กทม.พัฒนาศักยภาพ 30 พื้นที่การอ่านเดิมของกลุ่มผู้พิการ ผู้ป่วย ผู้กระทำความผิด คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ศาสนสถาน และพื้นที่สาธารณะ มอบชั้นวางหนังสือและรถเข็นหนังสือ ส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมเปิดตัววู๊ดดี้ ทูตส่งเสริมการอ่าน
เมื่อเร็วๆ นี้ นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เป็นประธานแถลงข่าวกิจกรรมพัฒนาพื้นที่การอ่านเดิมในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 30 พื้นที่ ภายใต้โครงการกรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก 2556 (Bangkok World Book Capital 2013) โดยมีตัวแทน หน่วยงาน 30 พื้นที่ และตัวแทนจากสำนักพิมพ์ผู้บริจาคหนังสือให้กับโครงการ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน
ทั้งนี้ กิจกรรมพัฒนาพื้นที่การอ่านเดิมในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 30 พื้นที่ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมของโครงการกรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก 2556 เพื่อเพิ่มศักยภาพพื้นที่การอ่านเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รองรับกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น มีจำนวนและประเภทหนังสือเพียงพอสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้อ่านแต่ละพื้นที่ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนหลากหลาย กลุ่มซึ่งมีความแตกต่าง สามารถเข้าถึงหนังสือได้ง่าย และหันมาให้ความสำคัญเรื่องการอ่านเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ประกอบด้วย กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ป่วย กลุ่มผู้กระทำความผิด กลุ่มคนชราและผู้ด้อยโอกาส กลุ่มศาสนสถาน และกลุ่มพื้นที่สาธารณะ นอกจากนี้ ยังเป็นการเริ่มต้นการสร้างวัฒนธรรมการอ่าน ด้วยการให้ความสนับสนุนด้านคุณภาพของพื้นที่การอ่านที่หลากหลาย นำไปสู่การเป็นมหานครแห่งการอ่านอย่างแท้จริง
นางทยา กล่าวถึงเหตุผลที่เลือกดำเนินกิจกรรมเพิ่มศักยภาพพื้นที่ให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ เพราะกรุงเทพมหานครต้องการให้คนกลุ่มดังกล่าวเข้าถึงแหล่งการอ่านที่มีศักยภาพ โดยการจัดหาอุปกรณ์การอ่าน เช่น หนังสือดีมีคุณภาพ ชั้นหนังสือ รวมทั้งขอรับบริจาคหนังสือจากที่ต่างๆ เพื่อให้ได้หนังสือที่มีความหลากหลายและเพียงพอ สำหรับกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งในวันนี้มีผู้แทนสำนักพิมพ์ร่วมบริจาคหนังสือกว่า 1 หมื่นเล่มเข้าร่วมโครงการ เพื่อนำไปติดตั้งในจุดที่ได้รับความร่วมมือ โดยหวังให้เกิดกระแสความสนใจ และมองเห็นความสนใจในการอ่านเพื่อพัฒนาชีวิตให้กับคนในสังคมต่อไป นอกจากนี้ กรุงเทพมหานคร
ภายในงานมีการมอบชั้นหนังสือ หรือรถเข็นหนังสือให้กับหน่วยงาน 30 พื้นที่ อาทิ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระบรมราชูปถัมภ์ โรงพยาบาลสงฆ์ บ้านนกขมิ้น บ้านเมตตา วัดปทุมวนาราม มัสยิดอัลฮุดา โดยพิจารณาจากสภาพการใช้งานที่เหมาะสม นอกจากชั้นหนังสือหรือรถเข็นหนังสือที่มอบให้แล้ว ยังมีหนังสือกว่า 100 เล่ม ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วว่ามีความเหมาะสมกับการอ่านเพื่อพัฒนาชีวิตของกลุ่มผู้ใช้บริการแต่ละพื้นที่ พร้อมกันนี้ ได้เปิดตัวทูตส่งเสริมการอ่าน หรือ Reading Ambassador คือ คุณวู๊ดดี้ วุฒิธร มิลินทจินดา ซึ่งได้มาร่วมกิจกรรมอ่านหนังสือเสียงเพื่อผู้พิการทางสายตา เพื่อเชิญชวนให้ผู้สนใจร่วมอ่านหนังสือเสียงเพื่อมอบให้กับหน่วยงานมูลนิธิคนตาบอด และผู้พิการทางสื่อสิ่งพิมพ์แห่งชาติต่อไป
นายวุฒิธร กล่าวว่า ที่ตนเองถึงวันนี้ได้ ไม่ใช่เพราะความสามารถอย่างเดียวเท่านั้น แต่มันมาจากการอ่านด้วย เพราะถ้าคุณไม่มีข้อมูลจากการอ่านก็จะไม่สามารถก้าวต่อไปได้ ทำง่ายๆ แค่เริ่มต้นจากการหยิบหนังสือที่ชอบ อ่านให้จบ แล้วคุณก็จะรักการอ่าน เพราะการอ่านเป็นเหมือนการเปิดโลก เปิดโอกาส เปิดประตูไปสู่โลกที่กว้างใหญ่ได้
