ญาติสาวโรงงาน จ.สมุทรสาคร โวย รพ.เอกชนระบบประกันสังคม รักษาไม่ได้มาตรฐาน ใช้ยาไม่มีคุณภาพ เมินส่งต่อผู้ป่วย เป็นหนี้ค่ารักษากว่า 4.6 แสน พร้อมต้องเสียค่าผ่าสะบ้าหัวเข่า 2 แสนบ.จี้ สปส.จ่ายชดเชย ด้าน สปส.เดินหน้าตรวจสอบ
วันนี้ (22 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมศักดิ์ แซ่ลิ้ม วัย 50 ปี ชาวจังหวัดนครปฐม ได้มาร้องเรียนที่ห้องผู้สื่อข่าวประจำกระทรวงแรงงาน ว่า นางเจริญ มากมูล วัย 30 ปี ลูกพี่ลูกน้องและทำงานที่โรงงานแห่งหนึ่งใน จ.สมุทรสาคร ได้ประสบอุบัติเหตุ ในระหว่างนั่งซ้อนท้ายจักรยานยนต์ ซึ่งมี นายไพฑูรย์ มากมูล สามี เป็นผู้ขับขี่ โดยถูกรถบรรทุกถ่านหินชน เมื่อวันที่ 21 ต.ค.2553 เวลา 20.00 น. บริเวณถนนสายบางปลา จ.สมุทรสาคร ทั้งนี้ นางเจริญ ได้รับบาดเจ็บสาหัส และได้นำตัวส่งโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.สมุทรสาคร ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ นางเจริญ มีสิทธิ์รักษาพยาบาลของประกันสังคมอยู่ในโรงพยาบาลแห่งนี้ โดยเข้ารักษาตัวอยู่ประมาณ 7 วัน แต่อาการไม่ดีขึ้น เนื่องจากโรงพยาบาลแห่งนี้ ไม่ได้นำตัว นางเจริญ เข้ารักษาที่ห้องปลอดเชื้อ และไม่ได้นำเศษถ่านหินที่ฝังตามร่างกายออก ซึ่งใช้เงินประกันสังคมหมดไปกว่า 3 แสนบาท
นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ตนได้แจ้งแก่โรงพยาบาลแห่งนี้ ขอให้ส่งต่อนางเจริญ ไปรักษาตัวโรงพยาบาลแห่งอื่น แต่โรงพยาบาลดังกล่าวไม่ยินยอม พร้อมกับยืนยันว่า ยังสามารถรักษานางเจริญได้ อย่างไรก็ตาม ในที่สุดแล้วตนได้ตัดสินใจย้าย นางเจริญ ไปรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนอีกแห่งหนึ่ง เพราะเห็นว่าการรักษาตัวที่โรงพยาบาลแห่งเดิมอาการไม่ดีขึ้น เนื่องจากรักษาไม่ได้มาตรฐาน และใช้ยาไม่มีคุณภาพ ทั้งนี้ เมื่อ นางเจริญ เข้ารักษาที่โรงพยาบาลแห่งใหม่ 7 วัน ก็มีอาการดีขึ้น เพราะโรงพยาบาลได้นำเศษหินที่ฝังอยู่ตามร่างกายออก และใช้ยาที่มีคุณภาพ หลังจากนั้น ได้ส่งตัวนางเจริญไปรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 3 เดือน ซึ่งปัจจุบันนางเจริญ มีอาการดีขึ้นเกือบเป็นปกติ แต่ยังไม่สามารถทำงานได้ เพราะสะบ้าหัวเข่าแตก จะต้องผ่าตัดเปลี่ยนใหม่
“ขอเรียกร้องให้ สปส.ชดเชยค่ารักษาพยาบาลให้แก่นางเจริญ โดยค่ารักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งที่ 2 เป็นเงินกว่า 3 แสนบาท และที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์กว่า 1.6 แสนบาท นอกจากนี้ ถ้าจะต้องผ่าตัดเปลี่ยนลูกสะบ้าหัวเข่าใหม่จะต้องเสียค่าใช้จ่าย 2 แสนบาท รวมแล้วเป็นเงินกว่า 6.6 แสนบาท และผมได้ไปยื่นฟ้องศาลจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อให้โรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกซึ่งอยู่ในระบบประกันสังคมชดเชยค่ารักษาพยาบาลโดยศาลนัดไต่สวนวันที่ 10 ต.ค.นี้ และได้ร้องเรียนที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาครด้วย” นายสมศักดิ์ กล่าว
นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ผอ.สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สปส. กล่าวว่า สปส.จะไปตรวจสอบในเรื่องนี้ ทั้งนี้ โดยหลักการหากตรวจสอบแล้วพบว่าโรงพยาบาลเอกชนในระบบประกันสังคมไม่สามารถรักษาได้แล้ว ไม่ยอมส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลแห่งอื่น หรือรักษาไม่ได้มาตรฐาน มีความบกพร่องในการรักษา ก็จะต้องชดเชยเงินค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้ประกันตน ซึ่งกรณีข้างต้นจะรวมไปถึงค่าผ่าตัดเปลี่ยนสะบ้าหัวเข่าด้วย รวมทั้งจะมีมาตรการลงโทษเช่น หักเงินประกันสังคม ลดโควตาผู้ประกันตน หรือให้ออกจากระบบประกันสังคมซึ่งขึ้นอยู่กับความผิดว่ารุนแรงแค่ไหน
