เผย 10 อาชีพของผู้หญิงที่อารมณ์เหวี่ยงมากอันดับ 1 เป็นอาชีพ “นักบริหาร” ขณะอาชีพครีเอทีฟ 3.33% เหวี่ยงน้อยสุด จิตแพทย์ชี้ฮอร์โมนหญิงแปรปรวนง่าย คุมไม่ดี ระวังเป็นซึมเศร้า
วันนี้ (20 ก.ย.)นางไฮเก้ อูลริเก้ พริ้นซ์ ผู้จัดการทั่วไปแผนกเวชภัณฑ์ ไบเออร์ เฮลธ์แคร์ ฟาร์มากล่าวในงานแถลงข่าวเปิดตัว “Beauty we love Club” ที่โรงแรมเชอราตันแกรนด์ สุขุมวิท ว่า เนื่องจากทางบริษัทเครือไบเออร์ มุ่งเน้นเรื่องการดูแลสุขจภาพหญิงไทยทั้งความงามภายในจิตใจและความงามภายในร่างกายของสุภาพสตรีทั่วโลก ดังนั้น จึงได้ก่อเกิดกิจกรรม Beauty we love Club ขึ้นมา เพื่อเป็นทางในการพบปะ เสวนาเกี่ยวกับสุขภาพของผู้หญิง ซึ่งปัจจุบันเรื่องของอารมณ์ เป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันของสตรี เพราะปัจจับันสตรีไทยมีบทบาทมากขึ้นในการทำหน้าที่ในสังคม นอกจากจะรับผิดชอบเรื่องของภาระงานส่วนตัวแล้วยังต้องรับผิดชอบเรื่องภาระครอบครัวอีกด้วย ดังนั้นกิจกรรมดังกล่าวจึงได้เริ่มขึ้นด้วยการจัดเสวนา “10 อาชีพสุดเหวี่ยงในหญิงไทย” เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้หญิงได้รับรูถึงสาเหตุของการเหวี่ยงและวิธีการป้องกันและแก้ไขที่ดี จะได้วางตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพในสังคม
โดย น.ส.ณัฐฐาวีรนุช ทองมี ผู้ดำเนินรายการเสวนาฯ กล่าวว่า จากผลการสำรวจล่าสุดจากสวนดุสิตโพลในหัวข้อ “10 อาชีพที่ก่อให้เกิดความเครียดและอารมณ์เหวี่ยงที่ทำการสำรวจในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 587 ตัวอย่าง ระหว่าง 25 ส.ค.-7 ก.ย.2554 พบว่า 24.28% ของกลุ่มเป้าหมายคิดว่างานออฟฟิศ และบริหารก่อให้เกิดความเครียดมากที่สุด รองลงมาคือ งานบริการ 20.19% งานที่ต้องติดต่อประสานงาน 18.23% งานเอกสาร 16.30% งานที่ต้องพบปะผู้คน 11.51% และงานที่ต้องใช้แรงงาน 9.49% สำหรับ 10 อาชีพของผู้หญิงที่กลุ่มเป้าหมายคิดว่าก่อให้เกิดความเครียดและอารมณ์เหวี่ยงมากที่สุด ได้แก่ สาวออฟฟิศ 24.65% รองลงมาได้แก่ ผู้บริหาร/นักธุรกิจ 18.23% พนักงานคอลเซ็นเตอร์ 12.29% พนักงานบัญชี/การเงิน 9.28% ครู/อาจารย์ 8.62% แม่บ้าน 7.16% แพทย์/พยาบาล 6.35% ดารา/นักแสดง 5.61% แอร์โฮสเตส 4.48% และครีเอทีฟ 3.33%
ทั้งนี้ สาเหตุหลักๆ ที่กลุ่มเป้าหมายคิดว่าก่อให้เกิดความเครียด และอารมณ์แปรปรวนในการทำงาน ได้แก่ ปัญหาส่วนตัว เช่น สุขภาพ ครอบครัว การเงิน 25.54% ภาระงานมาก แต่เวลามีจำกัด 19.29% และถูกเจ้านายว่ากล่าว หรือกดดัน 17.75% และกลุ่มเป้าหมายคิดว่าอารมณ์ในทางลบและความเครียดจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายใจ 32.63% รองลงมา คือ การทำงาน 22.77% ความสัมพันธ์ต่อคนในครอบครัว 19.52% ความสัมพันธ์ต่อเพื่อนร่วมงาน 14.91% และความสัมพันธ์ต่อเพื่อนฝูงและคนรัก 10.17%
ด้าน ศ.นพ.สุรศักดิ์ ฐานีพานิชกุล คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผู้หญิงกับเรื่องอารมณ์ถือว่าเป็นของคู่กัน ด้วยตามธรรมชาติแล้วผู้หญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศในแต่ละรอบเดือน ซึ่งส่งผลต่อสภาวะทางอารมณ์ได้ โดยเฉพาะช่วงก่อนมีประจำเดือน ผู้หญิงจำนวนมากจะพบกับอารณ์หงุดหงิด แปรปรวน เครียด หดหู่ บวกกับอาการทางร่างกาย เช่น ท้องอืด น้ำหนักขึ้น อยากอาหารมากกว่าปกติ สิวขึ้น คัดตึงเต้านม มือ หรือเท้าบวม ปวดศีรษะ ไมเกรน นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ เป็นต้น
