6 วิชาชีพ สธ.ร่วมเวทีสัมมนา นโยบายการแพทย์และสาธารณสุข แพทยสภา ชูประเด็นเรื่องปกป้องแพทย์อย่างเป็นธรรม เสนอนักการเมืองเร่งคลอดนโยบายที่เหมาะสม ด้าน ผอ.สำนักนโยบาย ฯ จี้เร่งแก้ความเหลื่อมล้ำ ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาล ขณะ สช.จัดเวทีวิเคราะห์หนัก ชี้พรรคการเมืองมุ่งนโยบายประชานิยม แนะกระจายอำนาจกำลังคน รวมทั้งการส่งเสริมป้องกันโรค และอุบัติเหตุบนท้องถนน
วันนี้ (22 มิ.ย.) ที่สภาการพยาบาล แพทยสภา ร่วมกับสภาการพยาบาล ทันตแพทยสภา สภาเภสัชกรรม สภาเทคนิคการแพทย์และสภากายภาพบำบัด จัดประชุมสัมมนา“นโยบายด้านการแพทย์และสาธารณสุขจากพรรคการเมือง” โดยมี ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภาเป็นประธานในการเปิดการเสวนา นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา เป็นผู้ดำเนินรายการ และมีตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) คือ นพ. บรรพต ต้นธีรวงศ์ และตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย(พท.) นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ร่วมเวทีเสนาด้วย
นพ.สัมพันธ์ กล่าวว่า ในการเสวนาครั้งนี้มีประเด็นที่บุคลากรสาธารณสุขกังวลอย่างมากในเรื่องของนโยบายด้านกำลังคน การปกป้องบุคลากรจากการให้บริการสาธารณสุขด้วยการผลักดันและสนับสนุนกฎหมายที่เป็นธรรม เช่น กรณีการถูกฟ้องร้อง อาจจะต้องดำเนินคดีเฉพาะแพทย์ที่ทำผิดร้ายแรงเท่านั้น เพราะที่ผ่านมาเชื่อว่า แพทย์ทุกคนทำงานด้วยใจจริงและทำตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างดีแล้ว แต่ก็ยังพบว่า มีแพทย์ที่ถูกฟ้องดำเนินคดีอยู่ดี จึงอยากทราบว่า พรรคการเมืองจะมีแนวทางอย่างไรในเรื่องนี้ และจะทำอย่างไรให้มีกฎหมายที่ก่อเกิดเกิดความสมานฉันท์ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการสาธารณสุขอ่างจริงจัง
ขณะที่ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ในการออกนโยบายนั้น อยากให้พรรคการเมือง อธิบายให้ชัดเจนถึงแนวทางการเพิ่มความเป็นธรรมเรื่องสิทธิการบริการสาธารณสุข เช่น กรณีการยุบรวมระบบบริการสุขภาพทั้ง 3 สิทธิ คือ ระบบรักษาฟรี ประกันสังคม และระบบสิทธิสวัสดิการข้าราชการ ก็ควรจะชัดเจนแล้วว่าจะยุบหรือไม่ หรือถ้าหากไม่ยุบมีแนวทางอื่นเพื่อจะจัดบริการสุขภาพแบบไม่เหลื่อมล้ำแก่ประชาชนหรือเปล่า ไม่ใช่มุ่งออกแค่นโยบายเรื่องระบบดูแลบุคลากร แต่ต้องมีความชัดเจนในเรื่องการจัดการระบบบริการสุขภาพแก่ประชาชนทุกคนด้วย รวมทั้งจะต้องมีความชัดเจนเรื่องนโยบายดูแลผู้สูงอายุด้วย ว่าจะทำระบบส่งเสริมและรักษาสุขภาพคนสูงวัยอย่างไรโดยไม่กระทบกับค่าใช้จ่ายด้านการบริการสาธารณสุขมากนัก และที่สำคัญอยากให้ตอบชัดเจนว่า ถึงเวลาหรือยังที่ควรจะกระจายอำนาจเรื่องระบบสาธารณสุขสู่ท้องถิ่น
