สบส.ร่วมตำรวจท้องที่ จับอีก! “2 หมอเถื่อน” เปิดคลินิกย่านลำลูกกา พบกระทำผิดสั่งจ่ายยาต้องห้าม มีฤทธิ์กล่อมจิตประสาท
นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.อ.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ได้ลงพื้นที่ตรวจจับ “คลินิกเวชกรรม” ที่มีผู้ประกอบวิชาชีพผิดกฎหมาย หรือหมอเถื่อนจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ “คลินิกเวชกรรมดอนเมือง” ตั้งอยู่เลขที่ 11/10 หมู่ 9 คลองสอง ถนนลำลูกกา ต.คูคต และ “คลินิกการแพทย์ตลาดนานา” ตั้งอยู่เลขที่ 23/7 ตลาดดีดี พลาซ่า เสมาฟ้าคราม คลองสอง ถ.ลำลูกกา ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ซึ่งมีเจ้าของคนเดียวกัน คือ พล.ต.นพ.จักราวุธ แสนสืบ โดยเจ้าของมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างถูกต้อง แต่แพทย์ผู้ประกอบการในคลินิกกลับไม่ใช่แพทย์ที่ถูกกฎหมายทั้ง 2 แห่ง
โดย นายพสิษฐ์ กล่าวว่า คลินิกทั้งสองแห่งได้รับใบอนุญาตเปิดสถานพยาบาลถูกต้อง แต่กลับพบว่าแพทย์ที่ทำการรักษา จ่ายยาไม่ใช่แพทย์จริงๆ เนื่องจากตรวจสอบพบว่าไม่มีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างถูกต้อง ขณะเดียวกัน ยังสั่งจ่ายยาที่เข้าข่ายต้องห้าม โดยพบว่า มีการจ่ายยานอนหลับ หรือ ไดอาซีแพม (Diazepam) ซึ่งจัดเป็นยาวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภท 3-4 ซึ่งเป็นประเภทยาเสพติดที่ถูกกฎหมายทางการแพทย์ แต่ต้องใช้โดยแพทย์เท่านั้น หากไม่ใช่จะเข้าข่ายผิดกฏหมายทันที เนื่องจากยากลุ่มนี้หากใช้ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่แพทย์ผู้ชำนาญอาจได้รับอันตราย เพราะหากใช้ในจำนวนมากและต่อเนื่องอาจเสี่ยงเสียชีวิต
“การจับกุมครั้งนี้สามารถเอาผิดได้ 2 ส่วน คือ ส่วนเจ้าของ ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตเปิดสถานพยาบาล คือ พล.ต.นพ.จักราวุธ แม้สถานพยาบาลได้รับอนุญาตถูกต้อง แต่ก็มีความผิดตามมาตรา 34(1) ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ฐานเป็นผู้ดำเนินการไม่ควบคุมและดูแลปล่อยให้บุคคลอื่น ซึ่งมิใช่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทำการประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนแพทย์ปลอม ที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งพบในคลินิกทั้งสองแห่ง คือ คลินิกเวชกรรมดอนเมือง โดยพบ นางวัฒนา เจตนฤทธิ์ และคลินิกการแพทย์ตลาดนานา พบ จ.ส.อ.ธนวันต์ อินทกาน์ ทั้ง 2 รายมีการรักษาและจ่ายยาผู้ป่วย ทั้งๆ ที่ไม่ใช่แพทย์จริง และยังจ่ายยาต้องห้ามซึ่งเป็นกลุ่มออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก” นายพสิษฐ์ กล่าว
อนึ่ง ทั้ง 2 รายจะได้รับโทษ 4 ข้อหา ประกอบด้วย 1.ผิดมาตรา 26 ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ฐานประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียน และได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2.ผิดตามมาตรา 73 ของ พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรมฯ ฐานออกใบรัรบรองแพทย์ปลอมหรือเป็นเท็จ มีความผิดจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 269 จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 พันบาท และมาตรา 264 จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3.ผิดมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 ฐานขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท และ 4.ผิดมาตรา 16 ของ พ.ร.บ.ยาฯ กรณีขายยาวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภท 3-4 โดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 1 แสนบาท ทั้งนี้ ส่วนคลินิกดังกล่าวจะมีสาขาอื่นหรือไม่ เจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบ
ขณะที่ นพ.สุวัช กล่าวว่า จากนี้ไปจะส่งเรื่องกรณีแพทย์เจ้าของสถานพยาบาลให้ทางแพทยสภาพิจารณาว่า จะดำเนินการอย่างไร ขัดต่อหลักจริยธรรมหรือไม่ และจะส่งเรื่องไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานีให้สั่งปิดสถานพยาบาลทั้งสองแห่งชั่วคราวภายใน 60 วัน และให้พิจารณาว่า สมควรให้เปิดโดยต้องมีการปรับปรุงให้ถูกกฎหมายต่อไปหรือไม่
นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.อ.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ได้ลงพื้นที่ตรวจจับ “คลินิกเวชกรรม” ที่มีผู้ประกอบวิชาชีพผิดกฎหมาย หรือหมอเถื่อนจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ “คลินิกเวชกรรมดอนเมือง” ตั้งอยู่เลขที่ 11/10 หมู่ 9 คลองสอง ถนนลำลูกกา ต.คูคต และ “คลินิกการแพทย์ตลาดนานา” ตั้งอยู่เลขที่ 23/7 ตลาดดีดี พลาซ่า เสมาฟ้าคราม คลองสอง ถ.ลำลูกกา ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ซึ่งมีเจ้าของคนเดียวกัน คือ พล.ต.นพ.จักราวุธ แสนสืบ โดยเจ้าของมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างถูกต้อง แต่แพทย์ผู้ประกอบการในคลินิกกลับไม่ใช่แพทย์ที่ถูกกฎหมายทั้ง 2 แห่ง
โดย นายพสิษฐ์ กล่าวว่า คลินิกทั้งสองแห่งได้รับใบอนุญาตเปิดสถานพยาบาลถูกต้อง แต่กลับพบว่าแพทย์ที่ทำการรักษา จ่ายยาไม่ใช่แพทย์จริงๆ เนื่องจากตรวจสอบพบว่าไม่มีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างถูกต้อง ขณะเดียวกัน ยังสั่งจ่ายยาที่เข้าข่ายต้องห้าม โดยพบว่า มีการจ่ายยานอนหลับ หรือ ไดอาซีแพม (Diazepam) ซึ่งจัดเป็นยาวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภท 3-4 ซึ่งเป็นประเภทยาเสพติดที่ถูกกฎหมายทางการแพทย์ แต่ต้องใช้โดยแพทย์เท่านั้น หากไม่ใช่จะเข้าข่ายผิดกฏหมายทันที เนื่องจากยากลุ่มนี้หากใช้ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่แพทย์ผู้ชำนาญอาจได้รับอันตราย เพราะหากใช้ในจำนวนมากและต่อเนื่องอาจเสี่ยงเสียชีวิต
“การจับกุมครั้งนี้สามารถเอาผิดได้ 2 ส่วน คือ ส่วนเจ้าของ ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตเปิดสถานพยาบาล คือ พล.ต.นพ.จักราวุธ แม้สถานพยาบาลได้รับอนุญาตถูกต้อง แต่ก็มีความผิดตามมาตรา 34(1) ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ฐานเป็นผู้ดำเนินการไม่ควบคุมและดูแลปล่อยให้บุคคลอื่น ซึ่งมิใช่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทำการประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนแพทย์ปลอม ที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งพบในคลินิกทั้งสองแห่ง คือ คลินิกเวชกรรมดอนเมือง โดยพบ นางวัฒนา เจตนฤทธิ์ และคลินิกการแพทย์ตลาดนานา พบ จ.ส.อ.ธนวันต์ อินทกาน์ ทั้ง 2 รายมีการรักษาและจ่ายยาผู้ป่วย ทั้งๆ ที่ไม่ใช่แพทย์จริง และยังจ่ายยาต้องห้ามซึ่งเป็นกลุ่มออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก” นายพสิษฐ์ กล่าว
อนึ่ง ทั้ง 2 รายจะได้รับโทษ 4 ข้อหา ประกอบด้วย 1.ผิดมาตรา 26 ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ฐานประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียน และได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2.ผิดตามมาตรา 73 ของ พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรมฯ ฐานออกใบรัรบรองแพทย์ปลอมหรือเป็นเท็จ มีความผิดจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 269 จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 พันบาท และมาตรา 264 จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3.ผิดมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 ฐานขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท และ 4.ผิดมาตรา 16 ของ พ.ร.บ.ยาฯ กรณีขายยาวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภท 3-4 โดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 1 แสนบาท ทั้งนี้ ส่วนคลินิกดังกล่าวจะมีสาขาอื่นหรือไม่ เจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบ
ขณะที่ นพ.สุวัช กล่าวว่า จากนี้ไปจะส่งเรื่องกรณีแพทย์เจ้าของสถานพยาบาลให้ทางแพทยสภาพิจารณาว่า จะดำเนินการอย่างไร ขัดต่อหลักจริยธรรมหรือไม่ และจะส่งเรื่องไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานีให้สั่งปิดสถานพยาบาลทั้งสองแห่งชั่วคราวภายใน 60 วัน และให้พิจารณาว่า สมควรให้เปิดโดยต้องมีการปรับปรุงให้ถูกกฎหมายต่อไปหรือไม่