ซึ่งนับเป็นกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนหรือที่เรียกกันว่า พีเอ็มเอส ( Premenstrual Syndrome หรือ PMS และกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนชนิดรุนแรง หรือ พีเอ็มดีดี (Premenstrual dysphoric disorder หรรือ PMDD) ที่เกิดกับผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ในช่วงเวลาประมาณ 5-7 วัน ก่อนมีประจำเดือนและอาการจะดีขึ้นและหายไปหลังจากประจำเดือนมาแล้ว ซึ่งทางการแพทย์สันนิษฐานว่า อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับของฮอร์โมนเพศในระหว่างรอบประจำเดือน อาการเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้หญิงจำนวนมาก ประกอบกับปัจจุบันผู้หญิงยุคใหม่ต้องเผชิญกับความกดดันจากปัจจัยภายนอกอีกมากมาย จึงยิ่งทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด แปรปรวน และความเครียดได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งหากมีอาการรุนแรงและรักษาด้วยวิธีธรรมชาติแล้วไม่ทุเลาอาจจำเป็นต้องพบผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรักษาโดยการใช้ฮอร์โมน หรือถ้าหากมีอาการทางอารมณ์มากจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างรุนแรงแล้ว อาจจำเป็นต้องพบจิตแพทย์ร่วมด้วย
ศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ผู้ที่เป็น พีเอ็มเอส นั้นถือว่าเป็นปกติ โดยพบว่าในหญิงไทย 90 %จะพบอาการพีเอมเอสอย่างน้อยรายละ 1 อาการ ขณะที่ 50% พบมากกว่า 1 อาการ แต่จะไม่อันตรายเนื่องจากอาการจะหมดไปหลังจากรอบเดือนมาอย่างปกติ แต่สิ่งที่น่าห่วงคือ คนรอบข้าง เนื่องจากอาการเหวี่ยงของผู้หญิงมักกระทบต่อคนรอบข้างเป็นหลัก ทำให้เกิดบรรยากาศที่ไม่น่าคบหามากนัก แต่ในกรณีผู้ที่เป็น พีเอ็มดีดี นั้นค่อนข้างน่ากังวลเนื่องจากหญิงที่เป็น พีเอ็มดีดี โอกาสที่จะพัฒนาไปสู่โรคจิตและภาวะซึมเศร้าถาวรมีมาก อาการพีเอ็มดีดี ไม่สามารถหายได้เองต้องพบจิตแพทย์เพื่อรับยากล่อมประสาท โดยบางครั้งผู้ป่วยจะไม่รูตัว ต้องอาศัยการสังเกตุจากคนรอบข้าง แต่จากการศึกษานั้นผู้หญิงไทยและผู้หญิงในเอเชีย มีอัตราการเกิดอาการพีเอ็มดีดี ได้แค่ 5% เท่านั้น เนื่องจากคนเอเชียโดยเฉพาะหญิงไทยเองจะมีอารมณ์ดีกว่าคนยุโรปและอเมริกาที่เครี่งครัดเรื่องงานกว่าคนเอเชีย จึงมีอัตราการเกิดได้สูงถึง 12-15%
ขณะที่อารมณ์เหวี่ยงของเพศชายนั้น พบได้เรื่อยๆ เนื่องจากเป็นเพศที่ฮอร์โมนคงนิ่ง แต่หากมีอารมณ์หงุดหงิดขึ้นมา มักจะเลือกใช้ความรุนแรงมากกว่าจะเหวี่ยง “อาการเหวี่ยงในระดับพีเอ็มดีดี” นั้น ไม่ใช่แค่หงุดหงิด แต่ถึงขั้นวิตกกังวล จนทำงานหรือภารกิจใดๆ ลำบาก ส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าซึ่งหากสภาพแวดล้อมทางสังคมและครอบครัวกดดันมากขึ้นอาการก็จะรุนแรง ดังนั้น หากสังเกตเห็นคนรอบข้างวางตัวลำบากในเหตุการณ์ต่างๆ แนะนำให้พาไปพบจิตแพทย์ อย่างไรก็ตาม การกินอาหารที่มีประโยชน์อย่างผักผลไว้ ที่มีกากใยเยอะๆ ไม่ค่อยหวาน มัน ก็จะช่วยปรับระดับฮอร์โมนได้อย่างน้อยก็ทำให้ภาวะพีเอ็มเอสเกิดน้อยลง
