ผอ.สทศ.ปลื้ม สพฐ.และ ร.ร.ตื่นตัวนำคะแนนโอเน็ตไปใช้ เร่งพีอาร์และแนะนำการใช้คะแนนโอเน็ต แกต-แพทพัฒนาการเรียนการสอน
วันนี้ (15 มิ.ย.) นายสัมพันธ์ พันธุ์พฤษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สทศ. เร่งประชาสัมพันธ์แนะนำการพิจารณาผลคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) คะแนนแบบทดสอบวัดความถนัดทั่วไป (แกต) และคะแนนแบบทดสอบทางวิชาชีพ/วิชาการ (แพต) ไปพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน โดยก่อนหน้านี้ สทศ.ได้เปิดให้โรงเรียนสามารถดาวน์โหลดคะแนนต่าง ๆ รายโรงเรียนได้ทางเว็บไซต์ของ สทศ. www.niets.or.th เพราะต้องการให้ทางโรงเรียนได้นำคะแนนที่ได้รับนั้นไปวิเคราะห์ และวางแผนปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีคะแนนต่ำให้ดียิ่งขึ้น และถ้าทุกโรงเรียนสามารถปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนได้ดีขึ้น ตนเชื่อว่าก็จะเชื่อมโยงไปสู่การช่วยยกระดับคะแนน โอเน็ตภาพรวมของประเทศให้สูงขึ้นตามไปด้วย
“จากที่ผมได้ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ตามโรงเรียน และการประชุมสัมมนาต่างๆ พบว่า โรงเรียนหลายแห่งเริ่มมีความตื่นตัวกับการยกระดับคะแนน O-NET ให้สูงขึ้น ซึ่งผมไม่อยากให้โรงเรียนดูเพียงค่าคะแนนที่ได้รับอย่างเดียว แต่ควรพิจารณาค่าสถิติ ค่าเฉลี่ยเปรียบเทียบกับโรงเรียนอื่นๆ ทั้งในระดับจังหวัด และระดับชาติด้วย รวมทั้งควรพิจารณาในหัวข้อย่อยด้วยว่าเด็กของตนเองยังอ่อนในรายวิชาใด เพื่อที่จะได้ปรับปรุงให้ถูกจุด เพราะที่ผ่านมาโรงเรียนมักจะมองข้ามในส่วนของรายละเอียดไป ทำให้การพัฒนายังไม่ถูกที่เท่าที่ควร” นายสัมพันธ์ กล่าว
นายสัมพันธ์ กล่าวต่อว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญและตื่นตัวกับการนำคะแนนโอเน็ตไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมาก เช่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก็วางแผนนำคะแนนโอเน็ตมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกเด็กเข้าเรียนต่อชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 รวมถึงให้ความสำคัญต่อการอบรมและพัฒนาครูเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลของนักเรียน ซึ่งเน้นการออกข้อสอบที่มีการคิดวิเคราะห์มากขึ้น
วันนี้ (15 มิ.ย.) นายสัมพันธ์ พันธุ์พฤษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สทศ. เร่งประชาสัมพันธ์แนะนำการพิจารณาผลคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) คะแนนแบบทดสอบวัดความถนัดทั่วไป (แกต) และคะแนนแบบทดสอบทางวิชาชีพ/วิชาการ (แพต) ไปพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน โดยก่อนหน้านี้ สทศ.ได้เปิดให้โรงเรียนสามารถดาวน์โหลดคะแนนต่าง ๆ รายโรงเรียนได้ทางเว็บไซต์ของ สทศ. www.niets.or.th เพราะต้องการให้ทางโรงเรียนได้นำคะแนนที่ได้รับนั้นไปวิเคราะห์ และวางแผนปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีคะแนนต่ำให้ดียิ่งขึ้น และถ้าทุกโรงเรียนสามารถปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนได้ดีขึ้น ตนเชื่อว่าก็จะเชื่อมโยงไปสู่การช่วยยกระดับคะแนน โอเน็ตภาพรวมของประเทศให้สูงขึ้นตามไปด้วย
“จากที่ผมได้ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ตามโรงเรียน และการประชุมสัมมนาต่างๆ พบว่า โรงเรียนหลายแห่งเริ่มมีความตื่นตัวกับการยกระดับคะแนน O-NET ให้สูงขึ้น ซึ่งผมไม่อยากให้โรงเรียนดูเพียงค่าคะแนนที่ได้รับอย่างเดียว แต่ควรพิจารณาค่าสถิติ ค่าเฉลี่ยเปรียบเทียบกับโรงเรียนอื่นๆ ทั้งในระดับจังหวัด และระดับชาติด้วย รวมทั้งควรพิจารณาในหัวข้อย่อยด้วยว่าเด็กของตนเองยังอ่อนในรายวิชาใด เพื่อที่จะได้ปรับปรุงให้ถูกจุด เพราะที่ผ่านมาโรงเรียนมักจะมองข้ามในส่วนของรายละเอียดไป ทำให้การพัฒนายังไม่ถูกที่เท่าที่ควร” นายสัมพันธ์ กล่าว
นายสัมพันธ์ กล่าวต่อว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญและตื่นตัวกับการนำคะแนนโอเน็ตไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมาก เช่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก็วางแผนนำคะแนนโอเน็ตมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกเด็กเข้าเรียนต่อชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 รวมถึงให้ความสำคัญต่อการอบรมและพัฒนาครูเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลของนักเรียน ซึ่งเน้นการออกข้อสอบที่มีการคิดวิเคราะห์มากขึ้น