วันนี้ (22 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมศักดิ์ แซ่ลิ้ม วัย 50 ปี ชาวจังหวัดนครปฐม ได้มาร้องเรียนที่ห้องผู้สื่อข่าวประจำกระทรวงแรงงาน ว่า นางเจริญ มากมูล วัย 30 ปี ลูกพี่ลูกน้องและทำงานที่โรงงานแห่งหนึ่งใน จ.สมุทรสาคร ได้ประสบอุบัติเหตุ ในระหว่างนั่งซ้อนท้ายจักรยานยนต์ ซึ่งมี นายไพฑูรย์ มากมูล สามี เป็นผู้ขับขี่ โดยถูกรถบรรทุกถ่านหินชน เมื่อวันที่ 21 ต.ค.2553 เวลา 20.00 น. บริเวณถนนสายบางปลา จ.สมุทรสาคร ทั้งนี้ นางเจริญ ได้รับบาดเจ็บสาหัส และได้นำตัวส่งโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.สมุทรสาคร ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ นางเจริญ มีสิทธิ์รักษาพยาบาลของประกันสังคมอยู่ในโรงพยาบาลแห่งนี้ โดยเข้ารักษาตัวอยู่ประมาณ 7 วัน แต่อาการไม่ดีขึ้น เนื่องจากโรงพยาบาลแห่งนี้ ไม่ได้นำตัว นางเจริญ เข้ารักษาที่ห้องปลอดเชื้อ และไม่ได้นำเศษถ่านหินที่ฝังตามร่างกายออก ซึ่งใช้เงินประกันสังคมหมดไปกว่า 3 แสนบาท
นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ตนได้แจ้งแก่โรงพยาบาลแห่งนี้ ขอให้ส่งต่อนางเจริญ ไปรักษาตัวโรงพยาบาลแห่งอื่น แต่โรงพยาบาลดังกล่าวไม่ยินยอม พร้อมกับยืนยันว่า ยังสามารถรักษานางเจริญได้ อย่างไรก็ตาม ในที่สุดแล้วตนได้ตัดสินใจย้าย นางเจริญ ไปรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนอีกแห่งหนึ่ง เพราะเห็นว่าการรักษาตัวที่โรงพยาบาลแห่งเดิมอาการไม่ดีขึ้น เนื่องจากรักษาไม่ได้มาตรฐาน และใช้ยาไม่มีคุณภาพ ทั้งนี้ เมื่อ นางเจริญ เข้ารักษาที่โรงพยาบาลแห่งใหม่ 7 วัน ก็มีอาการดีขึ้น เพราะโรงพยาบาลได้นำเศษหินที่ฝังอยู่ตามร่างกายออก และใช้ยาที่มีคุณภาพ หลังจากนั้น ได้ส่งตัวนางเจริญไปรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 3 เดือน ซึ่งปัจจุบันนางเจริญ มีอาการดีขึ้นเกือบเป็นปกติ แต่ยังไม่สามารถทำงานได้ เพราะสะบ้าหัวเข่าแตก จะต้องผ่าตัดเปลี่ยนใหม่
“ขอเรียกร้องให้ สปส.ชดเชยค่ารักษาพยาบาลให้แก่นางเจริญ โดยค่ารักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งที่ 2 เป็นเงินกว่า 3 แสนบาท และที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์กว่า 1.6 แสนบาท นอกจากนี้ ถ้าจะต้องผ่าตัดเปลี่ยนลูกสะบ้าหัวเข่าใหม่จะต้องเสียค่าใช้จ่าย 2 แสนบาท รวมแล้วเป็นเงินกว่า 6.6 แสนบาท และผมได้ไปยื่นฟ้องศาลจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อให้โรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกซึ่งอยู่ในระบบประกันสังคมชดเชยค่ารักษาพยาบาลโดยศาลนัดไต่สวนวันที่ 10 ต.ค.นี้ และได้ร้องเรียนที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาครด้วย” นายสมศักดิ์ กล่าว
นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ผอ.สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สปส. กล่าวว่า สปส.จะไปตรวจสอบในเรื่องนี้ ทั้งนี้ โดยหลักการหากตรวจสอบแล้วพบว่าโรงพยาบาลเอกชนในระบบประกันสังคมไม่สามารถรักษาได้แล้ว ไม่ยอมส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลแห่งอื่น หรือรักษาไม่ได้มาตรฐาน มีความบกพร่องในการรักษา ก็จะต้องชดเชยเงินค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้ประกันตน ซึ่งกรณีข้างต้นจะรวมไปถึงค่าผ่าตัดเปลี่ยนสะบ้าหัวเข่าด้วย รวมทั้งจะมีมาตรการลงโทษเช่น หักเงินประกันสังคม ลดโควตาผู้ประกันตน หรือให้ออกจากระบบประกันสังคมซึ่งขึ้นอยู่กับความผิดว่ารุนแรงแค่ไหน