เมื่อเร็วๆ นี้ นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เป็นประธานแถลงข่าวกิจกรรมพัฒนาพื้นที่การอ่านเดิมในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 30 พื้นที่ ภายใต้โครงการกรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก 2556 (Bangkok World Book Capital 2013) โดยมีตัวแทน หน่วยงาน 30 พื้นที่ และตัวแทนจากสำนักพิมพ์ผู้บริจาคหนังสือให้กับโครงการ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน
ทั้งนี้ กิจกรรมพัฒนาพื้นที่การอ่านเดิมในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 30 พื้นที่ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมของโครงการกรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก 2556 เพื่อเพิ่มศักยภาพพื้นที่การอ่านเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รองรับกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น มีจำนวนและประเภทหนังสือเพียงพอสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้อ่านแต่ละพื้นที่ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนหลากหลาย กลุ่มซึ่งมีความแตกต่าง สามารถเข้าถึงหนังสือได้ง่าย และหันมาให้ความสำคัญเรื่องการอ่านเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ประกอบด้วย กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ป่วย กลุ่มผู้กระทำความผิด กลุ่มคนชราและผู้ด้อยโอกาส กลุ่มศาสนสถาน และกลุ่มพื้นที่สาธารณะ นอกจากนี้ ยังเป็นการเริ่มต้นการสร้างวัฒนธรรมการอ่าน ด้วยการให้ความสนับสนุนด้านคุณภาพของพื้นที่การอ่านที่หลากหลาย นำไปสู่การเป็นมหานครแห่งการอ่านอย่างแท้จริง
นางทยา กล่าวถึงเหตุผลที่เลือกดำเนินกิจกรรมเพิ่มศักยภาพพื้นที่ให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ เพราะกรุงเทพมหานครต้องการให้คนกลุ่มดังกล่าวเข้าถึงแหล่งการอ่านที่มีศักยภาพ โดยการจัดหาอุปกรณ์การอ่าน เช่น หนังสือดีมีคุณภาพ ชั้นหนังสือ รวมทั้งขอรับบริจาคหนังสือจากที่ต่างๆ เพื่อให้ได้หนังสือที่มีความหลากหลายและเพียงพอ สำหรับกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งในวันนี้มีผู้แทนสำนักพิมพ์ร่วมบริจาคหนังสือกว่า 1 หมื่นเล่มเข้าร่วมโครงการ เพื่อนำไปติดตั้งในจุดที่ได้รับความร่วมมือ โดยหวังให้เกิดกระแสความสนใจ และมองเห็นความสนใจในการอ่านเพื่อพัฒนาชีวิตให้กับคนในสังคมต่อไป นอกจากนี้ กรุงเทพมหานคร
ภายในงานมีการมอบชั้นหนังสือ หรือรถเข็นหนังสือให้กับหน่วยงาน 30 พื้นที่ อาทิ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระบรมราชูปถัมภ์ โรงพยาบาลสงฆ์ บ้านนกขมิ้น บ้านเมตตา วัดปทุมวนาราม มัสยิดอัลฮุดา โดยพิจารณาจากสภาพการใช้งานที่เหมาะสม นอกจากชั้นหนังสือหรือรถเข็นหนังสือที่มอบให้แล้ว ยังมีหนังสือกว่า 100 เล่ม ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วว่ามีความเหมาะสมกับการอ่านเพื่อพัฒนาชีวิตของกลุ่มผู้ใช้บริการแต่ละพื้นที่ พร้อมกันนี้ ได้เปิดตัวทูตส่งเสริมการอ่าน หรือ Reading Ambassador คือ คุณวู๊ดดี้ วุฒิธร มิลินทจินดา ซึ่งได้มาร่วมกิจกรรมอ่านหนังสือเสียงเพื่อผู้พิการทางสายตา เพื่อเชิญชวนให้ผู้สนใจร่วมอ่านหนังสือเสียงเพื่อมอบให้กับหน่วยงานมูลนิธิคนตาบอด และผู้พิการทางสื่อสิ่งพิมพ์แห่งชาติต่อไป
นายวุฒิธร กล่าวว่า ที่ตนเองถึงวันนี้ได้ ไม่ใช่เพราะความสามารถอย่างเดียวเท่านั้น แต่มันมาจากการอ่านด้วย เพราะถ้าคุณไม่มีข้อมูลจากการอ่านก็จะไม่สามารถก้าวต่อไปได้ ทำง่ายๆ แค่เริ่มต้นจากการหยิบหนังสือที่ชอบ อ่านให้จบ แล้วคุณก็จะรักการอ่าน เพราะการอ่านเป็นเหมือนการเปิดโลก เปิดโอกาส เปิดประตูไปสู่โลกที่กว้างใหญ่ได้