ปลัด สธ.เผย จำนวนผู้บาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรยังพุ่งสูงในปี 2553 พบเกือบ 80,000 ราย เสียชีวิต 4,531 ราย ในจำนวนนี้ประมาณ 1 ใน 10 เป็นผู้ใช้รถตู้ ปิกอัพ และรถโดยสารประจำทาง คาดเข็มขัดนิรภัยต่ำมากเพียงร้อยละ 11 ชี้ ประโยชน์เข็มขัดนิรภัยช่วยลดการเสียชีวิตลงได้ร้อยละ 35 ย้ำ เตือนไม่ควรอุ้มเด็กเล็กนั่งเบาะหน้า เพราะเสี่ยงอันตรายจากถุงลมนิรภัย ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปีควรใช้ที่นั่งนิรภัยเสริม
นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้บาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิต ที่เกิดจากอุบัติเหตุการจราจรขนส่งเป็นจำนวนมาก สาเหตุส่วนใหญ่คือ การไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย ทั้งหมวกกันน็อกในกลุ่มผู้ที่ใช้รถจักรยานยนต์ และเข็มขัดนิรภัยในผู้ที่ใช้รถยนต์ จากการเฝ้าระวังของสำนักระบาดวิทยา โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปของกระทรวงสาธารณสุข 33 แห่ง ทั่วประเทศ พบว่า ตั้งแต่ พ.ศ.2538 จนถึง พ.ศ.2553 อุบัติเหตุจราจรเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของการบาดเจ็บทั้งหมด
ตลอดปี พ.ศ.2553 มีผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทั้งหมด 79,097 ราย เสียชีวิต 4,531 ราย ร้อยละ 90 ที่เสียชีวิต เกิดจากรถจักรยานยนต์ และ 1 ใน 10 ของผู้บาดเจ็บ เป็นผู้ใช้รถยนต์ทุกประเภทและไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัยมีจำนวน 7,661 ราย สัดส่วนการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ใช้รถปิกอัพสูงถึงร้อยละ 63 รองลงมาคือ รถยนต์ส่วนบุคคลและรถแท็กซี่ร้อยละ 26 รถตู้ร้อยละ 8 รถโดยสารประจำทางร้อยละ 2 โดยพบว่าผู้ขับคาดเข็มขัดนิรภัยเพียงร้อยละ 28 ส่วนผู้โดยสารคาดเพียงร้อยละ 11 นับว่าต่ำมาก ทั้งนี้ ยังพบด้วยว่ามีผู้โดยสารที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย หลุดออกจากห้องโดยสาร หรือกระแทกกับของแข็งในห้องโดยสาร ได้รับบาดเจ็บรุนแรงจำนวน 688 ราย เสียชีวิต 39 ราย
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ยังมีข้อมูลการศึกษาที่สำคัญของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียในปี 2549 พบว่า ผู้หญิงคาดเข็มขัดนิรภัยน้อยกว่าผู้ชาย และคาดในเวลากลางคืนน้อยกว่ากลางวัน โดยผู้ที่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย มีอัตราการบาดเจ็บรุนแรงมากกว่าผู้ที่คาดถึงร้อยละ 68 มีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่า 1.5 เท่า หรืออาจพูดได้ว่าในผู้โดยสารรถยนต์ทุกๆ 100 คน เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ถ้าคาดเข็มขัดนิรภัย จะสามารถลดการเสียชีวิตได้ 35 คน ซึ่งถือว่าคุ้มค่าต่อการคาดเข็มขัด ดังนั้นประชาชนทุกคนที่ใช้รถยนต์ทุกประเภท ควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งขณะโดยสาร ซึ่งขณะนี้กรมการขนส่งได้กำหนดให้รถยนต์ ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยแบบรัดหน้าตักและรั้งพาดไหล่ทุกที่นั่งผู้โดยสาร ข้อกำหนดนี้หากมีการบังคับให้มีในทุกที่นั่งของรถตู้ และรถโดยสารประจำทาง ตลอดจนบังคับให้คาดเข็มขัดนิรภัยด้วย จะเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้เดินทางมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม เข็มขัดนิรภัยที่ติดในรถยนต์ขณะนี้ ใช้กับเด็กที่มีอายุมากกว่า 9 ปีขึ้นไป ไม่สามารถใช้ได้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 9 ปี หรือสูงน้อยกว่า 140 ซ.ม.ได้ เนื่องจากเข็มขัดนิรภัยสายบน แทนที่จะพาดตรึงไหล่ และกลางอก ก็กลับมารัดที่ลำคอของเด็ก ส่วนสายล่างของเข็มขัดนิรภัย แทนที่จะพาดตรงหน้าตัก และแนบตึงบริเวณเชิงกราน ก็จะมารัดที่ท้องน้อยของเด็กแทน หากรถชนหรือเบรกอย่างกะทันหัน เข็มขัดจะเป็นอันตราย ต่อเด็กอย่างมากโดยเฉพาะลำคอและอวัยวะในช่องท้อง
