“ต่อพงษ์” ชู “อุดรโมเดล” เป็นต้นแบบแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้านการแพทย์และสาธารณสุข ดึงเครือข่ายสังคมออนไลน์มาช่วยแจ้งเตือนข่าวสาร เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่กับส่วนกลาง และจัดบริการอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์น้ำท่วม ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 คน เอกเซรย์ทุกข์สุขชาวบ้าน 300 หลังคาเรือน
วันนี้ (29 ส.ค.) ที่ จ.อุดรธานี นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมช.สธ.) ประชุมผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์นิทัศน์ รายยวา ผู้ตรวจราชการ เขต 10 นายแพทย์สัญชัย ปิยะพงษ์กุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
นายต่อพงษ์กล่าวว่า ต้องการให้จังหวัดอุดรธานีเป็นต้นแบบการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้านการแพทย์และสาธารณสุข บริการผู้ประสบภัย หรือเรียกว่า อุดรโมเดล เพิ่มการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว โดยการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือระบบไอที เข้ามาช่วยในการประสานและบูรณาการระหว่างหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่กับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และส่วนกลาง ในการแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารน้ำท่วมถึงประชาชนในพื้นที่
นายต่อพงษ์ กล่าวต่อว่า ในการเตรียมรับมือน้ำท่วมได้แบ่งความรุนแรงของปริมาณน้ำฝนและระยะเวลาของระดับน้ำท่วม เช่น หากน้ำท่วมในพื้นที่มีระยะเวลาน้ำท่วม 3 วัน จะต้องมีการส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่และยารักษาโรคลงพื้นที่ หากมีระยะเวลาน้ำท่วมเกิน 5 วัน จะต้องส่งหน่วยสุขภาพจิตดูแลด้านจิตใจของประชาชนผู้ประสบภัย นอกจากนี้ จะมีหน่วยค้นหาปัญหาสุขภาพ หรือเฮลท์ ยูนิต แสกน (Health Unit Scan) โดยให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 คน ออกให้ความรู้เรื่องระบบการดูแลสุขภาพประชาชน คนละ 300 ครอบครัว ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีความรู้ในการปฏิบัติตัวในช่วงน้ำท่วมได้อย่างถูกต้อง จะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยที่จะมาใช้บริการโรงพยาบาลได้
วันนี้ (29 ส.ค.) ที่ จ.อุดรธานี นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมช.สธ.) ประชุมผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์นิทัศน์ รายยวา ผู้ตรวจราชการ เขต 10 นายแพทย์สัญชัย ปิยะพงษ์กุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
นายต่อพงษ์กล่าวว่า ต้องการให้จังหวัดอุดรธานีเป็นต้นแบบการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้านการแพทย์และสาธารณสุข บริการผู้ประสบภัย หรือเรียกว่า อุดรโมเดล เพิ่มการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว โดยการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือระบบไอที เข้ามาช่วยในการประสานและบูรณาการระหว่างหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่กับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และส่วนกลาง ในการแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารน้ำท่วมถึงประชาชนในพื้นที่
นายต่อพงษ์ กล่าวต่อว่า ในการเตรียมรับมือน้ำท่วมได้แบ่งความรุนแรงของปริมาณน้ำฝนและระยะเวลาของระดับน้ำท่วม เช่น หากน้ำท่วมในพื้นที่มีระยะเวลาน้ำท่วม 3 วัน จะต้องมีการส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่และยารักษาโรคลงพื้นที่ หากมีระยะเวลาน้ำท่วมเกิน 5 วัน จะต้องส่งหน่วยสุขภาพจิตดูแลด้านจิตใจของประชาชนผู้ประสบภัย นอกจากนี้ จะมีหน่วยค้นหาปัญหาสุขภาพ หรือเฮลท์ ยูนิต แสกน (Health Unit Scan) โดยให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 คน ออกให้ความรู้เรื่องระบบการดูแลสุขภาพประชาชน คนละ 300 ครอบครัว ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีความรู้ในการปฏิบัติตัวในช่วงน้ำท่วมได้อย่างถูกต้อง จะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยที่จะมาใช้บริการโรงพยาบาลได้