โดย...สุกัญญา แสงงาม
ปัจจุบันพระภิกษุสงฆ์ สามเณร จำนวนหนึ่งมีปัญหาสุขภาพเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคข้อเสื่อม อัมพฤกษ์ อัมพาต เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลสงฆ์ โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลต่างๆ เป็นจำนวนมาก
ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า พระภิกษุสงฆ์ เป็นที่พึ่งทางใจของชาวไทย ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ เพราะฉะนั้นการดูแล หรือทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา เป็นหน้าที่ที่พึ่งกระทำ โดยเฉพาะสุขภาพของพระสงฆ์เป็นเรื่องที่ต้องดูแลและเอาใจใส่ ดังนั้น ศิริราชพยาบาล จัดโครงการดูแลสุขภาพพระภิกษุสงฆ์และสามเณร โดยนำร่อง 6 วัด ได้แก่ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร วัดอมรินทรารามวรวิหาร วัดฉิมทายกาวาส วัดวิเศษการ วัดชนะสงคราม และ วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม โดยศึกษาแนวทางปฏิบัติของพระสงฆ์ว่าในแต่ละวันดำเนินชีวิตอย่างไรบ้าง
“จริงๆ แล้วโครงการนี้เราทำต่อเนื่องมา 2 ปีแล้ว เน้นศึกษาปัจจัยสี่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค โดยเราจะศึกษาว่าอาหารที่ฉัน พฤติกรรมการนั่ง ยืน เดิน นอน สิ่งแวดล้อมและที่อยู่อาศัยว่าสะอาดมากน้อยเพียงใด ขณะนี้อยู่ระหว่างการเก็บรวบรวมข้อมูลคาดว่าจะสรุปแล้วเสร็จปลายปีนี้ จากนั้นจะวิเคราะห์ถึงต้นเหตุของการเจ็บป่วย เมื่อรู้แล้ว เราจะเน้นป้องกันมากกว่ามีอาการป่วยแล้วค่อยมารักษาตัว” ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กล่าว
ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ เล่าว่า ก่อนที่จะเริ่มโครงการดังกล่าว เราขออนุญาตเจ้าอาวาสวัด ตรวจสุขภาพพระสงฆ์คล้ายกับตรวจสุขภาพประจำปีของคนทั่วไป แล้วจะนำผลบันทึกการตรวจสุขภาพ นำผลการตรวจสุขภาพมาเปรียบเทียบกันว่ามีการเปลี่ยนแปลง สุ่มเสี่ยงเจ็บป่วยหรือไม่ หากพระภิกษุสงฆ์รูปใดเสี่ยงป่วยด้วยโรคอะไร จะให้ดูแลสุขภาพมากขึ้นหรือ ถ้ามีอาการป่วยมากควรอยู่ในความดูแลของแพทย์จะนัดให้พบแพทย์อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่าพระภิกษุสงฆ์หลายรูปมีอาการโรคข้อเสื่อมก่อนวัยอันควร สืบเนื่องมาจากพฤติกรรม อย่างนั่งสมาธิ นั่งขัดสมาธิ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ประกอบกับขาดการออกกำลังกาย ถึงแม้ว่าพระภิกษุสงฆ์จะออกกำลังกายเหมือนประชาชนทั่วไป จะเข้าฟิตเนส เล่นโยคะ รำไทเก๊ก ไม่ได้ แต่พระสงฆ์สามารถเคลื่อนไหวร่างกาย ออกกำลังกาย โดยวิธีกวาดลานวัด การเดินเร็ว ยกขา ยกแขน เพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ และการออกกำลังกายลักษณะนี้ยังช่วยลดไขมันส่วนเกินได้อีกด้วย ถ้าพบว่าพระภิกษุสงฆ์ป่วยเป็นโรคเบาหวาน จะให้ควบคุมปริมาณอาหาร
