จารยา บุญมาก
หลายคนรู้จัก สภากาชาดไทย ในฐานะหน่วยงานด้านการรวบรวมการบริจาคโลหิตและอวัยวะต่างๆที่จำเป็นต่อผู้ป่วย ขณะที่การบริจาค “พลาสม่า” ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ทำให้ไม่เพียงพอต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ภายหลังจากที่มีการลงนามการจัดตั้งศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสมา ระหว่างสภากาชาดไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) องค์การเภสัชกรรม (อภ.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และบริษัท Green Cross Corperation จากสาธารณรัฐเกาหลี ประเทศไทยก็จะสามารถผลิตผลิตภัณฑ์พลาสมา ด้วยเทคโนโลยีระดับสูงที่ได้มาตรฐานสากล ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคต่างๆ และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการการช่วยเหลืออย่างครบวงจร
นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย อธิบายว่า หลังจากที่คณะกรรมการสภากาชาดไทย ครั้งที่ 301 มีมติเห็นชอบโครงการจัดตั้งศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสมาขึ้น ภายในที่ดินของสภากาชาดไทย ที่ ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,000 ล้านบาท เพื่อเตรียมผลิตผลิตภัณฑ์พลาสมาสำหรับใช้ในการรักษาผู้ป่วย โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์ Albumin ใช้สำหรับรักษาโรคไต มะเร็ง เบาหวาน กลุ่มผลิตภัณฑ์ IVIG สำหรับรักษาภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง และกลุ่มผลิตภัณฑ์ Factor VIII สำหรับโรคฮีโมฟีเลีย หรือกลุ่มโรคเลือดออกง่าย โดยการผลิตดังกล่าวจะใช้เครื่องที่ได้มาตรฐานของบริษัท Green Cross Corperation ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสมาที่ได้มาตรฐานระดับสากล
“โดยการทำงานนั้น สภากาชาดไทยจะทำหน้าที่ในการจัดหาวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตผลิตภัณฑ์พลาสม่า อย.จะให้คำแนะนำในกระบวนการผลิตของศูนย์ให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน ของ อย.ขณะที่ สปสช.จะทำหน้าที่ในการรับผลิตภัณฑ์ไปบริการผู้ป่วย ส่วน อภ.จะเป็นผู้บริหารจัดการกระจายผลิตภัณฑ์ไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งจะมีการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้น เพื่อดำเนินงานด้านนี้โดยเฉพาะ” นายแผน อธิบายเพิ่ม
ด้าน ศ.นพ.พินิจ กุลละวณิชย์ ประธานกรรมการเตรียมการจัดตั้งศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมา กล่าวถึงเหตุผลของการร่วมมือในครั้งนี้ว่า ผลิตภัณฑ์พลาสม่ามีความจำเป็นในการรักษาผู้ป่วยมาก แต่ปัจจุบันต้องนำเข้าจากเกาหลี และมีมูลค่าสูง ซึ่งจากข้อมูลของ อย.พบว่า ในปี 2551 มีการนำเข้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ชนิด ถึง 879 ล้านบาท และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน โดยผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการใช้ในประเทศไทยมากที่สุด คือ Albumin มีปริมาณการนำเข้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ต่อปี IVIG เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10 และFactor เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ต่อปี
อย่างไรก็ตาม ศูนย์ดังกล่าวจะลดการนำเข้าส่วนนี้ โดยจะมีกำลังการผลิตสูงสุด 200,000 ลิตรต่อปี ทั้งนี้ เบื้องต้นคาดว่า ศูนย์แห่งนี้จะก่อตั้งแล้วเสร็จรวม 4 ปี ตั้งแต่ปี 2554-2557 และ 2558 จึงจะเริ่มผลิตผลิตภัณฑ์พลาสมา ตั้งเป้าผลิตช่วง 3 ปีแรกใช้พลาสมา 100,000 ลิตรต่อปี และจะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 200,000 ลิตรต่อปี
หลังจากที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้เริ่มผลิตผลิตภัณฑ์พลาสมาตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งได้พลาสมาจากการบริจาคโดยตรงและปั่นแยกส่วนประกอบโลหิตที่ได้รับบริจาค ในพลาสม่าหรือน้ำเหลืองที่มีโปรตีนอยู่หลายชนิด ซึ่งเป็นภูมิต้านทานต่อโรคติดต่อและเชื้อโรคได้ จึงนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยไดดีมาโดยตลอด
ซึ่งส่วนนี้ พญ.สร้อยสอางค์ พิกุลสด ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า สำหรับพลาสม่าที่ใช้รักษาผู้ป่วยหลักๆ มี อีก 7 ชนิด ได้แก่ Human Albumin ร้อยละ 20 ใช้รักษาผู้ป่วยถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โรคขาดอาหาร โรคตับ เซรุ่มป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า กาวไฟบริน (Fibrin Glue) ใช้ห้ามเลือด ใช้ในการผ่าตัดต่อเชื่อมเส้นประสาท โรคฮีโมฟีเลีย การถอนฟัน พลาสมาสดแห้ง(Fresh Dried Plasma) ใช้รักษาผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย พลาสม่าแห้ง (Dried Cryo Removed Plasma) ใช้รักษาโรคฮีโมฟีเลีย บี และไครโอปรีซิพิเตทชนิดที่ผ่านความร้อน ใช้รักษาโรคฮีโมฟีเลีย เอ เหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ต่อการบริการผู้ป่วยทั้งสิ้น
