สศช.สรุปภาวะประเทศระบุเด็กไทยกว่า 12 ล้านคน ได้ประโยชน์นโยบายเรียนฟรี 15 ปี แต่ควรปรับคุณภาพการศึกษา พร้อมแนะเร่งเพิ่มระดับไอคิว-อีคิว โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยช่วงอายุ 6-12 ปี มีค่าไอคิวต่ำกว่า 90 ซึ่งเป็นค่าความฉลาดปานกลาง ขณะที่ด้านอีคิวในด้านการปรับตัวต่อปัญหาแม้จะอยู่ในเกณฑ์ปกติแต่ก็พบว่าคะแนนลดลง
จากรายงานสรุปภาวะประเทศ จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งได้นำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุสถานการณ์ด้านการศึกษาในปัจจุบัน ว่า คนไทยมีศักยภาพและโอกาสด้านการศึกษาเพิ่มขึ้นจากการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานตามโครงการเรียนฟรี 15 ปี โดยมีจำนวนนักเรียนที่ได้รับประโยชน์ทั้งสิ้น 12,471,611 ล้านคน แต่จะต้องเร่งให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษา เนื่องจากการประเมินผลสัมฤทธ์ในวิชาหลักของนักเรียนไม่ถึงร้อยละ 50 ขณะที่พบสถานศึกษาที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ยังมีสัดส่วนค่อนข้างต่ำ
ขณะเดียวกัน ควรต้องยกระดับสติปัญญา (ไอคิว) และความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว) ของกลุ่มเด็กด้วย เพราะจากผลสำรวจระดับเชาวน์ปัญญาและพัฒนาการของเด็กไทยชี้ตรงกันว่า เด็กมีพัฒนาการล่าช้าและระดับเชาวน์ปัญญาค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะช่วงปฐมวัยซึ่งเป็นพื้นฐานการพัฒนาทุนมนุษย์ที่สำคัญที่สุด กลับพบว่า เด็กวัย 6-12 ปี จำนวนมากกว่าร้อยละ 25 มีค่าไอคิวต่ำกว่า 90 (ค่าความฉลาดปานกลางอยู่ที่ 90-110) ส่วนเด็กร้อยละ 40 มีไอคิวปกติระหว่าง 90-109 ส่วนการวัดอีคิว ผลปรากฎว่า เด็กในวัย 3-5 ปี และ 6-11 ปี มีความคิดการปรับตัวต่อปัญหาและความกระตือรือร้น ทั้งหมดมีคะแนนลดลงแต่ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
นอกจากนี้ รัฐบาลจะต้องขยายโอกาสการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต เนื่องจากจำนวนผู้เรียนนอกระบบโรงเรียนได้เพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 5.6 ล้านคน ในปีการศึกษา 2552 ส่วนจำนวนเด็กด้อยโอกาส เด็กพิการและเด็กพิเศษนั้น ได้รับโอกาสทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้น จาก 3 ล้านคน มาอยู่ที่ 3.2 ล้านคน อย่างไรก็ตามจะต้องมีการเพิ่มช่องทางการเรียนรู้นอกห้องเรียน และส่งเสริมการจัดการศึกษาทางไกลของสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งให้มีคุณภาพและมาตรฐาน เพราะพบว่าที่ผ่านมาปัญหาการจัดบริการเพื่อสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตยังอยู่ในลักษณะต่างคนต่างทำ และห้องสมุดหรือสื่อต่างๆ ที่เปิดให้บริการแก่ประชาชนยังไม่เปิดกว้างเพียงพอ
อย่างไรก็ตาม จากรายงานยังพบว่า ประเทศไทยยังประสบปัญหาการผลิตและพัฒนากำลังคน ที่ปัจจุบันยังขาดแคลนกำลังคนระดับกลางและสูงทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ แม้ว่าสัดส่วนแรงงานไทยที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ความต้องการเรียนต่อในสายอาชีวศึกษา ยังต่ำกว่าความต้องการกำลังคนระดับกลางของประเทศ ซึ่งมีจำนวนความต้องการถึงร้อยละ 60 ของความต้องการแรงงานทั้งหมด ขณะที่ปัญหาด้านกำลังคนระดับสูง ยังคงมีสัดส่วนการผลิตบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่ำกว่าบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ขณะที่บุคลากรด้านวิจัยเพิ่มขึ้นแต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศอื่นๆ และแม้ว่าจะมีการสร้างองค์ความรู้เพิ่มขึ้น แต่การนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ยังต่ำ และยังขาดงานวิจัยที่เหมาะสมกับบริบทไทย
