“หมอสมาน” ชี้ “วินิจ” เบี่ยงประเด็น ยันต้องดำเนินคดีต่อ แจงตัดสินความผิดชัด 10 ส.ค.นี้
นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า กรณีที่ นายวินิจ ออกมาให้ข้อมูลเพื่อเบี่ยงเบนประเด็นนั้น ไม่เป็นผลเพราะการที่ กระทรวงสารณสุข (สธ.) จะต้องดำเนินคดีนั้น ก็เพราะมีหลักฐานการสื่อสารการตลาด เพื่อประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งในส่วนของ นายวินิจ นั้น ขณะนี้อาจถือได้ว่า เป็นตัวการร่วม เนื่องจากเป็นผู้ขอนุญาตใช้สถานที่ ดังนั้น จะอ้างว่าไม่รู้ไม่เห็นเป็นไปไม่ได้ ทั้งนี้ หากทาง สธ.จะเอาผิดตัวการใหญ่ คือ บริษัท ไทยเบฟ โทษของการโฆษณา ลดแลก แจก แถม ในสถานที่ราชการ และสาธารณะนั้น ก็เท่ากับว่า ต้องระวางโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับ 500,000 บาท ต่อครั้ง ดังนั้น หากมีการกระทำผิดซ้ำหลายครั้ง ซึ่งในส่วนกรณีนี้มีกว่า 40 ครั้ง จำนวนโทษก็ต้องมากขึ้นตามจำนวนครั้งที่กระทำผิดแต่ทั้งนี้ก็จะดูความเหมาะสมของโทษอีกครั้ง เพราะในทความเป็นจริงคงไม่สามารถจำคุกนาน 100 ปี ได้ ดังนั้น หากต้องการจะโต้แย้งก็ต้องมาคุยกันตามวันที่กำหนด คือ 10 ส.ค.เวลา 13.00 น.
นพ.สมาน กล่าวต่อไปว่า จากการตรวจสอบไปยังหน่วยงานต้นสังกัด และตัวบุคคลที่ทางสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่งหนังสือเชิญไป พบว่า ได้รับหนังสือเชิญในการมาให้ข้อมูลประกอบสำนวนแล้วทุกคน โดยตนได้นัดมาให้ข้อมูลในวันที่ 10 ส.ค. และจะมีผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักงานอัยการสูงสุด มาร่วมรับฟังด้วย ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวอาศัยอำนาจตามมาตรา 34(3) ของ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ระบุว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.นี้มีอำนาจในการมีหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสาร หรือวัตถุใดมาเพื่อประกอบการพิจารณา และหากผู้ที่ได้รับเชิญไปไม่มาให้ข้อมูล หรือไม่มีการส่งตัวแทนมา จะถือว่าไม่ให้ความร่วมมือพนักงานเจ้าหน้าที่ มีความผิดตามมาตรา 44 วรรคสอง ที่ระบุว่า ผู้ใดไม่ยอมมาให้ถ้อยคำ หรือไม่ยอมให้ถ้อยคำ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือไม่ยอมส่งเอกสารหรือวัตถุอื่นใดมาเพื่อประกอบการพิจารณาต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
“การเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลเพื่อจะพิจารณาว่ามีผู้ใดเกี่ยวข้องอีกบ้าง เพื่อสรุปแล้วเขียนสำนวนแจ้งความทีเดียว อย่างไรก็ตามการมาให้ข้อมูลจะเกิดผลดีกับบุคคลนั้น เนื่องจากเมื่อแจ้งความไปแล้วหากทางพนักงานสอบสวนเห็นว่าข้อมูลที่ให้มาเป็นข้อมูลที่สำคัญ และเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ ก็สามารถกันไว้เป็นพยาน และอาจจะได้รับการลดหย่อนโทษด้วย ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของพนักงานสอบสวน” นพ.สมาน กล่าว
นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า กรณีที่ นายวินิจ ออกมาให้ข้อมูลเพื่อเบี่ยงเบนประเด็นนั้น ไม่เป็นผลเพราะการที่ กระทรวงสารณสุข (สธ.) จะต้องดำเนินคดีนั้น ก็เพราะมีหลักฐานการสื่อสารการตลาด เพื่อประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งในส่วนของ นายวินิจ นั้น ขณะนี้อาจถือได้ว่า เป็นตัวการร่วม เนื่องจากเป็นผู้ขอนุญาตใช้สถานที่ ดังนั้น จะอ้างว่าไม่รู้ไม่เห็นเป็นไปไม่ได้ ทั้งนี้ หากทาง สธ.จะเอาผิดตัวการใหญ่ คือ บริษัท ไทยเบฟ โทษของการโฆษณา ลดแลก แจก แถม ในสถานที่ราชการ และสาธารณะนั้น ก็เท่ากับว่า ต้องระวางโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับ 500,000 บาท ต่อครั้ง ดังนั้น หากมีการกระทำผิดซ้ำหลายครั้ง ซึ่งในส่วนกรณีนี้มีกว่า 40 ครั้ง จำนวนโทษก็ต้องมากขึ้นตามจำนวนครั้งที่กระทำผิดแต่ทั้งนี้ก็จะดูความเหมาะสมของโทษอีกครั้ง เพราะในทความเป็นจริงคงไม่สามารถจำคุกนาน 100 ปี ได้ ดังนั้น หากต้องการจะโต้แย้งก็ต้องมาคุยกันตามวันที่กำหนด คือ 10 ส.ค.เวลา 13.00 น.
นพ.สมาน กล่าวต่อไปว่า จากการตรวจสอบไปยังหน่วยงานต้นสังกัด และตัวบุคคลที่ทางสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่งหนังสือเชิญไป พบว่า ได้รับหนังสือเชิญในการมาให้ข้อมูลประกอบสำนวนแล้วทุกคน โดยตนได้นัดมาให้ข้อมูลในวันที่ 10 ส.ค. และจะมีผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักงานอัยการสูงสุด มาร่วมรับฟังด้วย ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวอาศัยอำนาจตามมาตรา 34(3) ของ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ระบุว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.นี้มีอำนาจในการมีหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสาร หรือวัตถุใดมาเพื่อประกอบการพิจารณา และหากผู้ที่ได้รับเชิญไปไม่มาให้ข้อมูล หรือไม่มีการส่งตัวแทนมา จะถือว่าไม่ให้ความร่วมมือพนักงานเจ้าหน้าที่ มีความผิดตามมาตรา 44 วรรคสอง ที่ระบุว่า ผู้ใดไม่ยอมมาให้ถ้อยคำ หรือไม่ยอมให้ถ้อยคำ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือไม่ยอมส่งเอกสารหรือวัตถุอื่นใดมาเพื่อประกอบการพิจารณาต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
“การเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลเพื่อจะพิจารณาว่ามีผู้ใดเกี่ยวข้องอีกบ้าง เพื่อสรุปแล้วเขียนสำนวนแจ้งความทีเดียว อย่างไรก็ตามการมาให้ข้อมูลจะเกิดผลดีกับบุคคลนั้น เนื่องจากเมื่อแจ้งความไปแล้วหากทางพนักงานสอบสวนเห็นว่าข้อมูลที่ให้มาเป็นข้อมูลที่สำคัญ และเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ ก็สามารถกันไว้เป็นพยาน และอาจจะได้รับการลดหย่อนโทษด้วย ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของพนักงานสอบสวน” นพ.สมาน กล่าว