“สุขุมพันธุ์” เผย มีพื้นที่น้ำท่วมสูงกว่า 80 ซม.ถึง 470 จุด พบที่เขตสายไหมมากสุด 95 จุด ตามด้วยหนองแขม 81 จุด และบางพลัด 71 จุด และยังคงมีประชาชนพักอาศัยในจุดท่วมสูงกว่า 8 แสนคน สั่งเขตดูแลเป็นพิเศษ ขณะที่สั่งอพยพทั้งเขตแล้ว 12 เขต ระบุเตรียมจ้างเอกชนจัดเก็บขยะในพื้นที่น้ำท่วม หวัง Big Bag ช่วยบรรเทาน้ำท่วมในเมืองกรุง
วันนี้ (7 พ.ย.) ที่ศาลาว่าการ กทม.เวลา 11.45 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า สถานการณ์น้ำวันนี้ ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่น้ำทะเลหนุนสูงสุดวันนี้เวลา 15.43 น.คาดการณ์โดยกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือที่ระดับ 2.16 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) ส่วนคลองหกวาสายล่าง ระดับน้ำที่ประตูระบายน้ำคลองสอง และระดับน้ำที่ประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนา ระดับน้ำลดลง 1 ซม.คลองเปรมประชากรทางตอนเหนือลดลง 12 ซม.แต่ระดับน้ำในคลองลาดพร้าวเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่กทม.ได้ประกาศพื้นที่อพยพทั้งเขต รวม 12 เขต (พื้นที่สีแดง) ได้แก่ เขตดอนเมือง สายไหม หลักสี่ บางเขน บางพลัด ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา บางแค ภาษีเจริญ หนองแขม จตุจักร และคลองสามวา
นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่อพยพบางส่วนของเขต ในพื้นที่ 4 เขต ได้แก่ เขตหนองจอก ประกอบด้วย แขวงคลองสิบ แขวงคู้ฝั่งเหนือ แขวงโคกแฝด เขตลาดพร้าว ประกอบด้วย แขวงจรเข้บัว เขตบางกอกใหญ่ เฉพาะพื้นที่ ซ.จรัญสนิทวงศ์ 13 แขวงวัดท่าพระ และเขตมีนบุรี ได้แก่ แขวงแสนแสบ
**สั่งการเขตสำรวจพื้นที่น้ำท่วมสูง และให้การช่วยเหลือประชาชนด่วน
ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวด้วยว่า เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมสูงในหลายพื้นที่ กทม.จึงมอบหมายให้เขตสำรวจพื้นที่น้ำท่วมขังสูงกว่า 80 ซม.พบว่า มีทั้งหมด 470 จุด ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีประชาชนพักอาศัย 807,953 คน โดยเขตที่มีน้ำท่วมขัง 80 ซม. หรือมากกว่า เช่น เขตสายไหม 95 จุด เขตหนองแขม 81 จุด บางพลัด 71 จุด คลองสามวา 48 จุด บางแค 34 จุด และมีนบุรี 31 จุด ทั้งนี้ กทม.ได้สั่งการให้สำนักงานเขตและหน่วยงานกทม.ดูแลพื้นที่ดังกล่าวเป็นพิเศษ เนื่องจากยังมีประชาชนจำนวนมากไม่ได้อพยพออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ซึ่งถือว่าน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง โดยสำนักงานเขต และหน่วยงานในสังกัดกทม. จะต้องเข้าไปดูแลด้านอาหาร น้ำดื่ม ถุงยังชีพ และด้านอื่นๆ โดยเฉพาะถุงยังชีพต้องนำออกมาใช้ให้หมด และจัดเตรียมเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก
**จ้างเอกชนจัดเก็บขยะตกค้างพื้นที่น้ำท่วม
ด้านปัญหาขยะตกค้าง ซึ่งปกติปริมาณการจัดเก็บขยะมีกว่า 8,700 ตันต่อวัน แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เก็บได้ 7,000 ตันต่อวัน โดยส่วนต่างอยู่ในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังสูง และจัดเก็บได้เพียง 30% เนื่องจากต้องใช้เรือดำเนินการทำให้จัดเก็บได้น้อย และถุงขยะมีน้ำหนักมาก ทำให้จัดเก็บยาก และขยะเต็มเรือต้องเร่งขนออกมา ส่วนรถขยะที่ดัดแปลงท่อไอเสียให้สูงขึ้น กว่า 100 คัน ยังมีปัญหาด้านเครื่องยนต์ เช่น เกียร์ คลัตช์ ที่ประชุมจึงมีความเห็นว่าให้จ้างเหมาเอกชนเข้ามาเสริมการทำงานของ กทม.เพื่อให้การจัดเก็บขยะในพื้นที่น้ำท่วมมากกว่า 30% หรือเร่งรัดจัดเก็บให้ได้อย่างน้อย 60-70% ซึ่ง กทม.ได้สั่งการให้ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อมยกร่างแผนและนำเสนอที่ประชุมในวันพรุ่งนี้
**ขอบคุณ ศปภ.ส่งเครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำจากพื้นที่
ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวแสดงความขอบคุณ ศปภ.ในการเพิ่มเครื่องสูบน้ำในพื้นที่ที่ กทม.ร้องขอ เช่น คลองหกวาสายล่าง ซึ่งขณะนี้มี 25 เครื่อง ทำให้ขีดความสามารถในการระบายน้ำเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า และวันนี้จะมีการนำเครื่องสูบน้ำไปช่วยที่สถานีสูบน้ำพระโขนง เนื่องจากเครื่องสูบน้ำที่มีอยู่ใช้งานต่อเนื่องตลอด 24 ชม.เป็นระยะเวลากว่า 1 เดือนแล้ว ส่วนการระบายน้ำในพื้นที่ตะวันตก จะใช้คลองภาษีเจริญ เป็นท่อส่งน้ำเพื่อลงแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และคลองมหาชัย ต่อไป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ปัญหาน้ำท่วมโดยภาพรวมยังหนัก และหวังว่า Big Bag จะช่วยกั้นน้ำใหม่ไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ เพื่อให้สถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ บรรเทาลง
