โดย...สุกัญญา แสงงาม
นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทย รับหน้าเสื่อเจ้าภาพการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 23 ระหว่างวันที่ 22-29 ก.ค.ณ โรงแรมรอยัล คลิฟบีช รีสอร์ท พัทยา โดยมีประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน 82 ประเทศและผู้สังเกตการณ์ 3 ประเทศ มีเยาวชนเข้าร่วมแข่งขัน 300 คน
สำหรับผู้แทนประเทศไทยที่ผ่านการคัดเลือก มีจำนวน 4 คน ได้แก่ นายพศิน มนูรังสี จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย นายลภนชัย จิรชูพันธ์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา นายวิชชากร กมลพรวิจิตร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และนายสรวิทย์ สุริยกาญจน์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และในฐานะไทยเป็นเจ้าภาพยังได้รับสิทธิให้ส่งทีมนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอีก 1 ทีม จำนวน 4 คน
ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวว่า การที่ไทยได้เป็นเจ้าภาพจะกระตุ้นให้เยาวชนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์ ขณะเดียวกันสถานศึกษาจะตื่นตัวปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น รวมทั้งงานวิจัยในสาขานี้จะขยายตัวมากขึ้น เป็นการจุดประกายหรือเร่งสร้างโปรแกรมเมอร์รุ่นใหม่ที่มีศักยภาพสูง รองรับความจำเป็นในการพัฒนาประเทศเพราะไทยยังขาดแคลนคนเก่งด้านนี้จำนวนมาก
รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ประธานคณะกรรมการจัดงานการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศฯ กล่าวว่า ถือเป็นเวทีให้นักเรียนได้แสดงความรู้ความสามารถในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน โดยใช้พื้นฐานความรู้ด้านคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับกระบวนการคิด วิเคราะห์เพื่อออกแบบกระบวนการและขั้นตอนวิธีแล้วเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แก้ปัญหาโจทย์ให้คำนวณได้คำตอบภายในเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งโจทย์ปัญหาเหล่านี้พัฒนาขึ้นโดยคณะกรรมการวิทยาศาสตร์นานาชาติที่รับผิดชอบด้านการออกข้อสอบโดยตรง
นายสุกรี สินธุภิญโญ หัวหน้าทีม อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเป็นเจ้าภาพมั่นใจว่า จะกระตุ้นวงการการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ในระดับมัธยมฯ และมหาวิทยาลัยให้เกิดการตื่นตัวมากขึ้นซึ่งศึกแข่งขันครั้งนี้นักเรียนของเราต้องทำการบ้านอย่างหนัก เพราะมีแชมป์ 2 สมัย คือ เบลารุส มาร่วมแข่งขันด้วย
ในขณะที่นักเรียนทั้ง 4 คน บอกทิศทางเดียวกันว่า แม้ว่าจะมีแชมป์เข้าร่วมแข่งขันด้วย แต่ก็มั่นใจว่าจะคว้าเหรียญใดเหรียญหนึ่งมาครอบครองได้แน่นอนเพราะเตรียมพร้อมมานานแล้วเข้าค่ายฝึกทำโจทย์อย่างหนัก ซึ่งหลังจากการแข่งขันเสร็จสิ้น ทั้งหมดจะได้รับทุนไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ
คราวนี้ลองมาฟังไอเดียหลังเรียนจบน้องๆ จะนำความรู้มาพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวหน้าอย่างไร
