กรมควบคุมโรคเตือนประชาชนระวังซากสัตว์เน่า แช่น้ำ ก่อเชื้อแบคทีเรียก่อโรคระบบทางเดินอาหาร แนะหากพบเห็นควรรีบแจ้ง เจ้าหน้าที่ ให้เก็บกู้
วันนี้ (3 ต.ค.) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์กรณีที่พบซากสัตว์ตายในช่วงเหตุการณ์น้ำท่วมว่า เหตุการณ์ดังกล่าวสามารถแยกได้ 2 กรณี คือ 1.กรณีที่สัตว์ตายเพราะจมน้ำ และ 2.สัตว์ตายเพราะป่วยเป็นโรคแต่ตายในช่วงที่เกิดสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งล้วนแล้วแต่ยากต่อการเก็บล้างซากทั้งนั้น แต่ที่น่ากังวลคือ หากสัตว์ตายแล้วแช่ในน้ำนานๆ ก็จะก่อเกิดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคได้ เช่น เชื้อซาโมเลลา (Salmonella) เชื้อ อีโคไล (E.coli) และเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส (Staphylococcus aureus) ซึ่งเชื้อดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารได้ เช่น โรคบิด โรคท้องร่วง รวมทั้งก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษด้วย โดยเชื้อเหล่านี้จะเพาะตัวในซากสัตว์ที่ตาย แล้วค่อยๆ กระจายไปตามกระแสน้ำ ซึ่งในส่วนของเชื้อซาโมเนลลาและอีโคไล จะสามารถแพร่ผ่านบาดแผลได้ ดังนั้นหากใครมีแผลทางผิวหนังนับว่าเสี่ยงกว่าบุคคลอื่น จึงควรสวมรองเท้าบูทเวลาลุยน้ำ ส่วนที่เชื้อสแตปฯ จะแพร่กระจายผ่านอาหาร แต่ทั้งนี้หากประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมไปสัมผัสกับน้ำเน่าที่มีซากสัตว์อยู่แล้วนำมาแตะหรือสัมผัสในปากก็เสี่ยงติดเชื้อสแตปฯเช่นกัน แต่กรณีนี้เกิดขึ้นน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่พบในอาหารบูด
“ในความเป็นจริงแล้วการทำลายเชื้อโรคด้วยสารจุลินทรีย์นั้น สามารถจัดการสภาพแวดล้อมให้สะอาดได้ แต่ต้องทำในพื้นที่น้ำนิ่งและพื้นที่เล็กๆ เท่านั้น ไม่สามารถทำได้ในพื้นที่กว้าง ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการเก็บกู้ซากสัตว์” นพ.สุวรรณชัยกล่าว
นพ.สุวรรณชัย กล่าวด้วยว่า สำหรับข้อแนะนำของกรมควบคุมโรคนั้น ขอเตือนว่า หากพบซากสัตว์จายในระหว่างเหตุการณ์น้ำท่วม ควรที่จะรีบเก็บออกจากพื้นที่ทันที แต่กรณีพบสัตว์ป่วยหรือไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแนะนำว่าควรแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ให้ช่วยเหลือ ที่สำคัญผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ไม่ควรนำซากสัตว์ที่ตายมาประกอบอาหาร แต่สำหรับบุคคลทั่วไปที่กังวลว่าจะหลงบริโภคอาหารที่ทำจากซากสัตว์ก็ควรเลือกซื้อในร้านที่น่าเชื่อถือ และพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่ราคาถูกเกินจริง นอกจากนี้วิธีการหลีกเลี่ยงเชื้อสแตปฯได้อีกทาง คือ หากได้รับอาหารที่บริจาคก็ควรรีบกินตามกำหนดเวลา อย่าเก็บไว้นานอาจบูดเน่าได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีเกิดน้ำท่วมนี้นอกจากเชื้อแบคทีเรียแล้ว มีโรคใดบ้างที่กรมฯเฝ้าระวังเป็นพิเศษ นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า มีโรคไข้เลือดออก ฉี่หนู อุจจาระร่วง ตาแดง และหัด ซึ่งขณะนี้พบโรคตาแดงกับอุจจาระร่วงเท่านั้นที่ระบาดในบางจุด
