“เผดิมชัย” สั่งการบ้าน สปส.ศึกษาตั้ง “กองทุนช่วยเหลือสังคม” เล็งผนึกโรงเรียนแพทย์ ผลิตแพทย์-พยาบาล พร้อมขอเป็นหุ้นส่วน รพ. จัดมุมบริการรักษาพยาบาลโรคที่เกิดจากการทำงานโดยเฉพาะ เล็งเจรจา รพ.ในระบบประกันสังคมขอลดค่ารักษา
วันนี้ (28 พ.ย.) นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) กล่าวว่า ภายหลังการหารือกับนพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงานและประธานคณะกรรมการประกันสังคม (สปส.) และนายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เกี่ยวกับเรื่องระบบการจ่ายเงินค่ารักษา พยาบาลโรงพยาบาลที่อยู่ในระบบประกันสังคม ว่า ได้มอบให้สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ ไปรวบรวมข้อมูลความรุนแรงหนักเบาในแต่ละโรค และความยากง่ายในการรักษา เพื่อนำมาคำนวณอัตราค่ารักษาพยาบาลของโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคไต โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับระบบกล่องเสียง ฯลฯ และนำไปหารือกับโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคเหล่านี้ ซึ่งอยู่ในระบบประกันสังคม เพื่อเจรจาขอลดหย่อนเงินค่ารักษาพยาบาลด้วย
รมว.แรงงาน กล่าวอีกว่า ตนยังมีแนวคิดที่จะให้ สปส.จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือสังคม โดยจัดโครงการความร่วมมือกับโรงเรียนแพทย์ต่างๆ เพื่อให้ทุนเด็กเรียนเก่งมาเรียนด้านแพทย์และพยาบาล ประเดิมปีแรก 100 ทุน โดยการให้ทุนเป็นไปได้ 2 แนวทาง คือ 1.การให้เด็ก ม.ปลาย มาเรียนต่อด้านแพทย์และพยาบาล จนมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และ 2.การให้ทุนบัณฑิตแพทย์ไปเรียนต่อเฉพาะทาง ทั้งนี้ เมื่อเรียนจบแล้วก็จะประสานไปยังโรงพยาบาลในระบบประกันสังคม เพื่อจัดตั้งมุมรักษาโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น โรคหูตาคอจมูก โรคระบบทางเดินหายใจ โรคไต ฯลฯ และ สปส.จะเข้าไปร่วมหุ้นกับโรงพยาบาลในระบบประกันสังคม 5-10% รวมถึงซื้ออุปกรณ์การแพทย์ เช่น เครื่องฟอกไต เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับการบริการอย่างเต็มที่ โดยมีแพทย์เฉพาะทางซึ่งเป็นนักเรียนทุนของ สปส.คอยดูแล อย่างไรก็ตาม ไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงพยาบาลต้นแบบของประกันสังคม เนื่องจากการบริหารงานยุ่งยาก และต้องใช้งบประมาณเยอะ
“แต่ละปี สปส.เหมาจ่ายค่ารักษาให้แก่โรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก แต่ผมยังคิดว่า สปส.น่าจะสร้างคุณค่าให้แก่สังคมบ้าง ซึ่งการสร้างโรงพยาบาลของ สปส.ขึ้นมาใหม่ ต้องใช้งบประมาณมาก แถมยุ่งยากในการบริหารงาน ทั้งงบประมาณและบุคลากร ขณะที่แพทย์และพยาบาลยังมีปัญหาขาดแคลนอยู่ ถ้าให้ทุนผลิตแพทย์และพยาบาลจะเป็นประโยชน์มากกว่า อย่างไรก็ตาม ได้ให้ สปส.ไปศึกษาความเป็นไปได้ รวมถึงเรื่องของกฎหมาย และเสนอกลับมาเร็วที่สุด” รมว.แรงงาน กล่าว
วันนี้ (28 พ.ย.) นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) กล่าวว่า ภายหลังการหารือกับนพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงานและประธานคณะกรรมการประกันสังคม (สปส.) และนายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เกี่ยวกับเรื่องระบบการจ่ายเงินค่ารักษา พยาบาลโรงพยาบาลที่อยู่ในระบบประกันสังคม ว่า ได้มอบให้สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ ไปรวบรวมข้อมูลความรุนแรงหนักเบาในแต่ละโรค และความยากง่ายในการรักษา เพื่อนำมาคำนวณอัตราค่ารักษาพยาบาลของโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคไต โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับระบบกล่องเสียง ฯลฯ และนำไปหารือกับโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคเหล่านี้ ซึ่งอยู่ในระบบประกันสังคม เพื่อเจรจาขอลดหย่อนเงินค่ารักษาพยาบาลด้วย
รมว.แรงงาน กล่าวอีกว่า ตนยังมีแนวคิดที่จะให้ สปส.จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือสังคม โดยจัดโครงการความร่วมมือกับโรงเรียนแพทย์ต่างๆ เพื่อให้ทุนเด็กเรียนเก่งมาเรียนด้านแพทย์และพยาบาล ประเดิมปีแรก 100 ทุน โดยการให้ทุนเป็นไปได้ 2 แนวทาง คือ 1.การให้เด็ก ม.ปลาย มาเรียนต่อด้านแพทย์และพยาบาล จนมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และ 2.การให้ทุนบัณฑิตแพทย์ไปเรียนต่อเฉพาะทาง ทั้งนี้ เมื่อเรียนจบแล้วก็จะประสานไปยังโรงพยาบาลในระบบประกันสังคม เพื่อจัดตั้งมุมรักษาโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น โรคหูตาคอจมูก โรคระบบทางเดินหายใจ โรคไต ฯลฯ และ สปส.จะเข้าไปร่วมหุ้นกับโรงพยาบาลในระบบประกันสังคม 5-10% รวมถึงซื้ออุปกรณ์การแพทย์ เช่น เครื่องฟอกไต เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับการบริการอย่างเต็มที่ โดยมีแพทย์เฉพาะทางซึ่งเป็นนักเรียนทุนของ สปส.คอยดูแล อย่างไรก็ตาม ไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงพยาบาลต้นแบบของประกันสังคม เนื่องจากการบริหารงานยุ่งยาก และต้องใช้งบประมาณเยอะ
“แต่ละปี สปส.เหมาจ่ายค่ารักษาให้แก่โรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก แต่ผมยังคิดว่า สปส.น่าจะสร้างคุณค่าให้แก่สังคมบ้าง ซึ่งการสร้างโรงพยาบาลของ สปส.ขึ้นมาใหม่ ต้องใช้งบประมาณมาก แถมยุ่งยากในการบริหารงาน ทั้งงบประมาณและบุคลากร ขณะที่แพทย์และพยาบาลยังมีปัญหาขาดแคลนอยู่ ถ้าให้ทุนผลิตแพทย์และพยาบาลจะเป็นประโยชน์มากกว่า อย่างไรก็ตาม ได้ให้ สปส.ไปศึกษาความเป็นไปได้ รวมถึงเรื่องของกฎหมาย และเสนอกลับมาเร็วที่สุด” รมว.แรงงาน กล่าว