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อไปว่า ที่น่าห่วงอีกประการหนึ่ง ในกรณีที่แม่อุ้มเด็กและนั่งที่เบาะหน้าข้างคนขับ หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น เด็กอาจได้รับอันตรายจากถุงลมนิรภัย ซึ่งถุงลมนิรภัยจะระเบิดกางออกโดยปฏิกิริยาเคมี ก่อให้เกิดก๊าซไนโตรเจน ซึ่งมีปริมาณ 30-100 ลิตร อย่างรวดเร็ว เด็กที่นั่งอยู่ตักแม่ จะอยู่ห่างจากระยะระเบิดของถุงลมนิรภัยน้อยไป ทำให้ถุงลมกระแทกตัวเด็กได้ โดยจุดนั่งที่ปลอดภัยและคาดเข็มขัดจะต้องอยู่ห่างจากถุงลมนิรภัยอย่างน้อย 25 เซนติเมตร
ทั้งนี้ หากพ่อแม่ผู้ปกครองจำเป็นที่จะต้องนำเด็กที่อายุต่ำกว่า 9 ปีไปด้วย แนะนำว่าเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี ต้องใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับทารก โดยจัดวางไว้ที่เบาะหลังและหันหน้าไปทางด้านหลังรถ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกต้นคอหักจากการสะบัดของศีรษะเมื่อเกิดการชน หรือเบรกรุนแรง ส่วนเด็กอายุ 1-3 ปี ต้องนั่งที่เบาะหลังเท่านั้น และใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กเล็กหันหน้าไปทางด้านหน้ารถตามปกติ เด็กอายุ 4-7 ปี ก็ให้นั่งเบาะหลังเช่นกัน และใช้ที่นั่งเสริม (booster seat) ซึ่งมีราคาประหยัดและต้องคาดเข็มขัดนิรภัยยึดกับเบาะรถไว้ ในกรณีเด็กอายุ 8-12 ปี สามารถนั่งที่เบาะหน้ารถได้ แต่ควรใช้ที่นั่งเสริมจนกว่าจะสามารถใช้เข็มขัดได้พอดี ในกรณีที่เป็นรถกระบะหรือปิกอัพ เด็กที่นั่งไปด้วยก็ให้ใช้ที่นั่งเสริมกับเบาะหน้า โดยห้ามเด็กนั่งในกระบะหลังอย่างเด็ดขาด เนื่องจากเด็กขาดความระมัดระวัง อาจพลัดตกจากรถได้ง่าย ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่นั่งในกระบะหลัง มีความเสี่ยงต่ออันตรายมากกว่าคนนั่งในห้องโดยสารถึง 3 เท่าตัว
นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้บาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิต ที่เกิดจากอุบัติเหตุการจราจรขนส่งเป็นจำนวนมาก สาเหตุส่วนใหญ่คือ การไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย ทั้งหมวกกันน็อกในกลุ่มผู้ที่ใช้รถจักรยานยนต์ และเข็มขัดนิรภัยในผู้ที่ใช้รถยนต์ จากการเฝ้าระวังของสำนักระบาดวิทยา โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปของกระทรวงสาธารณสุข 33 แห่ง ทั่วประเทศ พบว่า ตั้งแต่ พ.ศ.2538 จนถึง พ.ศ.2553 อุบัติเหตุจราจรเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของการบาดเจ็บทั้งหมด
ตลอดปี พ.ศ.2553 มีผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทั้งหมด 79,097 ราย เสียชีวิต 4,531 ราย ร้อยละ 90 ที่เสียชีวิต เกิดจากรถจักรยานยนต์ และ 1 ใน 10 ของผู้บาดเจ็บ เป็นผู้ใช้รถยนต์ทุกประเภทและไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัยมีจำนวน 7,661 ราย สัดส่วนการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ใช้รถปิกอัพสูงถึงร้อยละ 63 รองลงมาคือ รถยนต์ส่วนบุคคลและรถแท็กซี่ร้อยละ 26 รถตู้ร้อยละ 8 รถโดยสารประจำทางร้อยละ 2 โดยพบว่าผู้ขับคาดเข็มขัดนิรภัยเพียงร้อยละ 28 ส่วนผู้โดยสารคาดเพียงร้อยละ 11 นับว่าต่ำมาก ทั้งนี้ ยังพบด้วยว่ามีผู้โดยสารที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย หลุดออกจากห้องโดยสาร หรือกระแทกกับของแข็งในห้องโดยสาร ได้รับบาดเจ็บรุนแรงจำนวน 688 ราย เสียชีวิต 39 ราย