เริ่มที่ นายพศิน มองว่า ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนทุกวัย และการเป็นตัวแทนครั้งนี้ ตนได้รับทุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย เรียนต่อระดับปริญญาตรีถึงเอก ที่ MIT สหรัฐฯ ตนวางแผนจะเรียนคอมพิวเตอร์ควบคู่กับบริหาร คิดว่า เก่งคอมพิวเตอร์อย่างเดียวไม่พอ ต้องรู้เรื่องหลักการบริหารด้วย แล้วหลังเรียนจบจะกลับมาเป็นอาจารย์ พร้อมทำงานวิจัย เหตุผลอยากเป็นอาจารย์เพราะต้องการนำความรู้ที่มีอยู่ถ่ายทอดให้รุ่นน้องต่อไป ขณะที่ประเทศเรายังขาดผู้วิจัยด้านนี้อีกมาก ตนเองต้องการไปเติมเต็มตรงนั้นแล้วมั่นใจว่าจะช่วยพัฒนาชาติได้
ขณะที่รวิทย์ กล่าวว่า ในอนาคตหลังเรียนจบปริญญาแล้วจะเขียนโปรแกรมง่ายๆ ไม่ซับซ้อนมากนัก เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าไปพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของตนเองได้ ตรงนี้อาจจะจุดประกายให้เยาวชนหันมาสนใจคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนางานสร้างสรรค์ ไม่ใช่เล่นเกมเพียงอย่างเดียว
นายวิชชากร เล่าว่า ตนเองเหมือนเด็กทั่วไปชอบเล่นเกม วันหนึ่งเห็นอาเขียนโปรแกรม นึกสนุกอยากทำบ้างให้อาสอน พร้อมซื้อหนังสือมาอ่านจนวันนี้มีมากกว่า 100 เล่ม เดี๋ยวนี้ใช้วิธีค้นหาจากอินเทอร์เน็ต เนื่องจากตำราบ้านเราล่าช้ากว่า สำหรับอนาคตหลังเรียนจบปริญญา จริงๆ ยังไม่ได้คิดว่าจะทำอะไร รอให้ถึงวันนั้นคงนึกออกมาจะรับใช้ชาติได้อย่างไรบ้าง อย่างหนึ่งคงเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยสักแห่งหนึ่ง
นายลภนชัย บอกว่า คงคล้ายกับเพื่อนๆ เป็นอาจารย์สอนและทำงานวิจัยเหมือนเป็นต้นแบบให้เยาวชนรุ่นน้องหันมาสนใจคอมพิวเตอร์มากขึ้น แล้วยังเป็นการสร้างคนให้มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์อย่างมีคุณภาพ งานวิจัยพัฒนาได้ทั้งคนและประเทศ
นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทย รับหน้าเสื่อเจ้าภาพการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 23 ระหว่างวันที่ 22-29 ก.ค.ณ โรงแรมรอยัล คลิฟบีช รีสอร์ท พัทยา โดยมีประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน 82 ประเทศและผู้สังเกตการณ์ 3 ประเทศ มีเยาวชนเข้าร่วมแข่งขัน 300 คน
สำหรับผู้แทนประเทศไทยที่ผ่านการคัดเลือก มีจำนวน 4 คน ได้แก่ นายพศิน มนูรังสี จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย นายลภนชัย จิรชูพันธ์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา นายวิชชากร กมลพรวิจิตร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และนายสรวิทย์ สุริยกาญจน์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และในฐานะไทยเป็นเจ้าภาพยังได้รับสิทธิให้ส่งทีมนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอีก 1 ทีม จำนวน 4 คน
ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวว่า การที่ไทยได้เป็นเจ้าภาพจะกระตุ้นให้เยาวชนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์ ขณะเดียวกันสถานศึกษาจะตื่นตัวปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น รวมทั้งงานวิจัยในสาขานี้จะขยายตัวมากขึ้น เป็นการจุดประกายหรือเร่งสร้างโปรแกรมเมอร์รุ่นใหม่ที่มีศักยภาพสูง รองรับความจำเป็นในการพัฒนาประเทศเพราะไทยยังขาดแคลนคนเก่งด้านนี้จำนวนมาก
รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ประธานคณะกรรมการจัดงานการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศฯ กล่าวว่า ถือเป็นเวทีให้นักเรียนได้แสดงความรู้ความสามารถในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน โดยใช้พื้นฐานความรู้ด้านคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับกระบวนการคิด วิเคราะห์เพื่อออกแบบกระบวนการและขั้นตอนวิธีแล้วเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แก้ปัญหาโจทย์ให้คำนวณได้คำตอบภายในเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งโจทย์ปัญหาเหล่านี้พัฒนาขึ้นโดยคณะกรรมการวิทยาศาสตร์นานาชาติที่รับผิดชอบด้านการออกข้อสอบโดยตรง
นายสุกรี สินธุภิญโญ หัวหน้าทีม อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเป็นเจ้าภาพมั่นใจว่า จะกระตุ้นวงการการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ในระดับมัธยมฯ และมหาวิทยาลัยให้เกิดการตื่นตัวมากขึ้นซึ่งศึกแข่งขันครั้งนี้นักเรียนของเราต้องทำการบ้านอย่างหนัก เพราะมีแชมป์ 2 สมัย คือ เบลารุส มาร่วมแข่งขันด้วย
ในขณะที่นักเรียนทั้ง 4 คน บอกทิศทางเดียวกันว่า แม้ว่าจะมีแชมป์เข้าร่วมแข่งขันด้วย แต่ก็มั่นใจว่าจะคว้าเหรียญใดเหรียญหนึ่งมาครอบครองได้แน่นอนเพราะเตรียมพร้อมมานานแล้วเข้าค่ายฝึกทำโจทย์อย่างหนัก ซึ่งหลังจากการแข่งขันเสร็จสิ้น ทั้งหมดจะได้รับทุนไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ
คราวนี้ลองมาฟังไอเดียหลังเรียนจบน้องๆ จะนำความรู้มาพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวหน้าอย่างไร
เริ่มที่ นายพศิน มองว่า ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนทุกวัย และการเป็นตัวแทนครั้งนี้ ตนได้รับทุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย เรียนต่อระดับปริญญาตรีถึงเอก ที่ MIT สหรัฐฯ ตนวางแผนจะเรียนคอมพิวเตอร์ควบคู่กับบริหาร คิดว่า เก่งคอมพิวเตอร์อย่างเดียวไม่พอ ต้องรู้เรื่องหลักการบริหารด้วย แล้วหลังเรียนจบจะกลับมาเป็นอาจารย์ พร้อมทำงานวิจัย เหตุผลอยากเป็นอาจารย์เพราะต้องการนำความรู้ที่มีอยู่ถ่ายทอดให้รุ่นน้องต่อไป ขณะที่ประเทศเรายังขาดผู้วิจัยด้านนี้อีกมาก ตนเองต้องการไปเติมเต็มตรงนั้นแล้วมั่นใจว่าจะช่วยพัฒนาชาติได้
ขณะที่รวิทย์ กล่าวว่า ในอนาคตหลังเรียนจบปริญญาแล้วจะเขียนโปรแกรมง่ายๆ ไม่ซับซ้อนมากนัก เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าไปพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของตนเองได้ ตรงนี้อาจจะจุดประกายให้เยาวชนหันมาสนใจคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนางานสร้างสรรค์ ไม่ใช่เล่นเกมเพียงอย่างเดียว
นายวิชชากร เล่าว่า ตนเองเหมือนเด็กทั่วไปชอบเล่นเกม วันหนึ่งเห็นอาเขียนโปรแกรม นึกสนุกอยากทำบ้างให้อาสอน พร้อมซื้อหนังสือมาอ่านจนวันนี้มีมากกว่า 100 เล่ม เดี๋ยวนี้ใช้วิธีค้นหาจากอินเทอร์เน็ต เนื่องจากตำราบ้านเราล่าช้ากว่า สำหรับอนาคตหลังเรียนจบปริญญา จริงๆ ยังไม่ได้คิดว่าจะทำอะไร รอให้ถึงวันนั้นคงนึกออกมาจะรับใช้ชาติได้อย่างไรบ้าง อย่างหนึ่งคงเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยสักแห่งหนึ่ง
นายลภนชัย บอกว่า คงคล้ายกับเพื่อนๆ เป็นอาจารย์สอนและทำงานวิจัยเหมือนเป็นต้นแบบให้เยาวชนรุ่นน้องหันมาสนใจคอมพิวเตอร์มากขึ้น แล้วยังเป็นการสร้างคนให้มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์อย่างมีคุณภาพ งานวิจัยพัฒนาได้ทั้งคนและประเทศ