รมช.สธ. แนะนำ 7 วิธีระวังภัยสุขภาพจากขยะชุมชน ทั้งในพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วม และพื้นที่ที่น้ำแห้งแล้ว
นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า พื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ทั้งที่ยังมีน้ำท่วมขัง และน้ำแห้งลงแล้ว มีปัญหาจากปริมาณขยะจำนวนมากที่มากับน้ำ และข้าวของในบ้านที่เสียหายจากน้ำท่วม กระทรวงสาธารณสุขมีข้อแนะนำ 7 วิธีในการป้องกันตัวเอง และจัดการขยะ เช่น ขยะสารเคมีอันตรายจากบ้านเรือนและโรงงานที่ปนเปื้อนมากับน้ำท่วม รวมทั้งสารเคมีตกค้างในภาชนะบรรจุจากโรงงานและบ้านเรือน อาจปนเปื้อนเชื้อโรค มีสัตว์มีพิษ และสารเคมีอันตราย ดังนี้ 1. ทำความสะอาดมือและร่างกายทุกครั้ง หลังสัมผัสขยะหรือน้ำท่วมขัง และระมัดระวังไม่ให้ผิวหนังที่มีบาดแผลสัมผัสน้ำท่วมขัง เพื่อความปลอดภัยจากสารเคมี และเชื้อโรค 2. ไม่เทวัตถุหรือน้ำยาที่ไม่ทราบชนิดลงในน้ำที่ท่วมขัง เพราะอาจทำให้เกิดควัน ติดไฟ หรือระเบิด และทำให้ผิวหนังที่สัมผัสเกิดอาการระคายเคือง เป็นผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อนหรือไหม้ได้
3.ขยะจากเสื้อผ้า หนังสือ สิ่งของเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องเรือนต่างๆ ที่มีเชื้อรา ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัส และการหายใจโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันตนเอง เชื้อรา และสปอร์ของเชื้อรา อาจเข้าสู่ร่างกายโดยทางเดินหายใจ 4.ระมัดระวังสัตว์มีพิษที่ปะปนอยู่ในกองขยะ เช่น ปลิง ผึ้ง ต่อ แตน หนู หมัด เห็บ ตะขาบ แมงป่อง เพราะทำให้เกิดอาการแพ้ บาดแผล หรือติดเชื้อโรคในกรณีรุนแรงอาจถึงได้ตาย 5.ถ้าพบกองแบตเตอรี่ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือขยะบริเวณบ่อกักเก็บน้ำทิ้ง หรือที่จุดทิ้งขยะอันตรายในพื้นที่น้ำท่วม ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการ ขนย้าย เพื่อกำจัดอย่างถูกวิธี
6. แยกขยะขยะเปียก และขยะแห้งออกจากกัน ใส่ถุงดำและเก็บให้พ้นน้ำ สำหรับถุงเศษอาหาร ควรบรรจุในภาชนะที่แข็งแรงอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันหนูกัดแทะ สำหรับบ้านเรือนที่ยังถูกน้ำท่วม และบ้านใดที่ยังใช้ห้องส้วมไม่ได้ ควรถ่ายปฏิกูลใส่ถุงดำ โรยด้วยปูนขาว มัดปากถุงให้แน่น แล้วนำมารวบรวมทิ้งไว้ในจุดเดียวกัน หากสามารถบรรจุถุงใส่ปฏิกูล ในภาชนะที่แข็งแรงอีกชั้นหนึ่งก่อนทิ้ง ป้องกันถุงฉีกขาดจากการกระแทก หรือสัตว์กัดแทะจะช่วยชุมชนให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อ และ 7. สำรวจขยะในบ้าน หรือชุมชนหากพบภาชนะใส่น้ำยาไม่ทราบชนิด หรือวัตถุของแข็งอย่างเช่น แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย อุปกรณ์ไฟฟ้า ให้เก็บแยกออก จากขยะทั่วไป โดยเก็บให้พ้นน้ำ เพื่อรอรถขยะมาเก็บไปกำจัดทิ้ง
นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า พื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ทั้งที่ยังมีน้ำท่วมขัง และน้ำแห้งลงแล้ว มีปัญหาจากปริมาณขยะจำนวนมากที่มากับน้ำ และข้าวของในบ้านที่เสียหายจากน้ำท่วม กระทรวงสาธารณสุขมีข้อแนะนำ 7 วิธีในการป้องกันตัวเอง และจัดการขยะ เช่น ขยะสารเคมีอันตรายจากบ้านเรือนและโรงงานที่ปนเปื้อนมากับน้ำท่วม รวมทั้งสารเคมีตกค้างในภาชนะบรรจุจากโรงงานและบ้านเรือน อาจปนเปื้อนเชื้อโรค มีสัตว์มีพิษ และสารเคมีอันตราย ดังนี้ 1. ทำความสะอาดมือและร่างกายทุกครั้ง หลังสัมผัสขยะหรือน้ำท่วมขัง และระมัดระวังไม่ให้ผิวหนังที่มีบาดแผลสัมผัสน้ำท่วมขัง เพื่อความปลอดภัยจากสารเคมี และเชื้อโรค 2. ไม่เทวัตถุหรือน้ำยาที่ไม่ทราบชนิดลงในน้ำที่ท่วมขัง เพราะอาจทำให้เกิดควัน ติดไฟ หรือระเบิด และทำให้ผิวหนังที่สัมผัสเกิดอาการระคายเคือง เป็นผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อนหรือไหม้ได้
3.ขยะจากเสื้อผ้า หนังสือ สิ่งของเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องเรือนต่างๆ ที่มีเชื้อรา ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัส และการหายใจโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันตนเอง เชื้อรา และสปอร์ของเชื้อรา อาจเข้าสู่ร่างกายโดยทางเดินหายใจ 4.ระมัดระวังสัตว์มีพิษที่ปะปนอยู่ในกองขยะ เช่น ปลิง ผึ้ง ต่อ แตน หนู หมัด เห็บ ตะขาบ แมงป่อง เพราะทำให้เกิดอาการแพ้ บาดแผล หรือติดเชื้อโรคในกรณีรุนแรงอาจถึงได้ตาย 5.ถ้าพบกองแบตเตอรี่ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือขยะบริเวณบ่อกักเก็บน้ำทิ้ง หรือที่จุดทิ้งขยะอันตรายในพื้นที่น้ำท่วม ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการ ขนย้าย เพื่อกำจัดอย่างถูกวิธี
6. แยกขยะขยะเปียก และขยะแห้งออกจากกัน ใส่ถุงดำและเก็บให้พ้นน้ำ สำหรับถุงเศษอาหาร ควรบรรจุในภาชนะที่แข็งแรงอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันหนูกัดแทะ สำหรับบ้านเรือนที่ยังถูกน้ำท่วม และบ้านใดที่ยังใช้ห้องส้วมไม่ได้ ควรถ่ายปฏิกูลใส่ถุงดำ โรยด้วยปูนขาว มัดปากถุงให้แน่น แล้วนำมารวบรวมทิ้งไว้ในจุดเดียวกัน หากสามารถบรรจุถุงใส่ปฏิกูล ในภาชนะที่แข็งแรงอีกชั้นหนึ่งก่อนทิ้ง ป้องกันถุงฉีกขาดจากการกระแทก หรือสัตว์กัดแทะจะช่วยชุมชนให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อ และ 7. สำรวจขยะในบ้าน หรือชุมชนหากพบภาชนะใส่น้ำยาไม่ทราบชนิด หรือวัตถุของแข็งอย่างเช่น แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย อุปกรณ์ไฟฟ้า ให้เก็บแยกออก จากขยะทั่วไป โดยเก็บให้พ้นน้ำ เพื่อรอรถขยะมาเก็บไปกำจัดทิ้ง