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ยังมีข้อมูลการศึกษาที่สำคัญของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียในปี 2549 พบว่า ผู้หญิงคาดเข็มขัดนิรภัยน้อยกว่าผู้ชาย และคาดในเวลากลางคืนน้อยกว่ากลางวัน โดยผู้ที่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย มีอัตราการบาดเจ็บรุนแรงมากกว่าผู้ที่คาดถึงร้อยละ 68 มีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่า 1.5 เท่า หรืออาจพูดได้ว่าในผู้โดยสารรถยนต์ทุกๆ 100 คน เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ถ้าคาดเข็มขัดนิรภัย จะสามารถลดการเสียชีวิตได้ 35 คน ซึ่งถือว่าคุ้มค่าต่อการคาดเข็มขัด ดังนั้นประชาชนทุกคนที่ใช้รถยนต์ทุกประเภท ควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งขณะโดยสาร ซึ่งขณะนี้กรมการขนส่งได้กำหนดให้รถยนต์ ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยแบบรัดหน้าตักและรั้งพาดไหล่ทุกที่นั่งผู้โดยสาร ข้อกำหนดนี้หากมีการบังคับให้มีในทุกที่นั่งของรถตู้ และรถโดยสารประจำทาง ตลอดจนบังคับให้คาดเข็มขัดนิรภัยด้วย จะเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้เดินทางมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม เข็มขัดนิรภัยที่ติดในรถยนต์ขณะนี้ ใช้กับเด็กที่มีอายุมากกว่า 9 ปีขึ้นไป ไม่สามารถใช้ได้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 9 ปี หรือสูงน้อยกว่า 140 ซ.ม.ได้ เนื่องจากเข็มขัดนิรภัยสายบน แทนที่จะพาดตรึงไหล่ และกลางอก ก็กลับมารัดที่ลำคอของเด็ก ส่วนสายล่างของเข็มขัดนิรภัย แทนที่จะพาดตรงหน้าตัก และแนบตึงบริเวณเชิงกราน ก็จะมารัดที่ท้องน้อยของเด็กแทน หากรถชนหรือเบรกอย่างกะทันหัน เข็มขัดจะเป็นอันตราย ต่อเด็กอย่างมากโดยเฉพาะลำคอและอวัยวะในช่องท้อง
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อไปว่า ที่น่าห่วงอีกประการหนึ่ง ในกรณีที่แม่อุ้มเด็กและนั่งที่เบาะหน้าข้างคนขับ หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น เด็กอาจได้รับอันตรายจากถุงลมนิรภัย ซึ่งถุงลมนิรภัยจะระเบิดกางออกโดยปฏิกิริยาเคมี ก่อให้เกิดก๊าซไนโตรเจน ซึ่งมีปริมาณ 30-100 ลิตร อย่างรวดเร็ว เด็กที่นั่งอยู่ตักแม่ จะอยู่ห่างจากระยะระเบิดของถุงลมนิรภัยน้อยไป ทำให้ถุงลมกระแทกตัวเด็กได้ โดยจุดนั่งที่ปลอดภัยและคาดเข็มขัดจะต้องอยู่ห่างจากถุงลมนิรภัยอย่างน้อย 25 เซนติเมตร
ทั้งนี้ หากพ่อแม่ผู้ปกครองจำเป็นที่จะต้องนำเด็กที่อายุต่ำกว่า 9 ปีไปด้วย แนะนำว่าเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี ต้องใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับทารก โดยจัดวางไว้ที่เบาะหลังและหันหน้าไปทางด้านหลังรถ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกต้นคอหักจากการสะบัดของศีรษะเมื่อเกิดการชน หรือเบรกรุนแรง ส่วนเด็กอายุ 1-3 ปี ต้องนั่งที่เบาะหลังเท่านั้น และใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กเล็กหันหน้าไปทางด้านหน้ารถตามปกติ เด็กอายุ 4-7 ปี ก็ให้นั่งเบาะหลังเช่นกัน และใช้ที่นั่งเสริม (booster seat) ซึ่งมีราคาประหยัดและต้องคาดเข็มขัดนิรภัยยึดกับเบาะรถไว้ ในกรณีเด็กอายุ 8-12 ปี สามารถนั่งที่เบาะหน้ารถได้ แต่ควรใช้ที่นั่งเสริมจนกว่าจะสามารถใช้เข็มขัดได้พอดี ในกรณีที่เป็นรถกระบะหรือปิกอัพ เด็กที่นั่งไปด้วยก็ให้ใช้ที่นั่งเสริมกับเบาะหน้า โดยห้ามเด็กนั่งในกระบะหลังอย่างเด็ดขาด เนื่องจากเด็กขาดความระมัดระวัง อาจพลัดตกจากรถได้ง่าย ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่นั่งในกระบะหลัง มีความเสี่ยงต่ออันตรายมากกว่าคนนั่งในห้องโดยสารถึง 3 เท่าตัว