“พูดได้ว่าศิริราช เข้าไปดูแลพระภิกษุสงฆ์ ที่เข้าร่วมโครงการอย่างใกล้ชิด โดยแพทย์จะให้คำแนะนำแต่ละรูป เพื่อให้ดูแลตัวเองให้ถูกต้องกับโรคที่ป่วย อย่างไรก็ตาม ถ้าโครงการนี้ประสบความสำเร็จ พอสรุปภาพรวมสาเหตุอาการเจ็บป่วย จะมีการขยายผลไปยังวัดอื่นๆ และจะขอความร่วมมือจากโรงพยาบาลอื่นๆ ให้เข้าไปดูแลสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ด้วย” ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ อธิบาย
พระเทพภาวนาวิกรม (เจ้าคุณธงชัย) เจ้าอาวาสวัดไตรมิตร กล่าวว่า ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ได้มีคณะแพทย์เข้ามาตรวจสุขภาพ เช็คเลือด พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ต่อเนื่องทุกปี นับว่า เป็นเรื่องดี เพราะโดยปกติพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ถ้าไม่มีอาการเจ็บป่วยจะไม่ไปหาหมอ และไม่ค่อยมีพระภิกษุสงฆ์ไปตรวจสุขภาพประจำปี พอมีแพทย์มาตรวจถึงวัด พระภิกษุสงฆ์ อาตมาคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี ขออนุโมธนาบุญแด่ผู้ที่มีจิตกุศลเข้ามาดูแลพระภิกษุสงฆ์
ส่วนผลการตรวจสุขภาพ ปรากฏว่า พระภิกษุสงฆ์ ส่วนใหญ่มีสุขภาพแข็งแรง อาจเป็นเพราะหลังปฏิบัติกิจของสงฆ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว พระภิกษุสงฆ์จะมาปัดกวาดลานวัด ยกโต๊ะ ยกเก้าอี้ เนื่องจากทางวัดจะมีงานบ่อย จึงไม่ได้นั่งๆ นอนๆ ถ้าหากสังเกตพระภิกษุสงฆ์จะไม่อ้วนลงพุง ไม่ค่อยมีปัญหาสุขภาพ หรือเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง จะเจ็บป่วยธรรมดา เช่น ไข้หวัด
ปัจจุบันพระภิกษุสงฆ์ สามเณร จำนวนหนึ่งมีปัญหาสุขภาพเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคข้อเสื่อม อัมพฤกษ์ อัมพาต เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลสงฆ์ โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลต่างๆ เป็นจำนวนมาก
ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า พระภิกษุสงฆ์ เป็นที่พึ่งทางใจของชาวไทย ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ เพราะฉะนั้นการดูแล หรือทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา เป็นหน้าที่ที่พึ่งกระทำ โดยเฉพาะสุขภาพของพระสงฆ์เป็นเรื่องที่ต้องดูแลและเอาใจใส่ ดังนั้น ศิริราชพยาบาล จัดโครงการดูแลสุขภาพพระภิกษุสงฆ์และสามเณร โดยนำร่อง 6 วัด ได้แก่ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร วัดอมรินทรารามวรวิหาร วัดฉิมทายกาวาส วัดวิเศษการ วัดชนะสงคราม และ วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม โดยศึกษาแนวทางปฏิบัติของพระสงฆ์ว่าในแต่ละวันดำเนินชีวิตอย่างไรบ้าง
“จริงๆ แล้วโครงการนี้เราทำต่อเนื่องมา 2 ปีแล้ว เน้นศึกษาปัจจัยสี่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค โดยเราจะศึกษาว่าอาหารที่ฉัน พฤติกรรมการนั่ง ยืน เดิน นอน สิ่งแวดล้อมและที่อยู่อาศัยว่าสะอาดมากน้อยเพียงใด ขณะนี้อยู่ระหว่างการเก็บรวบรวมข้อมูลคาดว่าจะสรุปแล้วเสร็จปลายปีนี้ จากนั้นจะวิเคราะห์ถึงต้นเหตุของการเจ็บป่วย เมื่อรู้แล้ว เราจะเน้นป้องกันมากกว่ามีอาการป่วยแล้วค่อยมารักษาตัว” ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กล่าว
ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ เล่าว่า ก่อนที่จะเริ่มโครงการดังกล่าว เราขออนุญาตเจ้าอาวาสวัด ตรวจสุขภาพพระสงฆ์คล้ายกับตรวจสุขภาพประจำปีของคนทั่วไป แล้วจะนำผลบันทึกการตรวจสุขภาพ นำผลการตรวจสุขภาพมาเปรียบเทียบกันว่ามีการเปลี่ยนแปลง สุ่มเสี่ยงเจ็บป่วยหรือไม่ หากพระภิกษุสงฆ์รูปใดเสี่ยงป่วยด้วยโรคอะไร จะให้ดูแลสุขภาพมากขึ้นหรือ ถ้ามีอาการป่วยมากควรอยู่ในความดูแลของแพทย์จะนัดให้พบแพทย์อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่าพระภิกษุสงฆ์หลายรูปมีอาการโรคข้อเสื่อมก่อนวัยอันควร สืบเนื่องมาจากพฤติกรรม อย่างนั่งสมาธิ นั่งขัดสมาธิ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ประกอบกับขาดการออกกำลังกาย ถึงแม้ว่าพระภิกษุสงฆ์จะออกกำลังกายเหมือนประชาชนทั่วไป จะเข้าฟิตเนส เล่นโยคะ รำไทเก๊ก ไม่ได้ แต่พระสงฆ์สามารถเคลื่อนไหวร่างกาย ออกกำลังกาย โดยวิธีกวาดลานวัด การเดินเร็ว ยกขา ยกแขน เพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ และการออกกำลังกายลักษณะนี้ยังช่วยลดไขมันส่วนเกินได้อีกด้วย ถ้าพบว่าพระภิกษุสงฆ์ป่วยเป็นโรคเบาหวาน จะให้ควบคุมปริมาณอาหาร
“พูดได้ว่าศิริราช เข้าไปดูแลพระภิกษุสงฆ์ ที่เข้าร่วมโครงการอย่างใกล้ชิด โดยแพทย์จะให้คำแนะนำแต่ละรูป เพื่อให้ดูแลตัวเองให้ถูกต้องกับโรคที่ป่วย อย่างไรก็ตาม ถ้าโครงการนี้ประสบความสำเร็จ พอสรุปภาพรวมสาเหตุอาการเจ็บป่วย จะมีการขยายผลไปยังวัดอื่นๆ และจะขอความร่วมมือจากโรงพยาบาลอื่นๆ ให้เข้าไปดูแลสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ด้วย” ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ อธิบาย
พระเทพภาวนาวิกรม (เจ้าคุณธงชัย) เจ้าอาวาสวัดไตรมิตร กล่าวว่า ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ได้มีคณะแพทย์เข้ามาตรวจสุขภาพ เช็คเลือด พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ต่อเนื่องทุกปี นับว่า เป็นเรื่องดี เพราะโดยปกติพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ถ้าไม่มีอาการเจ็บป่วยจะไม่ไปหาหมอ และไม่ค่อยมีพระภิกษุสงฆ์ไปตรวจสุขภาพประจำปี พอมีแพทย์มาตรวจถึงวัด พระภิกษุสงฆ์ อาตมาคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี ขออนุโมธนาบุญแด่ผู้ที่มีจิตกุศลเข้ามาดูแลพระภิกษุสงฆ์
ส่วนผลการตรวจสุขภาพ ปรากฏว่า พระภิกษุสงฆ์ ส่วนใหญ่มีสุขภาพแข็งแรง อาจเป็นเพราะหลังปฏิบัติกิจของสงฆ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว พระภิกษุสงฆ์จะมาปัดกวาดลานวัด ยกโต๊ะ ยกเก้าอี้ เนื่องจากทางวัดจะมีงานบ่อย จึงไม่ได้นั่งๆ นอนๆ ถ้าหากสังเกตพระภิกษุสงฆ์จะไม่อ้วนลงพุง ไม่ค่อยมีปัญหาสุขภาพ หรือเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง จะเจ็บป่วยธรรมดา เช่น ไข้หวัด