(19 พ.ย.54) ที่ศาลาว่าการกทม. เวลา 16.30 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ภายหลังจากกทม.ได้ส่งตัวแทนเข้าเจรจาเพื่อหาข้อยุติกรณีประชาชนลำลูกกา และคลองสอง ชุมนุมประท้วง พร้อมทั้งรื้อกระสอบทรายริมคลองหกวาสายล่าง เป็นระยะทางประมาณ 100 เมตร เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนจากปริมาณน้ำท่วมสูงเป็นเวลากว่า 1 เดือน
ผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยผลการประชุมเมื่อเวลาประมาณ 17.45 น. ว่า กทม. ได้มอบหมายให้ นายสมภพ ระงับทุกข์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นตัวแทนกทม.เข้าร่วมเจรจา กับตัวแทนศปภ. โดยมี พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ โฆษก ศปภ. นายขจรศักดิ์ สิงโตกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี พร้อมด้วยตัวแทนชาวลำลูกกา จ.ปทุมธานี ซึ่งกทม. ได้รับข้อพิจารณาของชาวจ.ปทุมธานีทุกข้อ โดยสรุปว่า จะเปิดประตูระบายน้ำ 3 แห่ง ดังนี้
1.ประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ ที่ระดับ 1 เมตรตลอดไป
2.ประตูระบายน้ำลำหม้อแตก จาก 20 ซม. เป็น 50 ซม.
3.ประตูระบายน้ำคลองสอง จากเดิม 1 เมตร เป็น 1.20 เมตร พร้อมทั้งจะเร่งระบายน้ำสู่คลองคูคตให้ได้ 3-5 ซ.ม.ต่อวัน
ทั้งนี้ กทม.ได้พิจารณาข้อเสนอดังกล่าวแล้ว สามารถรับข้อเสนอได้ แต่หากสถานการณ์เปลี่ยนไปเป็นที่เข้าใจได้ว่า กทม.ยังคงมีอำนาจที่จะปรับลดหรือเพิ่มในส่วนที่เกี่ยวการเปิดประตูระบายน้ำ และมีสิทธิที่จะเปิดหรือหรี่ประตูระบายน้ำ ทังนี้จะแจ้งให้ประชาชนปทุมธานีทราบล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม กทม.จะติดตามการเปิดประตูระบายน้ำทั้ง 3 แห่งอย่างใกล้ชิด และจะต้องไม่เกิดผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรมบางชัน โดยผลกระทบนี้อาจเกิดขึ้นต่อคลองบางบัว และคลองลาดพร้าว มีอัตราลดช้าลง รวมถึงทำให้การระบายน้ำบนถนนสู่คลองทั้งสองล่าช้ากว่าเดิม ประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งอาจจะทดแทนด้วยการเพิ่มเครื่องสูบน้ำพื้นที่ต่างๆ
ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวดีใจที่ทั้ง ศปภ. กทม. และจ.ปทุมธานี ได้ร่วมกันหารือด้วยเหตุและผล รวมถึงหาทางออกร่วมกัน ซี่งกทม.ขอขอบคุณทุกฝ่าย ที่ร่วมกันทำงานเพื่อประโยชน์ในวันข้างหน้าต่อไป
ผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยผลการประชุมเมื่อเวลาประมาณ 17.45 น. ว่า กทม. ได้มอบหมายให้ นายสมภพ ระงับทุกข์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นตัวแทนกทม.เข้าร่วมเจรจา กับตัวแทนศปภ. โดยมี พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ โฆษก ศปภ. นายขจรศักดิ์ สิงโตกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี พร้อมด้วยตัวแทนชาวลำลูกกา จ.ปทุมธานี ซึ่งกทม. ได้รับข้อพิจารณาของชาวจ.ปทุมธานีทุกข้อ โดยสรุปว่า จะเปิดประตูระบายน้ำ 3 แห่ง ดังนี้
1.ประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ ที่ระดับ 1 เมตรตลอดไป
2.ประตูระบายน้ำลำหม้อแตก จาก 20 ซม. เป็น 50 ซม.
3.ประตูระบายน้ำคลองสอง จากเดิม 1 เมตร เป็น 1.20 เมตร พร้อมทั้งจะเร่งระบายน้ำสู่คลองคูคตให้ได้ 3-5 ซ.ม.ต่อวัน
ทั้งนี้ กทม.ได้พิจารณาข้อเสนอดังกล่าวแล้ว สามารถรับข้อเสนอได้ แต่หากสถานการณ์เปลี่ยนไปเป็นที่เข้าใจได้ว่า กทม.ยังคงมีอำนาจที่จะปรับลดหรือเพิ่มในส่วนที่เกี่ยวการเปิดประตูระบายน้ำ และมีสิทธิที่จะเปิดหรือหรี่ประตูระบายน้ำ ทังนี้จะแจ้งให้ประชาชนปทุมธานีทราบล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม กทม.จะติดตามการเปิดประตูระบายน้ำทั้ง 3 แห่งอย่างใกล้ชิด และจะต้องไม่เกิดผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรมบางชัน โดยผลกระทบนี้อาจเกิดขึ้นต่อคลองบางบัว และคลองลาดพร้าว มีอัตราลดช้าลง รวมถึงทำให้การระบายน้ำบนถนนสู่คลองทั้งสองล่าช้ากว่าเดิม ประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งอาจจะทดแทนด้วยการเพิ่มเครื่องสูบน้ำพื้นที่ต่างๆ
ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวดีใจที่ทั้ง ศปภ. กทม. และจ.ปทุมธานี ได้ร่วมกันหารือด้วยเหตุและผล รวมถึงหาทางออกร่วมกัน ซี่งกทม.ขอขอบคุณทุกฝ่าย ที่ร่วมกันทำงานเพื่อประโยชน์ในวันข้างหน้าต่อไป