หลายคนรู้จัก สภากาชาดไทย ในฐานะหน่วยงานด้านการรวบรวมการบริจาคโลหิตและอวัยวะต่างๆที่จำเป็นต่อผู้ป่วย ขณะที่การบริจาค “พลาสม่า” ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ทำให้ไม่เพียงพอต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ภายหลังจากที่มีการลงนามการจัดตั้งศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสมา ระหว่างสภากาชาดไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) องค์การเภสัชกรรม (อภ.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และบริษัท Green Cross Corperation จากสาธารณรัฐเกาหลี ประเทศไทยก็จะสามารถผลิตผลิตภัณฑ์พลาสมา ด้วยเทคโนโลยีระดับสูงที่ได้มาตรฐานสากล ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคต่างๆ และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการการช่วยเหลืออย่างครบวงจร
นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย อธิบายว่า หลังจากที่คณะกรรมการสภากาชาดไทย ครั้งที่ 301 มีมติเห็นชอบโครงการจัดตั้งศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสมาขึ้น ภายในที่ดินของสภากาชาดไทย ที่ ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,000 ล้านบาท เพื่อเตรียมผลิตผลิตภัณฑ์พลาสมาสำหรับใช้ในการรักษาผู้ป่วย โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์ Albumin ใช้สำหรับรักษาโรคไต มะเร็ง เบาหวาน กลุ่มผลิตภัณฑ์ IVIG สำหรับรักษาภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง และกลุ่มผลิตภัณฑ์ Factor VIII สำหรับโรคฮีโมฟีเลีย หรือกลุ่มโรคเลือดออกง่าย โดยการผลิตดังกล่าวจะใช้เครื่องที่ได้มาตรฐานของบริษัท Green Cross Corperation ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสมาที่ได้มาตรฐานระดับสากล
“โดยการทำงานนั้น สภากาชาดไทยจะทำหน้าที่ในการจัดหาวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตผลิตภัณฑ์พลาสม่า อย.จะให้คำแนะนำในกระบวนการผลิตของศูนย์ให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน ของ อย.ขณะที่ สปสช.จะทำหน้าที่ในการรับผลิตภัณฑ์ไปบริการผู้ป่วย ส่วน อภ.จะเป็นผู้บริหารจัดการกระจายผลิตภัณฑ์ไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งจะมีการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้น เพื่อดำเนินงานด้านนี้โดยเฉพาะ” นายแผน อธิบายเพิ่ม
ด้าน ศ.นพ.พินิจ กุลละวณิชย์ ประธานกรรมการเตรียมการจัดตั้งศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมา กล่าวถึงเหตุผลของการร่วมมือในครั้งนี้ว่า ผลิตภัณฑ์พลาสม่ามีความจำเป็นในการรักษาผู้ป่วยมาก แต่ปัจจุบันต้องนำเข้าจากเกาหลี และมีมูลค่าสูง ซึ่งจากข้อมูลของ อย.พบว่า ในปี 2551 มีการนำเข้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ชนิด ถึง 879 ล้านบาท และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน โดยผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการใช้ในประเทศไทยมากที่สุด คือ Albumin มีปริมาณการนำเข้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ต่อปี IVIG เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10 และFactor เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ต่อปี
อย่างไรก็ตาม ศูนย์ดังกล่าวจะลดการนำเข้าส่วนนี้ โดยจะมีกำลังการผลิตสูงสุด 200,000 ลิตรต่อปี ทั้งนี้ เบื้องต้นคาดว่า ศูนย์แห่งนี้จะก่อตั้งแล้วเสร็จรวม 4 ปี ตั้งแต่ปี 2554-2557 และ 2558 จึงจะเริ่มผลิตผลิตภัณฑ์พลาสมา ตั้งเป้าผลิตช่วง 3 ปีแรกใช้พลาสมา 100,000 ลิตรต่อปี และจะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 200,000 ลิตรต่อปี
หลังจากที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้เริ่มผลิตผลิตภัณฑ์พลาสมาตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งได้พลาสมาจากการบริจาคโดยตรงและปั่นแยกส่วนประกอบโลหิตที่ได้รับบริจาค ในพลาสม่าหรือน้ำเหลืองที่มีโปรตีนอยู่หลายชนิด ซึ่งเป็นภูมิต้านทานต่อโรคติดต่อและเชื้อโรคได้ จึงนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยไดดีมาโดยตลอด
ซึ่งส่วนนี้ พญ.สร้อยสอางค์ พิกุลสด ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า สำหรับพลาสม่าที่ใช้รักษาผู้ป่วยหลักๆ มี อีก 7 ชนิด ได้แก่ Human Albumin ร้อยละ 20 ใช้รักษาผู้ป่วยถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โรคขาดอาหาร โรคตับ เซรุ่มป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า กาวไฟบริน (Fibrin Glue) ใช้ห้ามเลือด ใช้ในการผ่าตัดต่อเชื่อมเส้นประสาท โรคฮีโมฟีเลีย การถอนฟัน พลาสมาสดแห้ง(Fresh Dried Plasma) ใช้รักษาผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย พลาสม่าแห้ง (Dried Cryo Removed Plasma) ใช้รักษาโรคฮีโมฟีเลีย บี และไครโอปรีซิพิเตทชนิดที่ผ่านความร้อน ใช้รักษาโรคฮีโมฟีเลีย เอ เหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ต่อการบริการผู้ป่วยทั้งสิ้น