สาธิต มศว พร้อมรับนโยบายแจกแท็บเล็ต ฟุ้งหลักสูตรครบแล้ว 5 วิชาหลัก ติงให้เด็ก ป.1 เล็กเกินไปแนะดูความพร้อมควรเริ่มที่ประถมปลายก่อน
นางสุภาภักตร์ ปรมาธิกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) เปิดเผยถึงกรณีที่ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีแนวคิดจะให้ทางโรงเรียนสาธิตทั่วประเทศเป็นพี่เลี้ยงดูแลในเรื่องการใช้งานแท็บเล็ตให้แก่นักเรียน โดยตามนโยบายกำหนดว่าแจกในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ว่า มหาวิทยาลัยได้เรียกโรงเรียนสาธิตประชุมเพื่อหารือในแนวทางนี้แล้ว พร้อมกันนี้ ได้ให้แนวคิดเรื่องการทำซอฟต์แวร์ในรายวิชาต่างๆ เพื่อจะใส่ลงไปในแท็บเล็ต ตนก็เห็นด้วย เพราะการแจกแท็บเล็ตเพียงอย่างเดียวหรือแจกแค่ตัวเครื่องไม่เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ เลย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันโรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตรได้จัดทำซอฟต์แวร์ของตัวเองเกือบทุกวิชาอยู่แล้ว แต่การจะใส่ข้อมูลลงไปในแท็บเล็ตนั้น ต้องมีการนำข้อมูลมาดูในรายละเอียดหรือมาปัดฝุ่นอีกครั้งเพื่อให้แต่ละรายวิชาสมบูรณ์และออกมาดีที่สุด
“ขณะนี้เราสามารถเริ่มต้นการทำซอฟต์แวร์ใน 5 รายวิชา คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา และภาษาไทย แต่ถ้าต้องการให้ดำเนินการทั้ง 8 รายวิชาก็สามารถทำได้ แต่ต้องใช้เวลา ทั้งนี้การทำซอฟต์แวร์ต่างๆ ควรจะมีงบประมาณในการนี้ด้วย” นางสุภาภักตร์ กล่าวและว่า ทั้งนี้ การแจกแท็บเล็ตถือเป็นการเรียนรู้และศึกษาได้ด้วยตัวเอง ทั้งนักเรียนและครูก็สามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ โดยเฉพาะครูในถิ่นทุรกันดาร หรือในท้องถิ่นที่ขาดแคลนจะมีประโยชน์อย่างยิ่ง เพียงแค่อยากจะแนะนำว่าการแจกแท็บเล็ตเด็ก ป.1 ถือว่ายังเล็กเกินใจน่าจะเริ่มต้นแจก เพื่อให้เรียนรู้และเกิดสารประโยชน์ โดยเริ่มต้นที่ ประถมศึกษาตอนปลายอาจจะเริ่มที่ ป.4 ป.5 และ ป.6 ส่วน ม.1 นั้นเป็นเรื่องที่ควรทำอยู่แล้ว เด็ก ป.1 ควรจะให้เขาได้สัมผัสและเรียนรู้เรื่องราวผ่านหนังสือไปก่อน
นางสุภาภักตร์ ปรมาธิกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) เปิดเผยถึงกรณีที่ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีแนวคิดจะให้ทางโรงเรียนสาธิตทั่วประเทศเป็นพี่เลี้ยงดูแลในเรื่องการใช้งานแท็บเล็ตให้แก่นักเรียน โดยตามนโยบายกำหนดว่าแจกในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ว่า มหาวิทยาลัยได้เรียกโรงเรียนสาธิตประชุมเพื่อหารือในแนวทางนี้แล้ว พร้อมกันนี้ ได้ให้แนวคิดเรื่องการทำซอฟต์แวร์ในรายวิชาต่างๆ เพื่อจะใส่ลงไปในแท็บเล็ต ตนก็เห็นด้วย เพราะการแจกแท็บเล็ตเพียงอย่างเดียวหรือแจกแค่ตัวเครื่องไม่เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ เลย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันโรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตรได้จัดทำซอฟต์แวร์ของตัวเองเกือบทุกวิชาอยู่แล้ว แต่การจะใส่ข้อมูลลงไปในแท็บเล็ตนั้น ต้องมีการนำข้อมูลมาดูในรายละเอียดหรือมาปัดฝุ่นอีกครั้งเพื่อให้แต่ละรายวิชาสมบูรณ์และออกมาดีที่สุด
“ขณะนี้เราสามารถเริ่มต้นการทำซอฟต์แวร์ใน 5 รายวิชา คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา และภาษาไทย แต่ถ้าต้องการให้ดำเนินการทั้ง 8 รายวิชาก็สามารถทำได้ แต่ต้องใช้เวลา ทั้งนี้การทำซอฟต์แวร์ต่างๆ ควรจะมีงบประมาณในการนี้ด้วย” นางสุภาภักตร์ กล่าวและว่า ทั้งนี้ การแจกแท็บเล็ตถือเป็นการเรียนรู้และศึกษาได้ด้วยตัวเอง ทั้งนักเรียนและครูก็สามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ โดยเฉพาะครูในถิ่นทุรกันดาร หรือในท้องถิ่นที่ขาดแคลนจะมีประโยชน์อย่างยิ่ง เพียงแค่อยากจะแนะนำว่าการแจกแท็บเล็ตเด็ก ป.1 ถือว่ายังเล็กเกินใจน่าจะเริ่มต้นแจก เพื่อให้เรียนรู้และเกิดสารประโยชน์ โดยเริ่มต้นที่ ประถมศึกษาตอนปลายอาจจะเริ่มที่ ป.4 ป.5 และ ป.6 ส่วน ม.1 นั้นเป็นเรื่องที่ควรทำอยู่แล้ว เด็ก ป.1 ควรจะให้เขาได้สัมผัสและเรียนรู้เรื่องราวผ่านหนังสือไปก่อน