สพฉ.ประสาน รพ.พื้นที่ กทม.-ปริมณฑล เตรียมแผนรองรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากพื้นที่วิกฤต สำรองออกซิเจน-ห้องไอ.ซี.ยู.พร้อมส่งชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินเคลื่อนที่เร็วรองรับภัยพิบัติ ตั้ง รพ.สนาม ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน จ.อยุธยา เผย วันนี้เตรียมประชุมวอร์รูมศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ 8 โรงพยาบาลพื้นที่น้ำท่วม
นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์อุทกภัยในขณะนี้ระดับน้ำในแต่ละพื้นที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน ดังนั้น สพฉ.กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ และโรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงร่วมกันหาทางออกเพื่อรองรับการส่งต่อ การลำเลียงผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน
นพ.ชาตรี กล่าวต่อว่า สำหรับมาตรการรองรับผู้ป่วยฉุกเฉินนั้น หากโรงพยาบาลในพื้นที่วิกฤตร้องขอเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพฯ และใกล้เคียง ได้ประสานเตรียมพร้อมรองรับแล้ว โดยมีการสำรองห้องฉุกเฉิน (ICU) เตียง สำรองทรัพยากร อาทิ ออกซิเจน เลือด และจัดสรรโควตาโรงพยาบาลต่างๆ แล้ว เพื่อให้สามารถบริการผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ในส่วนของโรงพยาบาลเอกชนทาง สพฉ.ได้ประสานแล้วและยินดีให้การช่วยเหลือ
“ในวันนี้ สพฉ.จะประชุมผ่านระบบคอนเฟอเรนซ์ไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ 1669 ใน 8 จังหวัด คือ รพ.สวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์ รพ.พระนครศรีอยุธยา รพ.สิงห์บุรี รพ.อ่างทอง รพ.ลพบุรี รพ.อุทัยธานี รพ.ชัยนาท และ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี เพื่อประเมินความเสี่ยง เตรียมแผนอพยพ ประเมินพื้นที่ที่เข้าถึงลำบาก เพื่อเตรียมประสานความช่วยเหลือด้านการแพทย์ฉุกเฉิน
อย่างไรก็ตาม สำหรับการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเพิ่มเติมนั้น สพฉ.ได้ประสานชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินเคลื่อนที่เร็วรองรับภัยพิบัติจาก จ.ภูเก็ต ประกอบด้วย แพทย์ 3 คน พยาบาล 10 คน ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินระดับกลาง (EMT-I) 3 คน เภสัชกร 1 คน และผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินระดับต้น (EMT-B) 3 คน พร้อมด้วยเรือ 1 ลำ รถ 2 คัน ออกปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน ตั้งโรงพยาบาลสนาม ในพื้นที่วิทยาลัยอาชีพมหาราช อ.มหาราช จ.อยุธยา เพื่อช่วยเหลือทีมแพทย์ในพื้นที่เพิ่มเติม และได้ประสานเรือจากมูลนิธิสว่างเมตตาธรรมสถาน นำเรือ 3 ลำ และรถพยาบาล 2 คันเข้าช่วยเหลือในพื้นที่ด้วย นอกจากนี้ สพฉ.ได้เปิดรับสมัครบุคลากรที่มีจิตอาสา ทั้งในส่วนของบุคลากรทางสาธารณสุข และบุคคลทั่วไป เพื่อช่วยเหลือด้วยโดยสมัครได้ที่ www.emit.go.th
นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์อุทกภัยในขณะนี้ระดับน้ำในแต่ละพื้นที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน ดังนั้น สพฉ.กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ และโรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงร่วมกันหาทางออกเพื่อรองรับการส่งต่อ การลำเลียงผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน
นพ.ชาตรี กล่าวต่อว่า สำหรับมาตรการรองรับผู้ป่วยฉุกเฉินนั้น หากโรงพยาบาลในพื้นที่วิกฤตร้องขอเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพฯ และใกล้เคียง ได้ประสานเตรียมพร้อมรองรับแล้ว โดยมีการสำรองห้องฉุกเฉิน (ICU) เตียง สำรองทรัพยากร อาทิ ออกซิเจน เลือด และจัดสรรโควตาโรงพยาบาลต่างๆ แล้ว เพื่อให้สามารถบริการผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ในส่วนของโรงพยาบาลเอกชนทาง สพฉ.ได้ประสานแล้วและยินดีให้การช่วยเหลือ
“ในวันนี้ สพฉ.จะประชุมผ่านระบบคอนเฟอเรนซ์ไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ 1669 ใน 8 จังหวัด คือ รพ.สวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์ รพ.พระนครศรีอยุธยา รพ.สิงห์บุรี รพ.อ่างทอง รพ.ลพบุรี รพ.อุทัยธานี รพ.ชัยนาท และ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี เพื่อประเมินความเสี่ยง เตรียมแผนอพยพ ประเมินพื้นที่ที่เข้าถึงลำบาก เพื่อเตรียมประสานความช่วยเหลือด้านการแพทย์ฉุกเฉิน
อย่างไรก็ตาม สำหรับการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเพิ่มเติมนั้น สพฉ.ได้ประสานชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินเคลื่อนที่เร็วรองรับภัยพิบัติจาก จ.ภูเก็ต ประกอบด้วย แพทย์ 3 คน พยาบาล 10 คน ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินระดับกลาง (EMT-I) 3 คน เภสัชกร 1 คน และผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินระดับต้น (EMT-B) 3 คน พร้อมด้วยเรือ 1 ลำ รถ 2 คัน ออกปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน ตั้งโรงพยาบาลสนาม ในพื้นที่วิทยาลัยอาชีพมหาราช อ.มหาราช จ.อยุธยา เพื่อช่วยเหลือทีมแพทย์ในพื้นที่เพิ่มเติม และได้ประสานเรือจากมูลนิธิสว่างเมตตาธรรมสถาน นำเรือ 3 ลำ และรถพยาบาล 2 คันเข้าช่วยเหลือในพื้นที่ด้วย นอกจากนี้ สพฉ.ได้เปิดรับสมัครบุคลากรที่มีจิตอาสา ทั้งในส่วนของบุคลากรทางสาธารณสุข และบุคคลทั่วไป เพื่อช่วยเหลือด้วยโดยสมัครได้ที่ www.emit.go.th