xs
xsm
sm
md
lg

สธ.ปลุกคนถูกน้ำท่วมคิดเชิงบวก หลังยอดซึมเศร้าสูงกว่า 5 พันคน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

พบคนไทยซึมเศร้าจากพิษน้ำท่วม กว่า 5 พัน เสี่ยงฆ่าตัวตาย 765 ราย กรมสุขภาพจิต เร่งส่งเจ้าหน้าที่เข้าศูนย์พักพิง ปลุกพลังคิดเชิงบวก

วันนี้ (19 ต.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงสถานการณ์สุขภาพจิตของผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในพื้นที่ 36 จังหวัด ณ วันที่ 18 ต.ค.2554 จากการประเมินคัดกรอง จำนวน 93,234 ราย พบ เครียดสูง 3,857 ราย ซึมเศร้า 5,493 ราย เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 765 ราย ต้องติดตามดูแลพิเศษ 1,162 ราย และจากการให้บริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตทางโทรศัพท์ ณ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) นับตั้งแต่ 8 ต.ค.2554 พบประชาชนโทร.เข้ามาขอรับบริการ รวม 693 ราย ปัญหาที่ขอรับบริการ ได้แก่ เครียด และวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งเครียดเนื่องจากอพยพออกจากพื้นที่ไม่ได้ตลอดจนวิตกกังวล เนื่องจากมีโรคและปัญหาสุขภาพกาย
ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า ในการฟื้นฟูสุขภาพจิตประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม กรมสุขภาพจิตได้เสนอรัฐบาลให้ผลักดันเป็นวาระแห่งชาติ โดยแบ่งกลุ่มประชาชนเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มผู้สูญเสียญาติพี่น้อง ที่อยู่อาศัย แหล่งทำมาหากิน และต้องเข้าพักพิงในศูนย์พักพิงต่างๆ เจ้าหน้าที่จะเข้าไปกระตุ้นให้คนกลุ่มนี้เปลี่ยนจากผู้ที่เป็นเหยื่อกลายเป็นผู้กอบกู้วิกฤต โดยเปลี่ยนจากผู้ที่รอรับการช่วยเหลือให้มีส่วนร่วมในการวางแผน หรือบริหารจัดการการดำเนินการสิ่งๆ ต่างภายในศูนย์พักพิง เช่น การทำความสะอาดที่พัก การปรุงอาหารและอื่นๆ ซึ่งจะทำให้มีสุขภาพจิตที่เข้มแข็งขึ้น กล้าที่อยู่ในสังคมได้ดีขึ้น

2.กลุ่มผู้สูญเสียที่ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในระดับหนึ่ง ในพื้นที่ติดขังทั้งในเขตชนบท และเขตเมือง จะระดมบุคลากรทั้งประเทศเข้าไปให้บริการบำบัดจิตใจเชิงรุก

3.กลุ่มผู้ที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่เกิดความตื่นตระหนก จะต้องให้ข้อเท็จจริงเพื่อไม่ให้เกิดความตระหนกมากขึ้น

4.ประชาชนในพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว เช่น ภาคเหนือ จะส่งเจ้าหน้าที่จากศูนย์สุขภาพจิตในพื้นที่เข้าไปฟื้นฟูจิตใจ

และ 5.กลุ่มผู้ให้ความช่วยเหลือ จะมีการช่วยเหลือให้กลุ่มนี้รู้สึกผ่อนคลายและฟื้นฟูสุขภาพจิตด้วย

นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล ผู้ทรงคุณวุฒิกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กิจกรรมที่เจ้าหน้าที่จะเข้าไปดำเนินการภายในศูนย์พักพิงจะเน้นช่วยให้คนที่ล้ม พร้อมลุกขึ้น โดยเมื่อผู้พักพิงรู้สึกมีความปลอดภัย
กำลังโหลดความคิดเห็น