วันนี้ (20 ก.ย.)นางไฮเก้ อูลริเก้ พริ้นซ์ ผู้จัดการทั่วไปแผนกเวชภัณฑ์ ไบเออร์ เฮลธ์แคร์ ฟาร์มากล่าวในงานแถลงข่าวเปิดตัว “Beauty we love Club” ที่โรงแรมเชอราตันแกรนด์ สุขุมวิท ว่า เนื่องจากทางบริษัทเครือไบเออร์ มุ่งเน้นเรื่องการดูแลสุขจภาพหญิงไทยทั้งความงามภายในจิตใจและความงามภายในร่างกายของสุภาพสตรีทั่วโลก ดังนั้น จึงได้ก่อเกิดกิจกรรม Beauty we love Club ขึ้นมา เพื่อเป็นทางในการพบปะ เสวนาเกี่ยวกับสุขภาพของผู้หญิง ซึ่งปัจจุบันเรื่องของอารมณ์ เป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันของสตรี เพราะปัจจับันสตรีไทยมีบทบาทมากขึ้นในการทำหน้าที่ในสังคม นอกจากจะรับผิดชอบเรื่องของภาระงานส่วนตัวแล้วยังต้องรับผิดชอบเรื่องภาระครอบครัวอีกด้วย ดังนั้นกิจกรรมดังกล่าวจึงได้เริ่มขึ้นด้วยการจัดเสวนา “10 อาชีพสุดเหวี่ยงในหญิงไทย” เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้หญิงได้รับรูถึงสาเหตุของการเหวี่ยงและวิธีการป้องกันและแก้ไขที่ดี จะได้วางตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพในสังคม
โดย น.ส.ณัฐฐาวีรนุช ทองมี ผู้ดำเนินรายการเสวนาฯ กล่าวว่า จากผลการสำรวจล่าสุดจากสวนดุสิตโพลในหัวข้อ “10 อาชีพที่ก่อให้เกิดความเครียดและอารมณ์เหวี่ยงที่ทำการสำรวจในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 587 ตัวอย่าง ระหว่าง 25 ส.ค.-7 ก.ย.2554 พบว่า 24.28% ของกลุ่มเป้าหมายคิดว่างานออฟฟิศ และบริหารก่อให้เกิดความเครียดมากที่สุด รองลงมาคือ งานบริการ 20.19% งานที่ต้องติดต่อประสานงาน 18.23% งานเอกสาร 16.30% งานที่ต้องพบปะผู้คน 11.51% และงานที่ต้องใช้แรงงาน 9.49% สำหรับ 10 อาชีพของผู้หญิงที่กลุ่มเป้าหมายคิดว่าก่อให้เกิดความเครียดและอารมณ์เหวี่ยงมากที่สุด ได้แก่ สาวออฟฟิศ 24.65% รองลงมาได้แก่ ผู้บริหาร/นักธุรกิจ 18.23% พนักงานคอลเซ็นเตอร์ 12.29% พนักงานบัญชี/การเงิน 9.28% ครู/อาจารย์ 8.62% แม่บ้าน 7.16% แพทย์/พยาบาล 6.35% ดารา/นักแสดง 5.61% แอร์โฮสเตส 4.48% และครีเอทีฟ 3.33%
ทั้งนี้ สาเหตุหลักๆ ที่กลุ่มเป้าหมายคิดว่าก่อให้เกิดความเครียด และอารมณ์แปรปรวนในการทำงาน ได้แก่ ปัญหาส่วนตัว เช่น สุขภาพ ครอบครัว การเงิน 25.54% ภาระงานมาก แต่เวลามีจำกัด 19.29% และถูกเจ้านายว่ากล่าว หรือกดดัน 17.75% และกลุ่มเป้าหมายคิดว่าอารมณ์ในทางลบและความเครียดจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายใจ 32.63% รองลงมา คือ การทำงาน 22.77% ความสัมพันธ์ต่อคนในครอบครัว 19.52% ความสัมพันธ์ต่อเพื่อนร่วมงาน 14.91% และความสัมพันธ์ต่อเพื่อนฝูงและคนรัก 10.17%
ด้าน ศ.นพ.สุรศักดิ์ ฐานีพานิชกุล คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผู้หญิงกับเรื่องอารมณ์ถือว่าเป็นของคู่กัน ด้วยตามธรรมชาติแล้วผู้หญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศในแต่ละรอบเดือน ซึ่งส่งผลต่อสภาวะทางอารมณ์ได้ โดยเฉพาะช่วงก่อนมีประจำเดือน ผู้หญิงจำนวนมากจะพบกับอารณ์หงุดหงิด แปรปรวน เครียด หดหู่ บวกกับอาการทางร่างกาย เช่น ท้องอืด น้ำหนักขึ้น อยากอาหารมากกว่าปกติ สิวขึ้น คัดตึงเต้านม มือ หรือเท้าบวม ปวดศีรษะ ไมเกรน นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ เป็นต้น
