วธ.พัฒนาศูนย์ข้อมูลกลางหวังเป็น “วัฒนธรรมศึกษาออนไลน์” เริ่มนำร่อง 20 จังหวัด ที่เหลือปรับปรุงข้อมูลให้สมบูรณ์คาดเปิดตัวเว็บเดือนกันยายนนี้
นายปรารพ เหล่าวานิช รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เผยความคืบหน้า วธ.ดำเนินการพัฒนาระบบข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม เพื่อนำมาลงเว็บไซต์ของ วธ.เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษา ว่า ขณะนี้ วธ.ได้คัดเลือกข้อมูลทางวัฒนธรรมจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่ง วธ.พบจังหวัดที่มีข้อมูลโดดเด่นอยู่ 20 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ตาก นครปฐม นครราชสีมา นครสวรรค์ อยุธยา พิจิตร เพชรบุรี ระยอง ราชบุรี นนทบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี จากนั้น วธ.จะนำข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่ศูนย์ข้อมูลกลาง ส่วนจังหวัดที่เหลือจะส่งกลับไปให้ปรับปรุงข้อมูลให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่า จะเปิดตัวเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลกลางได้ภายในเดือนกันยายนนี้
ส่วนเนื้อหาที่ วธ.จะนำมาลงในข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม เช่น เรื่องแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาชาวบ้าน หากศูนย์ข้อมูลกลางสมบูรณ์ ผู้ใช้จะสามารถเข้ามาศึกษาข้อมูลทางวัฒนธรรมของแต่ละจังหวัดได้มากขึ้น หรือเรียกว่า วัฒนธรรมศึกษา
ขณะเดียวกัน จะพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ต และการเชื่อมโยงเครือข่ายนั้น วธ.จะไม่เช่าแล้ว แต่จะเข้าไปดูแลระบบเองตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป และจะพัฒนาระบบให้มีมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนการพัฒนาบุคลากรจะมีการอบรมอย่างต่อเนื่อง
นายปรารพ กล่าวว่า นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า ดำเนินการพัฒนาข้อมูล หรือผู้ป้อนข้อมูลก็มีส่วนสำคัญ ซึ่ง วธ.ได้อบรมไปทุกจังหวัด พร้อมปรับโครงสร้างวัฒนธรรมจังหวัดใหม่ โดยมีการระบุอำนาจหน้าที่อย่างชัดเจน โดยมอบหมายให้กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ในแต่ละจังหวัดทำหน้าที่ดูแลศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรมของจังหวัดด้วย เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลความรู้ความเข้าใจด้านวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่ให้คนในจังหวัดพร้อมทั้งเชื่อมโยงมายังส่วนกลาง เมื่อข้อมูลเชื่อมโยงกันหมดจะกลายเป็นข้อมูลกลางของประเทศไทยด้วย
นายปรารพ เหล่าวานิช รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เผยความคืบหน้า วธ.ดำเนินการพัฒนาระบบข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม เพื่อนำมาลงเว็บไซต์ของ วธ.เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษา ว่า ขณะนี้ วธ.ได้คัดเลือกข้อมูลทางวัฒนธรรมจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่ง วธ.พบจังหวัดที่มีข้อมูลโดดเด่นอยู่ 20 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ตาก นครปฐม นครราชสีมา นครสวรรค์ อยุธยา พิจิตร เพชรบุรี ระยอง ราชบุรี นนทบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี จากนั้น วธ.จะนำข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่ศูนย์ข้อมูลกลาง ส่วนจังหวัดที่เหลือจะส่งกลับไปให้ปรับปรุงข้อมูลให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่า จะเปิดตัวเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลกลางได้ภายในเดือนกันยายนนี้
ส่วนเนื้อหาที่ วธ.จะนำมาลงในข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม เช่น เรื่องแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาชาวบ้าน หากศูนย์ข้อมูลกลางสมบูรณ์ ผู้ใช้จะสามารถเข้ามาศึกษาข้อมูลทางวัฒนธรรมของแต่ละจังหวัดได้มากขึ้น หรือเรียกว่า วัฒนธรรมศึกษา
ขณะเดียวกัน จะพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ต และการเชื่อมโยงเครือข่ายนั้น วธ.จะไม่เช่าแล้ว แต่จะเข้าไปดูแลระบบเองตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป และจะพัฒนาระบบให้มีมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนการพัฒนาบุคลากรจะมีการอบรมอย่างต่อเนื่อง
นายปรารพ กล่าวว่า นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า ดำเนินการพัฒนาข้อมูล หรือผู้ป้อนข้อมูลก็มีส่วนสำคัญ ซึ่ง วธ.ได้อบรมไปทุกจังหวัด พร้อมปรับโครงสร้างวัฒนธรรมจังหวัดใหม่ โดยมีการระบุอำนาจหน้าที่อย่างชัดเจน โดยมอบหมายให้กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ในแต่ละจังหวัดทำหน้าที่ดูแลศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรมของจังหวัดด้วย เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลความรู้ความเข้าใจด้านวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่ให้คนในจังหวัดพร้อมทั้งเชื่อมโยงมายังส่วนกลาง เมื่อข้อมูลเชื่อมโยงกันหมดจะกลายเป็นข้อมูลกลางของประเทศไทยด้วย