สธ.เร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ประจำปี 2554 จำนวน 2.5 ล้านโดส ให้กลุ่มเสี่ยงครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในสิ้นเดือนนี้ ขณะนี้ฉีดไปแล้วร้อยละ 70 ของเป้าหมาย วัคซีนนี้จะกระตุ้นร่างกายสร้างภูมิต้านทานโรคไขหวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ภายใน 2 สัปดาห์หลังฉีด และอยู่ได้ประมาณ 1 ปี
วันนี้ (23 ส.ค.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำคณะพยาบาลของสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรงสาธารณสุข จำนวน 6 คน พร้อมวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ จำนวน 2,000 โดส ฉีดให้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสมาชิก และเจ้าหน้าที่ประจำรัฐสภา ระหว่างแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา วันที่ 23-24 สิงหาคม 2554
นายวิทยา กล่าวว่า ขณะนี้เป็นช่วงฤดูฝน เป็นฤดูกาลระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นโรคที่พบได้ทุกปี ได้รับรายงานจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคว่า ในปี 2554 นี้ ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2554 พบผู้ป่วยแล้ว 21,398 ราย เสียชีวิต 4 ราย ซึ่งน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ที่พบผู้ป่วยจำนวน 115,183 ราย เสียชีวิต 126 ราย
ในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และลดผู้เสียชีวิต ในปีนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดเตรียมวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดรวม ป้องกันได้ 3 สายพันธุ์ คือ ชนิด 2009 ชนิดบี และชนิดเอ (เอช3 เอ็น2) ซึ่งเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล รวมทั้งหมด 2.5 ล้านโดส เพื่อฉีดให้กลุ่มเสี่ยง 2 กลุ่ม คือบุคลากรทางการแพทย์ ที่ต้องให้การดูแลรักษาผู้เจ็บป่วย และประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง คือผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 โรค ได้แก่ โรคปอด โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด และโรคเบาหวาน จนถึงวันนี้ฉีดไปแล้ว 1.7 ล้านโดส หรือร้อยละ 70 ของเป้าหมาย จะฉีดให้กลุ่มเสี่ยงครบทั้งหมดภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้
ด้านนายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า หลังฉีดวัคซีนแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันโรค และมีผลในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ โดยภูมิต้านทานจะอยู่ในร่างกายได้ 6-12 เดือน หลังฉีดอาจจะมีอาการบวมแดงปวด หรือมีปุ่มนูนที่บริเวณรอยฉีด และอาจมีไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกายได้ แต่อาการจะหายไปเองใน 1-2 วัน
โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัส เชื้อจะแพร่กระจายอยู่ในลมหายใจ เสมหะ น้ำลาย น้ำมูก และติดอยู่ตามสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย อาการมักเริ่มจากมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวมาก มีน้ำมูก คัดจมูก ไอจาม เจ็บคอ เบื่ออาหาร และอ่อนเพลีย หากประชาชนมีอาการดังกล่าว ขอให้หยุดพักผ่อนอยู่บ้านประมาณ 5 วัน อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น แต่หากอาการไม่ดีขึ้น ไข้ยังไม่ลดภายใน 2 วัน ขอให้คิดว่าอาจป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ 2009 และควรไปพบแพทย์เพื่อการดูแลรักษาที่ถูกวิธี
นอกจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่แล้ว ยังมีวิธีป้องกันโรคโดยไม่ต้องฉีดวัคซีน โดยขอให้ประชาชนออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30 นาที รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและเพิ่มภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกาย นายแพทย์ ไพจิตร์ กล่าว
วันนี้ (23 ส.ค.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำคณะพยาบาลของสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรงสาธารณสุข จำนวน 6 คน พร้อมวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ จำนวน 2,000 โดส ฉีดให้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสมาชิก และเจ้าหน้าที่ประจำรัฐสภา ระหว่างแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา วันที่ 23-24 สิงหาคม 2554
นายวิทยา กล่าวว่า ขณะนี้เป็นช่วงฤดูฝน เป็นฤดูกาลระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นโรคที่พบได้ทุกปี ได้รับรายงานจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคว่า ในปี 2554 นี้ ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2554 พบผู้ป่วยแล้ว 21,398 ราย เสียชีวิต 4 ราย ซึ่งน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ที่พบผู้ป่วยจำนวน 115,183 ราย เสียชีวิต 126 ราย
ในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และลดผู้เสียชีวิต ในปีนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดเตรียมวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดรวม ป้องกันได้ 3 สายพันธุ์ คือ ชนิด 2009 ชนิดบี และชนิดเอ (เอช3 เอ็น2) ซึ่งเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล รวมทั้งหมด 2.5 ล้านโดส เพื่อฉีดให้กลุ่มเสี่ยง 2 กลุ่ม คือบุคลากรทางการแพทย์ ที่ต้องให้การดูแลรักษาผู้เจ็บป่วย และประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง คือผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 โรค ได้แก่ โรคปอด โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด และโรคเบาหวาน จนถึงวันนี้ฉีดไปแล้ว 1.7 ล้านโดส หรือร้อยละ 70 ของเป้าหมาย จะฉีดให้กลุ่มเสี่ยงครบทั้งหมดภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้
ด้านนายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า หลังฉีดวัคซีนแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันโรค และมีผลในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ โดยภูมิต้านทานจะอยู่ในร่างกายได้ 6-12 เดือน หลังฉีดอาจจะมีอาการบวมแดงปวด หรือมีปุ่มนูนที่บริเวณรอยฉีด และอาจมีไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกายได้ แต่อาการจะหายไปเองใน 1-2 วัน
โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัส เชื้อจะแพร่กระจายอยู่ในลมหายใจ เสมหะ น้ำลาย น้ำมูก และติดอยู่ตามสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย อาการมักเริ่มจากมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวมาก มีน้ำมูก คัดจมูก ไอจาม เจ็บคอ เบื่ออาหาร และอ่อนเพลีย หากประชาชนมีอาการดังกล่าว ขอให้หยุดพักผ่อนอยู่บ้านประมาณ 5 วัน อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น แต่หากอาการไม่ดีขึ้น ไข้ยังไม่ลดภายใน 2 วัน ขอให้คิดว่าอาจป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ 2009 และควรไปพบแพทย์เพื่อการดูแลรักษาที่ถูกวิธี
นอกจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่แล้ว ยังมีวิธีป้องกันโรคโดยไม่ต้องฉีดวัคซีน โดยขอให้ประชาชนออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30 นาที รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและเพิ่มภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกาย นายแพทย์ ไพจิตร์ กล่าว