวคือ ผู้ใดนำหรือพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร หรือการกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการอุปการะหรือช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่คนต่างด้าวให้เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท ,ผู้ใดให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองเข้าพักอาศัย ซ่อนเร้นหรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวนั้นพ้นจากการจับกุม มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท และเป็นบุคคลต่างด้าวเดินทางเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการอนุญาตสิ้นสุดหรือถูกเพิกถอน มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงขอให้นายจ้าง/ผู้ประกอบการและแรงงานต่างด้าวปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย
นายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2554 เห็นชอบมาตรการรับจดทะเบียนและอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่ลักลอบทำงานอยู่ในประเทศไทย รวมทั้งผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรอายุไม่เกิน 15 ปี เพื่อผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ชั่วคราวระหว่างรอการส่งกลับเป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี ซึ่งได้สิ้นสุดการยื่นจดทะเบียนและยื่นขอใบอนุญาตทำงานไปแล้วเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2554 ปรากฏว่าจังหวัดระนองมีแรงงานต่างด้าวยื่นจดทะเบียนจำนวน 20,891 คน ยกเว้นกิจการประมงทะเลให้ยื่นขออนุญาตทำงานได้จนถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2554
ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวต่อว่า หากนายจ้างและ/หรือแรงงานต่างด้าวเพิกเฉยไม่ดำเนินการยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานภายในระยะเวลาที่กำหนด ย่อมมีความผิดและต้องระวางโทษตามที่กฎหมายตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551
กล่าวคือ ผู้ใดรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงานมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน, ผู้ใดรับคนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานแต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานกับตนเอง ให้คนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานอื่นนอกเหนือจากประเภทหรือลักษณะงานที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ณ ท้องที่หรือสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท, คนต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000-100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ, คนต่างด้าวไม่ทำงานตามประเภทหรือลักษณะงานและกับนายจ้าง ณ ท้องที่หรือสถานที่และเงื่อนไขตามที่ได้รับอนุญาตมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
และความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 กล่าวคือ ผู้ใดนำหรือพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร หรือการกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการอุปการะหรือช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่คนต่างด้าวให้เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท ,ผู้ใดให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองเข้าพักอาศัย ซ่อนเร้นหรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวนั้นพ้นจากการจับกุม มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท และเป็นบุคคลต่างด้าวเดินทางเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการอนุญาตสิ้นสุดหรือถูกเพิกถอน มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงขอให้นายจ้าง/ผู้ประกอบการและแรงงานต่างด้าวปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย