“พินิติ” ยัน สกอ.ไม่มีอำนาจสั่งยุบรวมมหา’ลัย แต่จะดำเนินการตามคำร้องขอจากจังหวัด หรือท้องถิ่นที่เสนอเข้ามาขอยุบหรือหลอมรวม โดยทุกแห่งต้องผ่านกระบวนการตามแนวทางที่ ครม.ให้ความเห็นชอบ ระบุนอกจาก 6 จว.ยังไม่มีที่ใดขอมาเพิ่มเติม และในจำนวนนี้คาดว่า มหา’ลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ จะตั้งขึ้นก่อนเพราะตรงตามคอนเซ็ปต์
รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) กล่าวว่า ตามที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบหลักการร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยของรัฐโดยการยุบรวมสถาบันอุดมศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นั้นว่า วัตถุประสงค์ของการเสนอเรื่องดังกล่าวเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการจัดการ ศึกษาของประเทศให้มีคุณภาพตอบสนองความต้องการท้องถิ่นและสังคม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะไปมีอำนาจสั่งการยุบรวมมหาวิทยาลัยใดได้ เพียงแต่ที่ผ่านมา สกอ.ได้รับเรื่องร้องขอจากทางจังหวัดหรือท้องถิ่นเพื่อขอจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ รวมถึงการขอยุบหรือหลอมรวมหน่วยงานสถานศึกษาเข้าด้วยกันซึ่งมีทั้งเสนอขอรวม มหาวิทยาลัยกับสถานศึกษาของอาชีวศึกษา หรือยุบรวมวิทยาเขตที่อ่อนแอเข้าด้วยกัน เป็นต้น
แต่เนื่องจากในหลักการไม่ต้องการให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรัฐขึ้นใหม่ เพราะจำนวนมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นเพียงพอต่อการรองรับนักศึกษาได้ อีกทั้งนโยบายของรัฐบาลสนับสนุนให้เพิ่มสัดส่วนผู้เรียนในสายอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น ที่สำคัญในอนาคตจำนวนประชากรจะมีจำนวนลดลง เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องลงทุนเพื่อสร้างมหาวิทยาลัยใหม่ แต่ควรใช้วิธีการหลอมรวมหรือยุบรวมมากกว่า ดังนั้น คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) จึงได้ตั้งคณะทำงานศึกษาหลักเกณฑ์และกำหนดหลักเกณฑ์ซึ่งขณะนี้เมื่อหลัก เกณฑ์เรียบร้อยตามขั้นตอนจึงต้องเสนอให้ที่ประชุม ครม.มีมติรับรองเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติต่อไป
รศ.ดร.พินิติกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม การจะพิจารณายุบรวมมหาวิทยาลัยใดนั้นจะต้องพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ ทั้งการศึกษาความเป็นไปได้ในการหลอมรวม ยุบรวม ที่สำคัญต้องได้สถาบันนั้นต้องยินยอมที่จะรวมด้วยเพราะในบางครั้งผู้เสนอขอ รวมอาจจะไม่ใช้สถาบันการศึกษาเองแต่เป็นนักการเมือง ชุมชน เป็นต้น ขณะเดียวกันต้องมีการวางแผนบริหารจัดการทั้งระบบ มีการวางแผนเพื่อพัฒนากำลังในท้องถิ่นเพื่อไม่ให้เกิดการแรงงานย้ายถิ่น ที่สำคัญต้องมีการร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน อุตสาหกรรมในชุมชนในการพัฒนามหาวิทยาลัยด้วยเพื่อให้มหาวิทยาลัยมีงบประมาณ ส่วนอื่น ๆ มาสนับสนุนนอกเหนือจากที่ได้รับจากรัฐ
“ขณะนี้มีเพียง 6 จังหวัด คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตาก กาฬสินธุ์ ระยอง และกระบี่ ที่เสนอเรื่องเพื่อขอยุบรวม ซึ่งทั้งหมดนี้ยังไม่ได้หมายความจะยุบรวมได้เลยในขณะนี้ยังต้องผ่านขั้นตอนตามองค์ประกอบที่ระบุไว้ ซึ่งผมคิดว่าจังหวัดที่มีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการได้ก่อน คือ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ เพราะเป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ ซึ่งเมื่อยุบรวมแล้วไม่เป็นการเพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย อีกทั้งได้มีการประชุมร่วมกันและได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองท้องถิ่นเป็นอย่างดี และคาดว่านางบุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.จะเร่งเสนอร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เข้าสู่การพิจารณาโดยเร็ว”
รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) กล่าวว่า ตามที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบหลักการร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยของรัฐโดยการยุบรวมสถาบันอุดมศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นั้นว่า วัตถุประสงค์ของการเสนอเรื่องดังกล่าวเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการจัดการ ศึกษาของประเทศให้มีคุณภาพตอบสนองความต้องการท้องถิ่นและสังคม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะไปมีอำนาจสั่งการยุบรวมมหาวิทยาลัยใดได้ เพียงแต่ที่ผ่านมา สกอ.ได้รับเรื่องร้องขอจากทางจังหวัดหรือท้องถิ่นเพื่อขอจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ รวมถึงการขอยุบหรือหลอมรวมหน่วยงานสถานศึกษาเข้าด้วยกันซึ่งมีทั้งเสนอขอรวม มหาวิทยาลัยกับสถานศึกษาของอาชีวศึกษา หรือยุบรวมวิทยาเขตที่อ่อนแอเข้าด้วยกัน เป็นต้น
แต่เนื่องจากในหลักการไม่ต้องการให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรัฐขึ้นใหม่ เพราะจำนวนมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นเพียงพอต่อการรองรับนักศึกษาได้ อีกทั้งนโยบายของรัฐบาลสนับสนุนให้เพิ่มสัดส่วนผู้เรียนในสายอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น ที่สำคัญในอนาคตจำนวนประชากรจะมีจำนวนลดลง เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องลงทุนเพื่อสร้างมหาวิทยาลัยใหม่ แต่ควรใช้วิธีการหลอมรวมหรือยุบรวมมากกว่า ดังนั้น คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) จึงได้ตั้งคณะทำงานศึกษาหลักเกณฑ์และกำหนดหลักเกณฑ์ซึ่งขณะนี้เมื่อหลัก เกณฑ์เรียบร้อยตามขั้นตอนจึงต้องเสนอให้ที่ประชุม ครม.มีมติรับรองเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติต่อไป
รศ.ดร.พินิติกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม การจะพิจารณายุบรวมมหาวิทยาลัยใดนั้นจะต้องพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ ทั้งการศึกษาความเป็นไปได้ในการหลอมรวม ยุบรวม ที่สำคัญต้องได้สถาบันนั้นต้องยินยอมที่จะรวมด้วยเพราะในบางครั้งผู้เสนอขอ รวมอาจจะไม่ใช้สถาบันการศึกษาเองแต่เป็นนักการเมือง ชุมชน เป็นต้น ขณะเดียวกันต้องมีการวางแผนบริหารจัดการทั้งระบบ มีการวางแผนเพื่อพัฒนากำลังในท้องถิ่นเพื่อไม่ให้เกิดการแรงงานย้ายถิ่น ที่สำคัญต้องมีการร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน อุตสาหกรรมในชุมชนในการพัฒนามหาวิทยาลัยด้วยเพื่อให้มหาวิทยาลัยมีงบประมาณ ส่วนอื่น ๆ มาสนับสนุนนอกเหนือจากที่ได้รับจากรัฐ
“ขณะนี้มีเพียง 6 จังหวัด คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตาก กาฬสินธุ์ ระยอง และกระบี่ ที่เสนอเรื่องเพื่อขอยุบรวม ซึ่งทั้งหมดนี้ยังไม่ได้หมายความจะยุบรวมได้เลยในขณะนี้ยังต้องผ่านขั้นตอนตามองค์ประกอบที่ระบุไว้ ซึ่งผมคิดว่าจังหวัดที่มีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการได้ก่อน คือ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ เพราะเป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ ซึ่งเมื่อยุบรวมแล้วไม่เป็นการเพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย อีกทั้งได้มีการประชุมร่วมกันและได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองท้องถิ่นเป็นอย่างดี และคาดว่านางบุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.จะเร่งเสนอร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เข้าสู่การพิจารณาโดยเร็ว”