ศาล ปค.ไต่สวนคดีผู้ป่วยบวมน้ำเหลือง ฟ้อง ม.มหิดล คณบดีคณะเวชศาสตร์ อ้างวิธีภูษาบำบัด-ขันชะเนาะ เสี่ยงถึงตาย
วานนี้ (15 ธ.ค.) นายเอกณัฐ จิณเสน ตุลาการเจ้าของสำนวนได้ออกบัลลังก์ไต่สวนคดีที่ นางสมจิต วัชราเกียรติ ผู้ป่วยโรคบวมน้ำเหลืองที่รักษาใน รพ.เวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล พร้อมพวกรวม 3คน ยื่นฟ้องคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล ที่มีคำสั่งยุบเลิกโครงการรักษาโรคบวมน้ำเหลืองด้วยวิธีภูษาบำบัดและขันชะเนาะ ว่า เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดย นายสุกฤษฎิ์ กิติศรีวรพันธุ์ ทนายความของ นางสมจิต ผู้ป่วยโรคบวมน้ำเหลือง เปิดเผยภายหลังการไต่สวน ว่า วันนี้กลุ่มผู้ป่วยได้มาให้เท็จจริงเกี่ยวกับการรักษาโรคบวมน้ำเหลืองด้วยวิธีภูษาบำบัดและขันชะเนาะ มีความจำเป็นและประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างไร แต่ทางคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล ซึ่งเป็นผู้บริหารใน รพ.เวชศาสตร์เขตร้อน โดย รศ.ประตาป สิงหศิวานนท์ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อนและคณะยืนกราน ว่า การรักษาดังกล่าวมีภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิต หรือเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง แต่ก็ไม่ได้ให้เหตุผลทางการแพทย์มาหักล้างข้อเท็จจริงของผู้ป่วยและคณะแพทย์ในโครงการ ว่า การรักษาโรคนี้ด้วยวิธี ภูษาบำบัดและขันชะเนาะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอย่างไรบ้าง รวมทั้งยังอ้างว่าแพทย์เจ้าของโครงการไม่มีประกอบโรคศิลป์ ไม่สามารถรักษาพยาบาลได้ ทั้งที่ข้อเท็จจริงที่ผ่านมา ทางคณะเวชศาสตร์เขตร้อนก็ทำเรื่องต่ออายุใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ชั่วคราวกับแพทยสภาให้กับแพทย์เจ้าของโครงการแบบปีต่อปีมาตลอด
อย่างไรก็ตาม หลังการไต่สวนแล้วศาลยังไม่ได้มีการระบุว่า จะมีคำสั่งกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพาษา คือ ให้มีการดำเนินการโครงการต่อไปก่อนจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาตามที่นางสมจิตร้องขอเมื่อใด
วานนี้ (15 ธ.ค.) นายเอกณัฐ จิณเสน ตุลาการเจ้าของสำนวนได้ออกบัลลังก์ไต่สวนคดีที่ นางสมจิต วัชราเกียรติ ผู้ป่วยโรคบวมน้ำเหลืองที่รักษาใน รพ.เวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล พร้อมพวกรวม 3คน ยื่นฟ้องคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล ที่มีคำสั่งยุบเลิกโครงการรักษาโรคบวมน้ำเหลืองด้วยวิธีภูษาบำบัดและขันชะเนาะ ว่า เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดย นายสุกฤษฎิ์ กิติศรีวรพันธุ์ ทนายความของ นางสมจิต ผู้ป่วยโรคบวมน้ำเหลือง เปิดเผยภายหลังการไต่สวน ว่า วันนี้กลุ่มผู้ป่วยได้มาให้เท็จจริงเกี่ยวกับการรักษาโรคบวมน้ำเหลืองด้วยวิธีภูษาบำบัดและขันชะเนาะ มีความจำเป็นและประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างไร แต่ทางคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล ซึ่งเป็นผู้บริหารใน รพ.เวชศาสตร์เขตร้อน โดย รศ.ประตาป สิงหศิวานนท์ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อนและคณะยืนกราน ว่า การรักษาดังกล่าวมีภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิต หรือเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง แต่ก็ไม่ได้ให้เหตุผลทางการแพทย์มาหักล้างข้อเท็จจริงของผู้ป่วยและคณะแพทย์ในโครงการ ว่า การรักษาโรคนี้ด้วยวิธี ภูษาบำบัดและขันชะเนาะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอย่างไรบ้าง รวมทั้งยังอ้างว่าแพทย์เจ้าของโครงการไม่มีประกอบโรคศิลป์ ไม่สามารถรักษาพยาบาลได้ ทั้งที่ข้อเท็จจริงที่ผ่านมา ทางคณะเวชศาสตร์เขตร้อนก็ทำเรื่องต่ออายุใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ชั่วคราวกับแพทยสภาให้กับแพทย์เจ้าของโครงการแบบปีต่อปีมาตลอด
อย่างไรก็ตาม หลังการไต่สวนแล้วศาลยังไม่ได้มีการระบุว่า จะมีคำสั่งกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพาษา คือ ให้มีการดำเนินการโครงการต่อไปก่อนจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาตามที่นางสมจิตร้องขอเมื่อใด