ศธ.เฉลี่ยงบ 531 ล.ที่ ครม.อนุมัติให้ 3 หน่วยงานในสังกัดนำไปเร่งฟื้นฟูสถานศึกษา จัดโครงการเยียวยาช่วยเหลือ นร.และประชาชนหลังน้ำลด
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีมติอนุมัติงบกลาง มาจำนวน 531 ล้านบาท ให้กระทรวงศึกษาธิการ นำไปใช้ในการฟื้นฟูสถานศึกษาในสังกัดที่เสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมไม่มาก ซึ่งจำเป็นต้องเร่งเตรียมพร้อมในการจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนทดแทนที่เสียหาย และนำไปดำเนินการตามความจำเป็นเพื่อให้สามารถเปิดภาคเรียนได้รวมถึงช่วยเหลือประชาชนได้ โดยจากงบประมาณดังกล่าวได้จัดสรรให้แต่ละหน่วยงานเพื่อดำเนินการตามภารกิจ ดังนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) จำนวน 456 ล้านบาทเพื่อใช้ในการเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนและโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เช่น การจัดหาอุปกรณ์การเรียน ตำราเรียน และสื่อวัสดุต่าง ๆ จำนวน 1,999 โรงเรียน มีนักเรียนได้รับผลกระทบ 270,000 คน
ในส่วนของ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จำนวน 1.5 ล้านบาท เพื่อใช้ในการอบรมอาชีพระยะสั้นให้ผู้ประสบอุทกภัยใน 21 จังหวัด 2 ครั้ง หลังน้ำลด รวมถึงใช้ผลิตพืชผลทางเกษตร ผลิตไข่ไก่ เพื่อนำมาจำหน่ายราคาถูก การเพาะพันธุ์พืชที่เจริญง่ายจำหน่ายให้คนนำไปปลูกต่อ การหมักน้ำชีวภาพ และสอนวิธีการเพาะปลูก และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้รับงบจำนวน 37 ล้านบาท ซึ่งจะจัดสรรให้มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ม.ขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.มหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ตะวันออก ม.เทคโนโลยีมหานคร ม.ศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ม.ธรรมศาสตร์ ม.นเรศวร ม.บูรพา และ ม.สุรนารี นำไปจัดโครงการช่วยเหลือตรวจรักษาประชาชน และช่วยเหลือฟื้นฟูสัตว์ รวมถึงใช้ฟื้นฟูดูแลด้านสุขภาพของผู้ประสบภัยน้ำท่วม
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีมติอนุมัติงบกลาง มาจำนวน 531 ล้านบาท ให้กระทรวงศึกษาธิการ นำไปใช้ในการฟื้นฟูสถานศึกษาในสังกัดที่เสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมไม่มาก ซึ่งจำเป็นต้องเร่งเตรียมพร้อมในการจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนทดแทนที่เสียหาย และนำไปดำเนินการตามความจำเป็นเพื่อให้สามารถเปิดภาคเรียนได้รวมถึงช่วยเหลือประชาชนได้ โดยจากงบประมาณดังกล่าวได้จัดสรรให้แต่ละหน่วยงานเพื่อดำเนินการตามภารกิจ ดังนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) จำนวน 456 ล้านบาทเพื่อใช้ในการเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนและโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เช่น การจัดหาอุปกรณ์การเรียน ตำราเรียน และสื่อวัสดุต่าง ๆ จำนวน 1,999 โรงเรียน มีนักเรียนได้รับผลกระทบ 270,000 คน
ในส่วนของ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จำนวน 1.5 ล้านบาท เพื่อใช้ในการอบรมอาชีพระยะสั้นให้ผู้ประสบอุทกภัยใน 21 จังหวัด 2 ครั้ง หลังน้ำลด รวมถึงใช้ผลิตพืชผลทางเกษตร ผลิตไข่ไก่ เพื่อนำมาจำหน่ายราคาถูก การเพาะพันธุ์พืชที่เจริญง่ายจำหน่ายให้คนนำไปปลูกต่อ การหมักน้ำชีวภาพ และสอนวิธีการเพาะปลูก และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้รับงบจำนวน 37 ล้านบาท ซึ่งจะจัดสรรให้มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ม.ขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.มหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ตะวันออก ม.เทคโนโลยีมหานคร ม.ศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ม.ธรรมศาสตร์ ม.นเรศวร ม.บูรพา และ ม.สุรนารี นำไปจัดโครงการช่วยเหลือตรวจรักษาประชาชน และช่วยเหลือฟื้นฟูสัตว์ รวมถึงใช้ฟื้นฟูดูแลด้านสุขภาพของผู้ประสบภัยน้ำท่วม