จากรายงานสรุปภาวะประเทศ จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งได้นำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุสถานการณ์ด้านการศึกษาในปัจจุบัน ว่า คนไทยมีศักยภาพและโอกาสด้านการศึกษาเพิ่มขึ้นจากการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานตามโครงการเรียนฟรี 15 ปี โดยมีจำนวนนักเรียนที่ได้รับประโยชน์ทั้งสิ้น 12,471,611 ล้านคน แต่จะต้องเร่งให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษา เนื่องจากการประเมินผลสัมฤทธ์ในวิชาหลักของนักเรียนไม่ถึงร้อยละ 50 ขณะที่พบสถานศึกษาที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ยังมีสัดส่วนค่อนข้างต่ำ
ขณะเดียวกัน ควรต้องยกระดับสติปัญญา (ไอคิว) และความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว) ของกลุ่มเด็กด้วย เพราะจากผลสำรวจระดับเชาวน์ปัญญาและพัฒนาการของเด็กไทยชี้ตรงกันว่า เด็กมีพัฒนาการล่าช้าและระดับเชาวน์ปัญญาค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะช่วงปฐมวัยซึ่งเป็นพื้นฐานการพัฒนาทุนมนุษย์ที่สำคัญที่สุด กลับพบว่า เด็กวัย 6-12 ปี จำนวนมากกว่าร้อยละ 25 มีค่าไอคิวต่ำกว่า 90 (ค่าความฉลาดปานกลางอยู่ที่ 90-110) ส่วนเด็กร้อยละ 40 มีไอคิวปกติระหว่าง 90-109 ส่วนการวัดอีคิว ผลปรากฎว่า เด็กในวัย 3-5 ปี และ 6-11 ปี มีความคิดการปรับตัวต่อปัญหาและความกระตือรือร้น ทั้งหมดมีคะแนนลดลงแต่ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
นอกจากนี้ รัฐบาลจะต้องขยายโอกาสการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต เนื่องจากจำนวนผู้เรียนนอกระบบโรงเรียนได้เพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 5.6 ล้านคน ในปีการศึกษา 2552 ส่วนจำนวนเด็กด้อยโอกาส เด็กพิการและเด็กพิเศษนั้น ได้รับโอกาสทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้น จาก 3 ล้านคน มาอยู่ที่ 3.2 ล้านคน อย่างไรก็ตามจะต้องมีการเพิ่มช่องทางการเรียนรู้นอกห้องเรียน และส่งเสริมการจัดการศึกษาทางไกลของสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งให้มีคุณภาพและมาตรฐาน เพราะพบว่าที่ผ่านมาปัญหาการจัดบริการเพื่อสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตยังอยู่ในลักษณะต่างคนต่างทำ และห้องสมุดหรือสื่อต่างๆ ที่เปิดให้บริการแก่ประชาชนยังไม่เปิดกว้างเพียงพอ
อย่างไรก็ตาม จากรายงานยังพบว่า ประเทศไทยยังประสบปัญหาการผลิตและพัฒนากำลังคน ที่ปัจจุบันยังขาดแคลนกำลังคนระดับกลางและสูงทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ แม้ว่าสัดส่วนแรงงานไทยที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ความต้องการเรียนต่อในสายอาชีวศึกษา ยังต่ำกว่าความต้องการกำลังคนระดับกลางของประเทศ ซึ่งมีจำนวนความต้องการถึงร้อยละ 60 ของความต้องการแรงงานทั้งหมด ขณะที่ปัญหาด้านกำลังคนระดับสูง ยังคงมีสัดส่วนการผลิตบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่ำกว่าบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ขณะที่บุคลากรด้านวิจัยเพิ่มขึ้นแต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศอื่นๆ และแม้ว่าจะมีการสร้างองค์ความรู้เพิ่มขึ้น แต่การนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ยังต่ำ และยังขาดงานวิจัยที่เหมาะสมกับบริบทไทย