“วิทยา” เผยการส่งผู้ป่วยจากกทม.ไปยังโรงพยาบาลในต่างจังหวัด เป็นกระบวนการสร้างความปลอดภัยผู้ป่วย ไม่ใช่หมายถึงการส่งสัญญาณว่าน้ำจะท่วม กทม.ทั้งหมด ประชาชนไม่ต้องตระหนก และหากมีน้ำท่วมใน กทม.จริง โรงพยาบาลจะยังคงมีความพร้อมให้บริการประชาชนต่อไปได้
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับสาเหตุการย้ายผู้ป่วยออกจากจากโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร ทั้งสังกัดภาครัฐ มหาวิทยาลัย ภาคเอกชน รวมทั้งโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติไปยังโรงพยาบาลในต่างจังหวัดว่า การย้ายผู้ป่วยเป็นกระบวนการสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งเป็นมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขในการเตรียมความพร้อมให้แก่โรงพยาบาลที่อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะถูกน้ำท่วม โดยมีเกณฑ์อย่างน้อย 1 ใน 3 ของผู้ป่วยหนัก หลังจากนั้นก็จะมีการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยผู้ป่วยตามสถานการณ์ ซึ่งการย้ายผู้ป่วยไม่ใช่เป็นการส่งสัญญานว่าน้ำจะท่วมกรุงเทพมหานครทั้งหมด และโรงพยาบาลยังคงให้บริการประชาชนเหมือนเดิม ดังนั้นประชาชนจึงไม่ต้องตระหนกหรือวิตกกังวลแต่อย่างใด
ทั้งนี้ โรงพยาบาลทุกแห่งที่อยู่ในภาวะเสี่ยงจะถูกน้ำท่วม จะต้องมีการจัดทำแผนความพร้อมในการรองรับต่อสถานการณ์ เพื่อให้มีความพร้อมที่จะให้การดูแลผู้ป่วยทุกรายอย่างปลอดภัยในชีวิตสูงสุด โดยให้สำรองยา เวชภัณฑ์ สำรองออกซิเจนเพื่อใช้ในผู้ป่วยฉุกเฉิน และใช้ได้ไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์ สำรองอาหาร การสำรองเครื่องปั่นไฟฟ้าภายในโรงพยาบาล รวมทั้งการปรับชั้นให้บริการประชาชนในจุดที่ปลอดภัย ซึ่งหากมีปัญหาน้ำท่วม โรงพยาบาลก็ยังคงสามารถให้บริการผู้ป่วยต่อไปตามปกติอย่างน้อย 2 เดือน
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับสาเหตุการย้ายผู้ป่วยออกจากจากโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร ทั้งสังกัดภาครัฐ มหาวิทยาลัย ภาคเอกชน รวมทั้งโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติไปยังโรงพยาบาลในต่างจังหวัดว่า การย้ายผู้ป่วยเป็นกระบวนการสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งเป็นมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขในการเตรียมความพร้อมให้แก่โรงพยาบาลที่อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะถูกน้ำท่วม โดยมีเกณฑ์อย่างน้อย 1 ใน 3 ของผู้ป่วยหนัก หลังจากนั้นก็จะมีการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยผู้ป่วยตามสถานการณ์ ซึ่งการย้ายผู้ป่วยไม่ใช่เป็นการส่งสัญญานว่าน้ำจะท่วมกรุงเทพมหานครทั้งหมด และโรงพยาบาลยังคงให้บริการประชาชนเหมือนเดิม ดังนั้นประชาชนจึงไม่ต้องตระหนกหรือวิตกกังวลแต่อย่างใด
ทั้งนี้ โรงพยาบาลทุกแห่งที่อยู่ในภาวะเสี่ยงจะถูกน้ำท่วม จะต้องมีการจัดทำแผนความพร้อมในการรองรับต่อสถานการณ์ เพื่อให้มีความพร้อมที่จะให้การดูแลผู้ป่วยทุกรายอย่างปลอดภัยในชีวิตสูงสุด โดยให้สำรองยา เวชภัณฑ์ สำรองออกซิเจนเพื่อใช้ในผู้ป่วยฉุกเฉิน และใช้ได้ไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์ สำรองอาหาร การสำรองเครื่องปั่นไฟฟ้าภายในโรงพยาบาล รวมทั้งการปรับชั้นให้บริการประชาชนในจุดที่ปลอดภัย ซึ่งหากมีปัญหาน้ำท่วม โรงพยาบาลก็ยังคงสามารถให้บริการผู้ป่วยต่อไปตามปกติอย่างน้อย 2 เดือน