นักวิชาการเตือนพิษ “โบทูลินัม” จากหมูยอ ระบุ หากได้รับพิษจะมีการอาการ “อาเจียน ถ่ายเหลว ปวดท้อง ตาพร่ามัว” ชี้ หากร้ายแรงก็ถึงขั้นเสียชีวิต แนะหากกินหมูยอควรต้มในน้ำเดือดก่อน
นส.ศิริพร วัชรากร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 (สคร.ที่ 2) จ.สระบุรี เปิดเผยผลการศึกษาในการสัมมนาระบาดวิทยาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 ภายใต้เรื่อง “ระบาดวิทยากับความท้าทายจากภัยสุขภาพโลกที่อุบัติใหม่” ว่า จากรายงานการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึมจากหมูยอ เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2553 ที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สระบุรี ว่า มีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสระบุรี สงสัยว่า จะเป็นโรคโบทูลิซึม จำนวน 2 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว สคร.ที่ 2 ร่วมกับทีม สสจ.สระบุรี และทีม อ.เฉลิมพระเกียรติ ดำเนินการสอบสวนโรคระหว่างวันที่ 16-22 พ.ค.2553 ด้วยการค้นหาผู้ป่วย รวมถึง โดยการสัมภาษณ์และบันทึกข้อมูลในแบบสอบสวนโรค เก็บตัวอย่างจากผู้ป่วย อาหารและวัสดุใส่อาหารส่งตรวจ
น.ส.ศิริพร กล่าวด้วยว่า จากผลการศึกษา พบว่า มีผู้ป่วยทั้งหมด 4 ราย อาศัยอยู่บ้านเดียวกัน ในอ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี ทุกรายกินยำหมูยอใส่แหนมและต้มจืดหมูใส่ผักกาดดองเค็มกระป๋องเป็นมื้อเช้าเมื่อวันที่ 13 พ.ค.2553 รายแรกเริ่มป่วยวันที่ 14 พ.ค.รายสุดท้ายเริ่มป่วย 18 พ.ค.มีอาการอาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลว ปวดท้อง หนังตาตก เห็นภาพซ้อน ตาพร่ามัว กลืนลำบาก และพูดไม่ชัด เข้ารับการรักษาที่ รพ.สระบุรี มีผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ 2 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 1 ราย สำหรับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของตัวอย่างอุจจาระของผู้ป่วย และถุงพลาสติกห่อหมูยอที่มีเศษหมูยอติดอยู่พบสารพิษโบทูลินัมสายพันธุ์ เอ (Botulinum Neurotoxin Type A) ผู้ป่วยอีก 3 รายได้รับการรักษาจนหาย ทั้งนี้ สันนิษฐานว่า ไม่ได้ต้มหมูยอในน้ำเดือดก่อนนำมาประกอบอาหาร ซึ่งหมูยอดังกล่าวซื้อจากผู้ประกอบการรถยนต์เร่ โดยซื้อหมูยอจากโรงงานผู้ผลิตที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ผลการตรวจสอบกระบวนการผลิตหมูยอ พบว่า ไม่ได้มาตรฐาน จากการสอบสวนโรคครั้งนี้ เป็นไปได้ว่า หมูยอที่ไม่ผ่านความร้อนนั้นอันตราย ดังนั้นแนะนำว่า สำหรับผู้ที่จะบริโภคหมูยอ จะต้องนำหมูยอมาต้มในน้ำร้อนที่เดือดก่อนนำมาปรุงเป็นอาหารสำเร็จรูปรับประทาน
นส.ศิริพร วัชรากร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 (สคร.ที่ 2) จ.สระบุรี เปิดเผยผลการศึกษาในการสัมมนาระบาดวิทยาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 ภายใต้เรื่อง “ระบาดวิทยากับความท้าทายจากภัยสุขภาพโลกที่อุบัติใหม่” ว่า จากรายงานการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึมจากหมูยอ เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2553 ที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สระบุรี ว่า มีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสระบุรี สงสัยว่า จะเป็นโรคโบทูลิซึม จำนวน 2 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว สคร.ที่ 2 ร่วมกับทีม สสจ.สระบุรี และทีม อ.เฉลิมพระเกียรติ ดำเนินการสอบสวนโรคระหว่างวันที่ 16-22 พ.ค.2553 ด้วยการค้นหาผู้ป่วย รวมถึง โดยการสัมภาษณ์และบันทึกข้อมูลในแบบสอบสวนโรค เก็บตัวอย่างจากผู้ป่วย อาหารและวัสดุใส่อาหารส่งตรวจ
น.ส.ศิริพร กล่าวด้วยว่า จากผลการศึกษา พบว่า มีผู้ป่วยทั้งหมด 4 ราย อาศัยอยู่บ้านเดียวกัน ในอ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี ทุกรายกินยำหมูยอใส่แหนมและต้มจืดหมูใส่ผักกาดดองเค็มกระป๋องเป็นมื้อเช้าเมื่อวันที่ 13 พ.ค.2553 รายแรกเริ่มป่วยวันที่ 14 พ.ค.รายสุดท้ายเริ่มป่วย 18 พ.ค.มีอาการอาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลว ปวดท้อง หนังตาตก เห็นภาพซ้อน ตาพร่ามัว กลืนลำบาก และพูดไม่ชัด เข้ารับการรักษาที่ รพ.สระบุรี มีผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ 2 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 1 ราย สำหรับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของตัวอย่างอุจจาระของผู้ป่วย และถุงพลาสติกห่อหมูยอที่มีเศษหมูยอติดอยู่พบสารพิษโบทูลินัมสายพันธุ์ เอ (Botulinum Neurotoxin Type A) ผู้ป่วยอีก 3 รายได้รับการรักษาจนหาย ทั้งนี้ สันนิษฐานว่า ไม่ได้ต้มหมูยอในน้ำเดือดก่อนนำมาประกอบอาหาร ซึ่งหมูยอดังกล่าวซื้อจากผู้ประกอบการรถยนต์เร่ โดยซื้อหมูยอจากโรงงานผู้ผลิตที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ผลการตรวจสอบกระบวนการผลิตหมูยอ พบว่า ไม่ได้มาตรฐาน จากการสอบสวนโรคครั้งนี้ เป็นไปได้ว่า หมูยอที่ไม่ผ่านความร้อนนั้นอันตราย ดังนั้นแนะนำว่า สำหรับผู้ที่จะบริโภคหมูยอ จะต้องนำหมูยอมาต้มในน้ำร้อนที่เดือดก่อนนำมาปรุงเป็นอาหารสำเร็จรูปรับประทาน