ซึ่งนับเป็นกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนหรือที่เรียกกันว่า พีเอ็มเอส ( Premenstrual Syndrome หรือ PMS และกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนชนิดรุนแรง หรือ พีเอ็มดีดี (Premenstrual dysphoric disorder หรรือ PMDD) ที่เกิดกับผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ในช่วงเวลาประมาณ 5-7 วัน ก่อนมีประจำเดือนและอาการจะดีขึ้นและหายไปหลังจากประจำเดือนมาแล้ว ซึ่งทางการแพทย์สันนิษฐานว่า อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับของฮอร์โมนเพศในระหว่างรอบประจำเดือน อาการเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้หญิงจำนวนมาก ประกอบกับปัจจุบันผู้หญิงยุคใหม่ต้องเผชิญกับความกดดันจากปัจจัยภายนอกอีกมากมาย จึงยิ่งทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด แปรปรวน และความเครียดได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งหากมีอาการรุนแรงและรักษาด้วยวิธีธรรมชาติแล้วไม่ทุเลาอาจจำเป็นต้องพบผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรักษาโดยการใช้ฮอร์โมน หรือถ้าหากมีอาการทางอารมณ์มากจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างรุนแรงแล้ว อาจจำเป็นต้องพบจิตแพทย์ร่วมด้วย
ศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ผู้ที่เป็น พีเอ็มเอส นั้นถือว่าเป็นปกติ โดยพบว่าในหญิงไทย 90 %จะพบอาการพีเอมเอสอย่างน้อยรายละ 1 อาการ ขณะที่ 50% พบมากกว่า 1 อาการ แต่จะไม่อันตรายเนื่องจากอาการจะหมดไปหลังจากรอบเดือนมาอย่างปกติ แต่สิ่งที่น่าห่วงคือ คนรอบข้าง เนื่องจากอาการเหวี่ยงของผู้หญิงมักกระทบต่อคนรอบข้างเป็นหลัก ทำให้เกิดบรรยากาศที่ไม่น่าคบหามากนัก แต่ในกรณีผู้ที่เป็น พีเอ็มดีดี นั้นค่อนข้างน่ากังวลเนื่องจากหญิงที่เป็น พีเอ็มดีดี โอกาสที่จะพัฒนาไปสู่โรคจิตและภาวะซึมเศร้าถาวรมีมาก อาการพีเอ็มดีดี ไม่สามารถหายได้เองต้องพบจิตแพทย์เพื่อรับยากล่อมประสาท โดยบางครั้งผู้ป่วยจะไม่รูตัว ต้องอาศัยการสังเกตุจากคนรอบข้าง แต่จากการศึกษานั้นผู้หญิงไทยและผู้หญิงในเอเชีย มีอัตราการเกิดอาการพีเอ็มดีดี ได้แค่ 5% เท่านั้น เนื่องจากคนเอเชียโดยเฉพาะหญิงไทยเองจะมีอารมณ์ดีกว่าคนยุโรปและอเมริกาที่เครี่งครัดเรื่องงานกว่าคนเอเชีย จึงมีอัตราการเกิดได้สูงถึง 12-15%
ขณะที่อารมณ์เหวี่ยงของเพศชายนั้น พบได้เรื่อยๆ เนื่องจากเป็นเพศที่ฮอร์โมนคงนิ่ง แต่หากมีอารมณ์หงุดหงิดขึ้นมา มักจะเลือกใช้ความรุนแรงมากกว่าจะเหวี่ยง “อาการเหวี่ยงในระดับพีเอ็มดีดี” นั้น ไม่ใช่แค่หงุดหงิด แต่ถึงขั้นวิตกกังวล จนทำงานหรือภารกิจใดๆ ลำบาก ส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าซึ่งหากสภาพแวดล้อมทางสังคมและครอบครัวกดดันมากขึ้นอาการก็จะรุนแรง ดังนั้น หากสังเกตเห็นคนรอบข้างวางตัวลำบากในเหตุการณ์ต่างๆ แนะนำให้พาไปพบจิตแพทย์ อย่างไรก็ตาม การกินอาหารที่มีประโยชน์อย่างผักผลไว้ ที่มีกากใยเยอะๆ ไม่ค่อยหวาน มัน ก็จะช่วยปรับระดับฮอร์โมนได้อย่างน้อยก็ทำให้ภาวะพีเอ็มเอสเกิดน้อยลง