“ที่เห็นอยู่ทุกวัน คือขณะนี้ระบบสวัสดิการข้าราชการมีอัตราการรับบริการผ่าท้องสูงถึง 4 เท่าของระบบรักษาฟรี ทั้งนี้เข้าใจว่าเป็นเพราะการบริการทั้งสามระบบที่ไม่เท่ากันในบางจุด เป็นส่วนหนึ่งที่อาจจะทำให้บุคลากรเกิดการแปรเปลี่ยนทางทัศนคติต่อผู้ป่วย เพราะสิทธิข้าราชการนั้นเบิกจ่ายได้แบบเต็มราคา ขณะที่รักษาฟรีนั้นเป็นเหมาจ่ายรายหัวซึ่งหากมีการแก้ระบบนี้ได้เชื่อว่าก็จะลดปัญหาอื่นได้เช่นกัน และคงไม่ต้องไปตัดสินถึงขั้นตัดสิทธิ์การเบิกจ่ายยาบางชนิดได้ ” นพ.ศุภกิจ กล่าว
นายวิชาญ กล่าวว่า สำหรับกฎหมายนั้นอาจต้องลงไปดูในกระบวนการพิจารณาคดี โดยอาจจะปรับกฎหมายลูกให้มีตัวแทนวิชาชีพเข้าไปมีส่วนร่วมพิจารณากรณีเกิดการฟ้องร้องระหว่างผู้ให้บริการสาธารณสุขกับผู้รับบริการ ทั้งนี้เพื่อความสบายใจของแพทย์และบุคคลากร รวมทั้งปกป้องผู้ป่วยด้วย ก็อาจแยกกฎหมายในการพิจารณาคดีแพทย์กับผู้ป่วยออกจากกฎหมายที่คุ้มครองผู้บริโภค เว้นแต่กรณีทำศัลยกรรมพลาสติก คงต้องใช้กฎหมายเดิม ส่วนเรื่อง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายนั้นต้องทำประชาพิจารณ์ และกำลังคนด้านสาธารณสุขนั้นก็ เดินหน้าพูดมาทุกเวทีว่าจะเจรจากับ สำนักงานข้าราชการพลเรือน แต่ไม่ว่าจะดำเนินการอย่างไรเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
ขณะที่ นพ.บรรพต กล่าวว่า หากได้เป็นรัฐบาล พรรค ปชป. คงจะคุ้มครองแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขอย่างเป็นธรรมด้วยการแก้ทั้งระบบ คือ เร่งออกกฎเข้มในการคุมมาตรฐานโรงพยาบาล เครื่องมือแพทย์ เพื่อที่บุคคลากรจะได้ปฏิบัติการอย่างมั่นใจและบริการผู้ป่วยอย่างเต็มที่ รวมทั้งพยายาผลักดันกฎหมายที่เสริมสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและรับบริการสาธารณสุขด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับข้อสงสัยเรื่องการกระจายอำนาจของบุคลากรสาธารณสุขนั้น ตัวแทนทั้งสองพรรค ยังคงเห็นเป็นเรื่องที่ยาก เพราะการกระจายอำนาจนั้นจำเป็นต้องสรรหาบุคลากร ซึ่งขณะนี้ก็แทบจะไม่พอ
วันเดียวกันผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สช)มีการจัดเวที สช.เจาะประเด็น เรื่อง นโยบายพรรคการเมืองใส่ใจต่อสุขภาวะแค่ไหน ? โดย นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการ สช.กล่าวว่า ปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และรัฐบาลใหม่ควรเร่งดำเนินการ คือ การจัดการเรื่องการกระจายอำนาจ อย่างกำลังคนให้ทั่วถึง เป็นต้น รวมไปถึงการส่งเสริมป้องกันโรค ซึ่งควรมีการส่งแพทย์ไปประจำท้องถิ่นมากกว่าเดิม หรืออาจจัดตั้งโครงการหมอประจำครอบครัวขึ้น
“นอกจากนี้ต้องไม่ลืมเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย อย่างเช่นนกรณี ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ..ซึ่งประเด็นนี้ยังค้างคาอยู่ในสภาฯ และไม่รู้ว่าจะมีการประกาศใช้จริงเมื่อไร ปัญหาเหล่านี้ดูเหมือนว่าพรรคการเมืองต่างๆ ก็รู้ดี และคงเดินหน้ายาก เพราะเป็นประเด็นที่ไม่ได้ข้อยุติ ดังนั้น การจะให้พรรคการเมืองสนใจประเด็นพวกนี้คงยาก คงทำได้ในเรื่องการส่งเสริม ป้องกันโรคที่อาจมีความเป็นไปได้ แต่อีกประเด็นที่สำคัญคือ อยากให้พรรคการเมืองเน้นในเรื่องป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนด้วย เพราะปัจจุบันความพิการ และการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเพิ่มขึ้น ควรมีนโยบายในการป้องกันและลดความเสี่ยงเหล่านี้ด้วย เพราะเรื่องนี้ถือว่าใกล้ตัวประชาชนมาก” นพ.อำพล กล่าว
