ในสถานการณ์น้ำท่วม หนึ่งในปัญหาสุขภาพที่มากับน้ำท่วม คือ โรคตาแดง ซึ่งเกิดจากเชื้อโรคที่มากับน้ำที่ท่วมขังเป็นระยะเวลานาน เมื่อเด็กไปเล่นน้ำ หรือน้ำกระเด็นเข้าตาจึงเป็นการนำเอาเชื้อโรคเหล่านั้นเข้าตาอาจเป็นเชื้อ แบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส
พญ.ขวัญใจ วงศ์กิตติรักษ์ จักษุแพทย์เด็ก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้อธิบายลักษณะของอาการตาแดงที่แตกต่างกันไว้ดังนี้
• โรคตาแดงจากเชื้อแบคทีเรีย มักจะเป็นเชื้อที่มีความรุนแรง ถ้าเข้าตาจะทำให้เกิดการอักเสบทั้งของเปลือกตาและเยื่อบุตา เกิดอาการบวมแดง มีขี้ตาลักษณะเป็นหนองจำนวนมาก อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างพร้อมกัน
• โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส ในภาวะปกติ ในช่วงปลายฝนต้นหนาวก็มักจะเกิดการระบาดของโรคตาแดงจากเชื้อไวรัสอยู่แล้ว ซึ่งตาแดงจากเชื้อไวรัสจะสามารถติดต่อแพร่ระบาดกันได้อย่างรวดเร็ว จากการสัมผัสถูกน้ำตาของผู้ที่เป็นตาแดง มีอาการบวมแดงของเปลือกตาและเยื่อบุตา น้ำตาไหล มักไม่มีขี้ตามากเหมือนที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มักจะเป็นพร้อมกันสองตา เชื้อไวรัสบางชนิดจะทำให้เกิดเลือกออกใต้เยื่อบุตา บางชนิดอาจทำให้กระจกตาอักเสบตามมา บางคนอาจมีต่อมน้ำเหลืองบริเวณหลังหูบวมอักเสบ หรือมีอาการหวัดจากเชื้อไวรัสร่วมด้วย
พญ.ขวัญใจ ย้ำอันตรายของตาแดงไว้อีกว่า โรคตาแดงทั้งสองชนิด ถ้าดูแลรักษาไม่ดีอาจทำให้เกิดโรค แทรกซ้อนคือ เกิดแผลที่กระจก กระจกตาทะลุทำให้เกิดแผลเป็นที่กระจกตา ส่งผลให้ตามัวถาวร หรืออาจต้องสูญเสียลูกตาในรายที่เป็นมาก แต่ถ้าเด็กเกิดอาการขึ้นมา พญ.ขวัญใจได้แนะนำแนวทางการรักษาไว้ ดังนี้
แนวทางการรักษา
1. การรักษาความสะอาดของใบหน้าและมือ หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสะอาดเท่าที่จะทำได้ พยายามอย่าขยี้ตาเพราะจะเป็นการซ้ำเติมทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน
2. ใช้ยาฆ่าเชื้อชนิดหยอดตาหรือขี้ผึ้งป้ายตาบ่อยๆ อย่างน้อยวันละ 4-6 ครั้ง เพื่อเป็นการรักษาและป้องกันโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น
3. ถ้าได้รับยารักษาแล้ว 48 ชั่วโมง อาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง เช่น มีอาการแพ้แสง ตามัว ปวดตามาก (ในโรคตาแดงที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนจะไม่มีอาการเหล่านี้) ควรต้องพบแพทย์ เพื่อได้รับการตรวจและรักษา
4. ถ้าอาการดีขึ้นก็ให้ใช้ยาต่อ และอาการต่างๆ จะหายได้ภายใน 7-10 วัน
5. ควรพยายามป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายไปยังผู้อื่น โดยอย่าให้น้ำตาไปสัมผัสผู้อื่นผ่านทางมือหรือการใช้ของใช้ร่วมกัน เพราะเชื้อโรคจะไม่สามารถแพร่ไปได้เอง
พญ.ขวัญใจ วงศ์กิตติรักษ์ จักษุแพทย์เด็ก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้อธิบายลักษณะของอาการตาแดงที่แตกต่างกันไว้ดังนี้
• โรคตาแดงจากเชื้อแบคทีเรีย มักจะเป็นเชื้อที่มีความรุนแรง ถ้าเข้าตาจะทำให้เกิดการอักเสบทั้งของเปลือกตาและเยื่อบุตา เกิดอาการบวมแดง มีขี้ตาลักษณะเป็นหนองจำนวนมาก อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างพร้อมกัน
• โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส ในภาวะปกติ ในช่วงปลายฝนต้นหนาวก็มักจะเกิดการระบาดของโรคตาแดงจากเชื้อไวรัสอยู่แล้ว ซึ่งตาแดงจากเชื้อไวรัสจะสามารถติดต่อแพร่ระบาดกันได้อย่างรวดเร็ว จากการสัมผัสถูกน้ำตาของผู้ที่เป็นตาแดง มีอาการบวมแดงของเปลือกตาและเยื่อบุตา น้ำตาไหล มักไม่มีขี้ตามากเหมือนที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มักจะเป็นพร้อมกันสองตา เชื้อไวรัสบางชนิดจะทำให้เกิดเลือกออกใต้เยื่อบุตา บางชนิดอาจทำให้กระจกตาอักเสบตามมา บางคนอาจมีต่อมน้ำเหลืองบริเวณหลังหูบวมอักเสบ หรือมีอาการหวัดจากเชื้อไวรัสร่วมด้วย
พญ.ขวัญใจ ย้ำอันตรายของตาแดงไว้อีกว่า โรคตาแดงทั้งสองชนิด ถ้าดูแลรักษาไม่ดีอาจทำให้เกิดโรค แทรกซ้อนคือ เกิดแผลที่กระจก กระจกตาทะลุทำให้เกิดแผลเป็นที่กระจกตา ส่งผลให้ตามัวถาวร หรืออาจต้องสูญเสียลูกตาในรายที่เป็นมาก แต่ถ้าเด็กเกิดอาการขึ้นมา พญ.ขวัญใจได้แนะนำแนวทางการรักษาไว้ ดังนี้
แนวทางการรักษา
1. การรักษาความสะอาดของใบหน้าและมือ หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสะอาดเท่าที่จะทำได้ พยายามอย่าขยี้ตาเพราะจะเป็นการซ้ำเติมทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน
2. ใช้ยาฆ่าเชื้อชนิดหยอดตาหรือขี้ผึ้งป้ายตาบ่อยๆ อย่างน้อยวันละ 4-6 ครั้ง เพื่อเป็นการรักษาและป้องกันโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น
3. ถ้าได้รับยารักษาแล้ว 48 ชั่วโมง อาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง เช่น มีอาการแพ้แสง ตามัว ปวดตามาก (ในโรคตาแดงที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนจะไม่มีอาการเหล่านี้) ควรต้องพบแพทย์ เพื่อได้รับการตรวจและรักษา
4. ถ้าอาการดีขึ้นก็ให้ใช้ยาต่อ และอาการต่างๆ จะหายได้ภายใน 7-10 วัน
5. ควรพยายามป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายไปยังผู้อื่น โดยอย่าให้น้ำตาไปสัมผัสผู้อื่นผ่านทางมือหรือการใช้ของใช้ร่วมกัน เพราะเชื้อโรคจะไม่สามารถแพร่ไปได้เอง