แรงงานเจรจา 2 โรงงานในอยุธยาจ่ายค่าจ้างเดือน พ.ย.ให้แก่ลูกจ้าง ชี้หากเจรจาไม่ได้ผล นายจ้างเบี้ยวไม่จ่าย พร้อมใช้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างช่วยลูกจ้าง
จากกรณีพนักงานบริษัท มินอิก จำกัด และบริษัท เอ็มยู ประเทศไทย จำกัด ซึ่งทั้งสองบริษัทเป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยาชุมนุมเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายเงินเดือนประจำงวดแรกของเดือน พ.ย.นี้เมื่อวันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่ศูนย์ราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น
วันนี้ (16 พ.ย.) นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวว่า ทางสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับเรื่องร้องเรียนจากพนักงานบริษัท มินอิก จำกัด และบริษัท เอ็มยู ประเทศไทย จำกัด ไว้แล้ว และจะประสานเพื่อเชิญนายจ้างชาวไต้หวันมาหารือต่อไป หลังจากนั้นทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) จะออกหนังสือคำสั่งให้ทั้งสองบริษัทจ่ายค่าจ้างให้แก่พนักงาน
“เมื่อ กสร.มีหนังสือคำสั่งไปแล้วทั้งสองบริษัทไม่ยอมจ่ายค่าจ้าง ก็ขอให้พนักงานของทั้งสองบริษัทมายื่นคำร้องต่อสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากนั้นสวัสดิการฯ จะพิจารณาและนำเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างที่มีปัจจุบันมีเงินอยู่ประมาณ 259 ล้านบาทมาจ่ายค่าชดเชยแทนนายจ้าง” ปลัด รง.กล่าว
จากกรณีพนักงานบริษัท มินอิก จำกัด และบริษัท เอ็มยู ประเทศไทย จำกัด ซึ่งทั้งสองบริษัทเป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยาชุมนุมเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายเงินเดือนประจำงวดแรกของเดือน พ.ย.นี้เมื่อวันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่ศูนย์ราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น
วันนี้ (16 พ.ย.) นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวว่า ทางสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับเรื่องร้องเรียนจากพนักงานบริษัท มินอิก จำกัด และบริษัท เอ็มยู ประเทศไทย จำกัด ไว้แล้ว และจะประสานเพื่อเชิญนายจ้างชาวไต้หวันมาหารือต่อไป หลังจากนั้นทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) จะออกหนังสือคำสั่งให้ทั้งสองบริษัทจ่ายค่าจ้างให้แก่พนักงาน
“เมื่อ กสร.มีหนังสือคำสั่งไปแล้วทั้งสองบริษัทไม่ยอมจ่ายค่าจ้าง ก็ขอให้พนักงานของทั้งสองบริษัทมายื่นคำร้องต่อสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากนั้นสวัสดิการฯ จะพิจารณาและนำเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างที่มีปัจจุบันมีเงินอยู่ประมาณ 259 ล้านบาทมาจ่ายค่าชดเชยแทนนายจ้าง” ปลัด รง.กล่าว