วันนี้ (22 มิ.ย.) ที่สภาการพยาบาล แพทยสภา ร่วมกับสภาการพยาบาล ทันตแพทยสภา สภาเภสัชกรรม สภาเทคนิคการแพทย์และสภากายภาพบำบัด จัดประชุมสัมมนา“นโยบายด้านการแพทย์และสาธารณสุขจากพรรคการเมือง” โดยมี ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภาเป็นประธานในการเปิดการเสวนา นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา เป็นผู้ดำเนินรายการ และมีตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) คือ นพ. บรรพต ต้นธีรวงศ์ และตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย(พท.) นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ร่วมเวทีเสนาด้วย
นพ.สัมพันธ์ กล่าวว่า ในการเสวนาครั้งนี้มีประเด็นที่บุคลากรสาธารณสุขกังวลอย่างมากในเรื่องของนโยบายด้านกำลังคน การปกป้องบุคลากรจากการให้บริการสาธารณสุขด้วยการผลักดันและสนับสนุนกฎหมายที่เป็นธรรม เช่น กรณีการถูกฟ้องร้อง อาจจะต้องดำเนินคดีเฉพาะแพทย์ที่ทำผิดร้ายแรงเท่านั้น เพราะที่ผ่านมาเชื่อว่า แพทย์ทุกคนทำงานด้วยใจจริงและทำตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างดีแล้ว แต่ก็ยังพบว่า มีแพทย์ที่ถูกฟ้องดำเนินคดีอยู่ดี จึงอยากทราบว่า พรรคการเมืองจะมีแนวทางอย่างไรในเรื่องนี้ และจะทำอย่างไรให้มีกฎหมายที่ก่อเกิดเกิดความสมานฉันท์ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการสาธารณสุขอ่างจริงจัง
ขณะที่ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ในการออกนโยบายนั้น อยากให้พรรคการเมือง อธิบายให้ชัดเจนถึงแนวทางการเพิ่มความเป็นธรรมเรื่องสิทธิการบริการสาธารณสุข เช่น กรณีการยุบรวมระบบบริการสุขภาพทั้ง 3 สิทธิ คือ ระบบรักษาฟรี ประกันสังคม และระบบสิทธิสวัสดิการข้าราชการ ก็ควรจะชัดเจนแล้วว่าจะยุบหรือไม่ หรือถ้าหากไม่ยุบมีแนวทางอื่นเพื่อจะจัดบริการสุขภาพแบบไม่เหลื่อมล้ำแก่ประชาชนหรือเปล่า ไม่ใช่มุ่งออกแค่นโยบายเรื่องระบบดูแลบุคลากร แต่ต้องมีความชัดเจนในเรื่องการจัดการระบบบริการสุขภาพแก่ประชาชนทุกคนด้วย รวมทั้งจะต้องมีความชัดเจนเรื่องนโยบายดูแลผู้สูงอายุด้วย ว่าจะทำระบบส่งเสริมและรักษาสุขภาพคนสูงวัยอย่างไรโดยไม่กระทบกับค่าใช้จ่ายด้านการบริการสาธารณสุขมากนัก และที่สำคัญอยากให้ตอบชัดเจนว่า ถึงเวลาหรือยังที่ควรจะกระจายอำนาจเรื่องระบบสาธารณสุขสู่ท้องถิ่น
“ที่เห็นอยู่ทุกวัน คือขณะนี้ระบบสวัสดิการข้าราชการมีอัตราการรับบริการผ่าท้องสูงถึง 4 เท่าของระบบรักษาฟรี ทั้งนี้เข้าใจว่าเป็นเพราะการบริการทั้งสามระบบที่ไม่เท่ากันในบางจุด เป็นส่วนหนึ่งที่อาจจะทำให้บุคลากรเกิดการแปรเปลี่ยนทางทัศนคติต่อผู้ป่วย เพราะสิทธิข้าราชการนั้นเบิกจ่ายได้แบบเต็มราคา ขณะที่รักษาฟรีนั้นเป็นเหมาจ่ายรายหัวซึ่งหากมีการแก้ระบบนี้ได้เชื่อว่าก็จะลดปัญหาอื่นได้เช่นกัน และคงไม่ต้องไปตัดสินถึงขั้นตัดสิทธิ์การเบิกจ่ายยาบางชนิดได้ ” นพ.ศุภกิจ กล่าว