วันนี้ (7 พ.ย.) ที่ศาลาว่าการ กทม.เวลา 11.45 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า สถานการณ์น้ำวันนี้ ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่น้ำทะเลหนุนสูงสุดวันนี้เวลา 15.43 น.คาดการณ์โดยกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือที่ระดับ 2.16 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) ส่วนคลองหกวาสายล่าง ระดับน้ำที่ประตูระบายน้ำคลองสอง และระดับน้ำที่ประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนา ระดับน้ำลดลง 1 ซม.คลองเปรมประชากรทางตอนเหนือลดลง 12 ซม.แต่ระดับน้ำในคลองลาดพร้าวเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่กทม.ได้ประกาศพื้นที่อพยพทั้งเขต รวม 12 เขต (พื้นที่สีแดง) ได้แก่ เขตดอนเมือง สายไหม หลักสี่ บางเขน บางพลัด ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา บางแค ภาษีเจริญ หนองแขม จตุจักร และคลองสามวา
นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่อพยพบางส่วนของเขต ในพื้นที่ 4 เขต ได้แก่ เขตหนองจอก ประกอบด้วย แขวงคลองสิบ แขวงคู้ฝั่งเหนือ แขวงโคกแฝด เขตลาดพร้าว ประกอบด้วย แขวงจรเข้บัว เขตบางกอกใหญ่ เฉพาะพื้นที่ ซ.จรัญสนิทวงศ์ 13 แขวงวัดท่าพระ และเขตมีนบุรี ได้แก่ แขวงแสนแสบ
**สั่งการเขตสำรวจพื้นที่น้ำท่วมสูง และให้การช่วยเหลือประชาชนด่วน
ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวด้วยว่า เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมสูงในหลายพื้นที่ กทม.จึงมอบหมายให้เขตสำรวจพื้นที่น้ำท่วมขังสูงกว่า 80 ซม.พบว่า มีทั้งหมด 470 จุด ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีประชาชนพักอาศัย 807,953 คน โดยเขตที่มีน้ำท่วมขัง 80 ซม. หรือมากกว่า เช่น เขตสายไหม 95 จุด เขตหนองแขม 81 จุด บางพลัด 71 จุด คลองสามวา 48 จุด บางแค 34 จุด และมีนบุรี 31 จุด ทั้งนี้ กทม.ได้สั่งการให้สำนักงานเขตและหน่วยงานกทม.ดูแลพื้นที่ดังกล่าวเป็นพิเศษ เนื่องจากยังมีประชาชนจำนวนมากไม่ได้อพยพออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ซึ่งถือว่าน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง โดยสำนักงานเขต และหน่วยงานในสังกัดกทม. จะต้องเข้าไปดูแลด้านอาหาร น้ำดื่ม ถุงยังชีพ และด้านอื่นๆ โดยเฉพาะถุงยังชีพต้องนำออกมาใช้ให้หมด และจัดเตรียมเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก
**จ้างเอกชนจัดเก็บขยะตกค้างพื้นที่น้ำท่วม
ด้านปัญหาขยะตกค้าง ซึ่งปกติปริมาณการจัดเก็บขยะมีกว่า 8,700 ตันต่อวัน แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เก็บได้ 7,000 ตันต่อวัน โดยส่วนต่างอยู่ในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังสูง และจัดเก็บได้เพียง 30% เนื่องจากต้องใช้เรือดำเนินการทำให้จัดเก็บได้น้อย และถุงขยะมีน้ำหนักมาก ทำให้จัดเก็บยาก และขยะเต็มเรือต้องเร่งขนออกมา ส่วนรถขยะที่ดัดแปลงท่อไอเสียให้สูงขึ้น กว่า 100 คัน ยังมีปัญหาด้านเครื่องยนต์ เช่น เกียร์ คลัตช์ ที่ประชุมจึงมีความเห็นว่าให้จ้างเหมาเอกชนเข้ามาเสริมการทำงานของ กทม.เพื่อให้การจัดเก็บขยะในพื้นที่น้ำท่วมมากกว่า 30% หรือเร่งรัดจัดเก็บให้ได้อย่างน้อย 60-70% ซึ่ง กทม.ได้สั่งการให้ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อมยกร่างแผนและนำเสนอที่ประชุมในวันพรุ่งนี้
**ขอบคุณ ศปภ.ส่งเครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำจากพื้นที่
ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวแสดงความขอบคุณ ศปภ.ในการเพิ่มเครื่องสูบน้ำในพื้นที่ที่ กทม.ร้องขอ เช่น คลองหกวาสายล่าง ซึ่งขณะนี้มี 25 เครื่อง ทำให้ขีดความสามารถในการระบายน้ำเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า และวันนี้จะมีการนำเครื่องสูบน้ำไปช่วยที่สถานีสูบน้ำพระโขนง เนื่องจากเครื่องสูบน้ำที่มีอยู่ใช้งานต่อเนื่องตลอด 24 ชม.เป็นระยะเวลากว่า 1 เดือนแล้ว ส่วนการระบายน้ำในพื้นที่ตะวันตก จะใช้คลองภาษีเจริญ เป็นท่อส่งน้ำเพื่อลงแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และคลองมหาชัย ต่อไป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ปัญหาน้ำท่วมโดยภาพรวมยังหนัก และหวังว่า Big Bag จะช่วยกั้นน้ำใหม่ไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ เพื่อให้สถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ บรรเทาลง