xs
xsm
sm
md
lg

แพทย์ รพ.วิชัยยุทธ แจงเชื้อไวรัสฮิวแมน ไม่ใช่เชื้อใหม่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต
แพทย์ รพ.วิชัยยุทธ แจงเชื้อไวรัสฮิวแมน ไม่ใช่เชื้อใหม่ พบต้นกำเนิดจากไก่งวง ในต่างประเทศ ด้านสำนักโรคติดต่อ ย้ำ ไม่จำเป็นต้องเฝ้าระวังพิเศษ เหตุไม่พบรายงาน

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินหายใจ หัวหน้าแผนกผู้ป่วยวิกฤต (ไอซียู) รพ.วิชัยยุทธ กล่าวถึง การระบาดของเชื่้อไวรัสฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส (Human metapneumovirus : hMPV) ว่า เชื้อไวรัสดังกล่าวเป็นเชื้อโรคติดเชื้อทางเดินหายใจกลุ่มเดียวกับไข้หวัดใหญ่ ซึ่งแต่ละปีกลุ่มโรคทางเดินหายใจ ที่พบมากที่สุด คือ ไข้หวัดใหญ่ ส่วนเชื้อฮิวแมน จะพบเป็นลำดับ 3 ไม่ได้เป็นเชื้อไวรัสชนิดใหม่ ซึ่งความรู้ด้านโรคระบาดรู้จักโรคนี้มาเป็น 10 ปีแล้ว เริ่มจากพบในไก่งวง ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นโรคตามฤดูกาลที่พบต้นฤดุหนาว ซึ่งโรคดังกล่าว การตรวจหาทำได้ยาก มีค่าใช้จ่ายแพง โดยค่าตรวจต่อเคสอยู่ที่ 5,000 บาท ซึ่งใน รพ.วิชัยยุทธ ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันพบผู้ป่วย 38 คน แต่ช่วง 3 เดือน (ส.ค.-พ.ย.) ที่ผ่านมาพบสูงถึง 22 คน ในกลุ่มเด็กเล็กและผู้สูงอายุ

นพ.มนูญ กล่าวต่อว่า สำหรับอาการของการติดเชื้อฮิวแมนฯ มีอาการคล้ายกับไข้หวัดใหญ่แต่ไข้ไม่สูง ไม่มีอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว แต่มีอาการไอ เสมหะ เหนื่อยมาก หายใจไม่สะดวก เนื่องจากเชื้อไวรัสมักจะเข้าไปในทางเดินหายใจส่วนล่าง ซึ่งกลุ่มเสี่ยงคือ ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น หัวใจ ความดัน เบาหวาน หอบหืด ซึ่งเมื่อได้รับเชื้อผู้ป่วยจะอาหการเหนื่อยมากต้องจ่ายออกซิเจน เชื้อดังกล่าวไม่มียาต้านไวรัสและไม่มีวัคซีนป้องกัน ต้องรักษาตามอาการ ทำให้มีความรุนแรงโรคเช่นกัน เมื่อเทียบกับไข้หวัดใหญ่แล้ว มีอาการรุนแรงมากกว่า แต่ไข้หวัดใหญ่มีทางรักษา ผู้ป่วยมีความเสี่ยงน้อยลง สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสดังกล่าวนั้นต้องรักษาสุขอนามัยที่ดี ล้างมือบ่อยๆ และเมื่อป่วยให้ส่หน้ากากเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้คล้ายกับการติดเชื้อทงเดินหายใจทั่วๆ ไป
       “โรคทางเดินหายใจในแต่ละปีมีรสายพันธุ์ที่แพร่ระบาด สับเปลี่ยนกันไป ในปีที่ผ่านมาพบการติดเชืท้อดังกล่าวแต่ไม่เยอะเท่าปีนี้ ดูจากตัวเลขแล้วน่าห่วง เพราะประชาชนเข้ารักษาไม่ทัน กลุ่มเสี่ยงอาจเป็ฯอันตาย เนื่องจากมไม่มียาต้านไวรัส” นพ.มนูญ กล่าว

ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในปีนี้ทางกรมยังไม่ได้รับรายงานสถานการณ์ของการติดเชื้อดังกล่าวจากสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เลย เพราะที่ผ่านมาไม่มีแพทย์ให้ความสำคัญกับการตรวจหาเชท้อนี้เป็นพิเศษ เพระาต้องตรวจเชิงลึก แต่หากพบว่ามีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่แพทย์ก็จะใช้วิธีการสั่งยารักษาตามอาการอยู่แล้ว และเชื้อดังกล่าวเป็นเชื้อไวรัสทั่วไปไม่ใช่เชื้อใหม่ จึงไม่ถือว่าจำเป็นต้องเฝ้าระวังพิเศษ จากอัตราการพบในอดีตนั้นพบว่า 3-5% ของผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่มีเชื้อไวรัสชนิดดังกล่าวอยู่ ซึ่งไม่ถือว่าร้ายแรง จึงิยากย้ำว่าประชาชนไม่ควรแตกตื่น แต่อย่างไรก็ตาม หากต้องการป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้ติดเชื้อก็ทำได้ตามหลักการป้องกันไข้หวัดใหญ่ทั่วไป เพราะขึ้นชื่อว่าเป็ฯเชื้อไวรัสก็ย่อมไม่มียรักษาตรงตัวอยู่แล้ว เว้นแต่รับการรักษาตามอาการเท่านั้น

ขณะที่ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชียวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า เชื้อไวรัสดังกล่าวไม่ใช่เชื้อไวรัสตัวใหม่ แต่ถูกค้นพบโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยอีราสมุส (Erasmus University) ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้มีการตรวจพบเชื้อไวรัสตัวนี้เมื่อปี 2543 ขณะเดียวกันทางทีมนักวิทยาศาสตร์ ยังมีการศึกษาย้อนหลังไปอีกกกว่า 60 ปี ก็พบเชื้อไวรัสดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเชื้อไวรัสตัวนี้ไม่ใช่ไวรัสตัวใหม่ ขณะเดียวกันในประเทศไทยก็มีการศึกษาเกี่ยวกับไวรัสตัวนี้เช่นกัน โดยทีมแพทย์จุฬาฯ เริ่มทำการศึกษามาตั้งแต่ปี 2545 โดยพบว่าผู้ที่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าวจะมีอาการของโรคเช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่นๆ เช่นไข้หวัดใหญ่ กล่าวคือจะมีอาการไข้ ไอเจ็บคอ โดยในประเทศไทยพบผู้ที่มีเชื้อไวรัสนี้ในกลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี และในกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งแสดงว่าอาจเคยได้รับเชื้อ แต่หายเอง จึงไม่ทราบว่าเป็นเชื้อชนิดนี้ อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่า ไวรัสชนิดนี้จะพบประมาณร้อยละ 5-7 ของทุกปี ซึ่งจะพบมากใน 2 ช่วงคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ ช่วงฤดูฝนประมาณเดือนกรกฎาคม-กันยายน และช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนธันวาคม-มีนาคมของทุกปีอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบว่ามีการระบาดของโรค แต่เมื่อมีการรวมตัวกันของคนจำนวนมากการดูแลสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะย่อมเกิดอาการไข้หวัดได้

"ไม่อยากให้ประชาชน โดยเฉพาะในศูนย์พักพิงแตกตื่น เพราะเชื้อไวรัสนี้ไม่ได้น่ากลัว เนื่องจากสามารถรักษาให้หายได้ แม้จะยังไม่มีวัคซีน หรือยารักษาเชื้อไวรัสตัวนี้โดยตรงก็ตาม แต่แพทย์จะใช้วิธีการรักษาตามอาการจนผู้ป่วยหายได้ อย่างไรก็ตาม อาการของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตัวนี้จะไม่ต่างจากผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ การที่จะตรวจหาเชื้อไวรัสนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อตรวจหาเชื้อในห้องปฏิบัติการเท่านั้น โดยที่ศูนย์ฯ สามารถตรวจหาเชื้อนี้ได้ภายใน 24 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งการตรวจเหมือนการตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่ ไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้ การป้องกันการเกิดโรคทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเชื้อชนิดใดก็ตาม ทำได้ไม่ยาก ยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” โดยให้มีสุขลักษณะที่ดี อย่างศูนย์พักพิงที่มีคนจำนวนมากอยู่รวมกันก็ต้องรักษาสุขลักษณะเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งต้องร่วมมือกัน แค่นี้ก็ป้องกันโรคต่างๆ ได้ " นพ.ยง กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น