นายวิชาญ กล่าวว่า สำหรับกฎหมายนั้นอาจต้องลงไปดูในกระบวนการพิจารณาคดี โดยอาจจะปรับกฎหมายลูกให้มีตัวแทนวิชาชีพเข้าไปมีส่วนร่วมพิจารณากรณีเกิดการฟ้องร้องระหว่างผู้ให้บริการสาธารณสุขกับผู้รับบริการ ทั้งนี้เพื่อความสบายใจของแพทย์และบุคคลากร รวมทั้งปกป้องผู้ป่วยด้วย ก็อาจแยกกฎหมายในการพิจารณาคดีแพทย์กับผู้ป่วยออกจากกฎหมายที่คุ้มครองผู้บริโภค เว้นแต่กรณีทำศัลยกรรมพลาสติก คงต้องใช้กฎหมายเดิม ส่วนเรื่อง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายนั้นต้องทำประชาพิจารณ์ และกำลังคนด้านสาธารณสุขนั้นก็ เดินหน้าพูดมาทุกเวทีว่าจะเจรจากับ สำนักงานข้าราชการพลเรือน แต่ไม่ว่าจะดำเนินการอย่างไรเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
ขณะที่ นพ.บรรพต กล่าวว่า หากได้เป็นรัฐบาล พรรค ปชป. คงจะคุ้มครองแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขอย่างเป็นธรรมด้วยการแก้ทั้งระบบ คือ เร่งออกกฎเข้มในการคุมมาตรฐานโรงพยาบาล เครื่องมือแพทย์ เพื่อที่บุคคลากรจะได้ปฏิบัติการอย่างมั่นใจและบริการผู้ป่วยอย่างเต็มที่ รวมทั้งพยายาผลักดันกฎหมายที่เสริมสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและรับบริการสาธารณสุขด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับข้อสงสัยเรื่องการกระจายอำนาจของบุคลากรสาธารณสุขนั้น ตัวแทนทั้งสองพรรค ยังคงเห็นเป็นเรื่องที่ยาก เพราะการกระจายอำนาจนั้นจำเป็นต้องสรรหาบุคลากร ซึ่งขณะนี้ก็แทบจะไม่พอ
วันเดียวกันผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สช)มีการจัดเวที สช.เจาะประเด็น เรื่อง นโยบายพรรคการเมืองใส่ใจต่อสุขภาวะแค่ไหน ? โดย นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการ สช.กล่าวว่า ปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และรัฐบาลใหม่ควรเร่งดำเนินการ คือ การจัดการเรื่องการกระจายอำนาจ อย่างกำลังคนให้ทั่วถึง เป็นต้น รวมไปถึงการส่งเสริมป้องกันโรค ซึ่งควรมีการส่งแพทย์ไปประจำท้องถิ่นมากกว่าเดิม หรืออาจจัดตั้งโครงการหมอประจำครอบครัวขึ้น
“นอกจากนี้ต้องไม่ลืมเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย อย่างเช่นนกรณี ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ..ซึ่งประเด็นนี้ยังค้างคาอยู่ในสภาฯ และไม่รู้ว่าจะมีการประกาศใช้จริงเมื่อไร ปัญหาเหล่านี้ดูเหมือนว่าพรรคการเมืองต่างๆ ก็รู้ดี และคงเดินหน้ายาก เพราะเป็นประเด็นที่ไม่ได้ข้อยุติ ดังนั้น การจะให้พรรคการเมืองสนใจประเด็นพวกนี้คงยาก คงทำได้ในเรื่องการส่งเสริม ป้องกันโรคที่อาจมีความเป็นไปได้ แต่อีกประเด็นที่สำคัญคือ อยากให้พรรคการเมืองเน้นในเรื่องป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนด้วย เพราะปัจจุบันความพิการ และการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเพิ่มขึ้น ควรมีนโยบายในการป้องกันและลดความเสี่ยงเหล่านี้ด้วย เพราะเรื่องนี้ถือว่าใกล้ตัวประชาชนมาก” นพ.อำพล กล่าว