วันนี้ (3 ต.ค.) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์กรณีที่พบซากสัตว์ตายในช่วงเหตุการณ์น้ำท่วมว่า เหตุการณ์ดังกล่าวสามารถแยกได้ 2 กรณี คือ 1.กรณีที่สัตว์ตายเพราะจมน้ำ และ 2.สัตว์ตายเพราะป่วยเป็นโรคแต่ตายในช่วงที่เกิดสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งล้วนแล้วแต่ยากต่อการเก็บล้างซากทั้งนั้น แต่ที่น่ากังวลคือ หากสัตว์ตายแล้วแช่ในน้ำนานๆ ก็จะก่อเกิดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคได้ เช่น เชื้อซาโมเลลา (Salmonella) เชื้อ อีโคไล (E.coli) และเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส (Staphylococcus aureus) ซึ่งเชื้อดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารได้ เช่น โรคบิด โรคท้องร่วง รวมทั้งก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษด้วย โดยเชื้อเหล่านี้จะเพาะตัวในซากสัตว์ที่ตาย แล้วค่อยๆ กระจายไปตามกระแสน้ำ ซึ่งในส่วนของเชื้อซาโมเนลลาและอีโคไล จะสามารถแพร่ผ่านบาดแผลได้ ดังนั้นหากใครมีแผลทางผิวหนังนับว่าเสี่ยงกว่าบุคคลอื่น จึงควรสวมรองเท้าบูทเวลาลุยน้ำ ส่วนที่เชื้อสแตปฯ จะแพร่กระจายผ่านอาหาร แต่ทั้งนี้หากประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมไปสัมผัสกับน้ำเน่าที่มีซากสัตว์อยู่แล้วนำมาแตะหรือสัมผัสในปากก็เสี่ยงติดเชื้อสแตปฯเช่นกัน แต่กรณีนี้เกิดขึ้นน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่พบในอาหารบูด
“ในความเป็นจริงแล้วการทำลายเชื้อโรคด้วยสารจุลินทรีย์นั้น สามารถจัดการสภาพแวดล้อมให้สะอาดได้ แต่ต้องทำในพื้นที่น้ำนิ่งและพื้นที่เล็กๆ เท่านั้น ไม่สามารถทำได้ในพื้นที่กว้าง ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการเก็บกู้ซากสัตว์” นพ.สุวรรณชัยกล่าว
นพ.สุวรรณชัย กล่าวด้วยว่า สำหรับข้อแนะนำของกรมควบคุมโรคนั้น ขอเตือนว่า หากพบซากสัตว์จายในระหว่างเหตุการณ์น้ำท่วม ควรที่จะรีบเก็บออกจากพื้นที่ทันที แต่กรณีพบสัตว์ป่วยหรือไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแนะนำว่าควรแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ให้ช่วยเหลือ ที่สำคัญผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ไม่ควรนำซากสัตว์ที่ตายมาประกอบอาหาร แต่สำหรับบุคคลทั่วไปที่กังวลว่าจะหลงบริโภคอาหารที่ทำจากซากสัตว์ก็ควรเลือกซื้อในร้านที่น่าเชื่อถือ และพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่ราคาถูกเกินจริง นอกจากนี้วิธีการหลีกเลี่ยงเชื้อสแตปฯได้อีกทาง คือ หากได้รับอาหารที่บริจาคก็ควรรีบกินตามกำหนดเวลา อย่าเก็บไว้นานอาจบูดเน่าได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีเกิดน้ำท่วมนี้นอกจากเชื้อแบคทีเรียแล้ว มีโรคใดบ้างที่กรมฯเฝ้าระวังเป็นพิเศษ นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า มีโรคไข้เลือดออก ฉี่หนู อุจจาระร่วง ตาแดง และหัด ซึ่งขณะนี้พบโรคตาแดงกับอุจจาระร่วงเท่านั้นที่ระบาดในบางจุด