สมาคมครูอาชีวะ ยันไม่เคยก้าวก่ายการบริหาร สอศ.ถ้าไม่กระทบวิทยาลัย แจงทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ยินดีให้ความร่วมมืออาชีวะพัฒนา
นายธีรพัฒน์ คำคูบอน อุปนายกสมาคมครูอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตนได้รับแจ้งจากวิทยาลัยต่างๆ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ว่า ได้รับหนังสือลงวันที่ 20 พ.ค.2554 จาก สอศ.เพื่อสอบถามเกี่ยวกับสมาคมครูอาชีวศึกษาฯ พร้อมให้สำรวจด้วยว่าครูอาชีวศึกษาและบุคลากรในวิทยาลัยเป็นสมาชิกบ้าง แล้วให้ส่งข้อมูล รายชื่อกลับมายัง สอศ.ภายในวันที่ 31 พ.ค.2554 ทั้งนี้ หนังสือฉบับดังกล่าวสร้างความแตกตื่นให้กับข้าราชการเป็นอย่างมาก เพราะไม่ทราบว่าการสำรวจรายชื่อสมาชิกมีจุดประสงค์อะไร
นายธีรพัฒน์ ได้ชี้แจงว่า การที่ครูอาชีวศึกษารวมตัวกันจัดตั้งชมรม สมาคม หรือสหภาพ นั้น เป็นสิทธิพื้นฐานตามมาตรา 64 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และการเป็นสมาชิกสมาคมก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลของครูอาชีวศึกษาที่จะเข้าร่วมเพื่อปกป้องสิทธิ พัฒนาวิชาชีพและต่อรองในสิทธิต่างๆ ในวิชาชีพ ที่สำคัญสมาคมนี้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2545 จนบัดนี้ยังไม่มีพฤติกรรมที่นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่ให้ไว้ต่อสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) แต่อย่างใด
“ผมขอย้ำว่า สมาคมนี้ถูกต้องตามกฎหมายทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ไม่ใช่เป็นของคนใดคนหนึ่ง การปฏิบัติภารกิจของสมาคมยึดตามระเบียบอย่างเคร่งครัด ไม่เคยก้าวก่ายการบริหารงานของ สอศ.หากไม่มากระทบสิทธิของวิทยาลัย เช่น กรณีการจัดซื้อครุภัณฑ์ต่างๆ สมาคมก็ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกลางในการส่งสารจากสมาชิกไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมบัญชีกลาง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และกรรมาธิการ เป็นต้น เพื่อตรวจสอบข้อมูลแนะเอกสารที่สมาชิกส่งมาให้ สมาคมไม่ได้ทำตัวเป็นปฏิปักษ์กับผู้บริหารของสอศ.แต่ทำหน้าที่และปกป้องสิทธิวัตถุประสงค์การจัดตั้งสมาคม เท่านั้น ทั้งนี้ สมาคมพร้อมให้ร่วมมือกับ สอศ.ในการพัฒนาวงการวิชาชีพอาชีวศึกษา แต่ที่ผ่านมาก็ถูกปฏิเสธมาโดยตลอด” นายธีรพัฒน์ กล่าว
นายธีรพัฒน์ คำคูบอน อุปนายกสมาคมครูอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตนได้รับแจ้งจากวิทยาลัยต่างๆ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ว่า ได้รับหนังสือลงวันที่ 20 พ.ค.2554 จาก สอศ.เพื่อสอบถามเกี่ยวกับสมาคมครูอาชีวศึกษาฯ พร้อมให้สำรวจด้วยว่าครูอาชีวศึกษาและบุคลากรในวิทยาลัยเป็นสมาชิกบ้าง แล้วให้ส่งข้อมูล รายชื่อกลับมายัง สอศ.ภายในวันที่ 31 พ.ค.2554 ทั้งนี้ หนังสือฉบับดังกล่าวสร้างความแตกตื่นให้กับข้าราชการเป็นอย่างมาก เพราะไม่ทราบว่าการสำรวจรายชื่อสมาชิกมีจุดประสงค์อะไร
นายธีรพัฒน์ ได้ชี้แจงว่า การที่ครูอาชีวศึกษารวมตัวกันจัดตั้งชมรม สมาคม หรือสหภาพ นั้น เป็นสิทธิพื้นฐานตามมาตรา 64 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และการเป็นสมาชิกสมาคมก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลของครูอาชีวศึกษาที่จะเข้าร่วมเพื่อปกป้องสิทธิ พัฒนาวิชาชีพและต่อรองในสิทธิต่างๆ ในวิชาชีพ ที่สำคัญสมาคมนี้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2545 จนบัดนี้ยังไม่มีพฤติกรรมที่นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่ให้ไว้ต่อสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) แต่อย่างใด
“ผมขอย้ำว่า สมาคมนี้ถูกต้องตามกฎหมายทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ไม่ใช่เป็นของคนใดคนหนึ่ง การปฏิบัติภารกิจของสมาคมยึดตามระเบียบอย่างเคร่งครัด ไม่เคยก้าวก่ายการบริหารงานของ สอศ.หากไม่มากระทบสิทธิของวิทยาลัย เช่น กรณีการจัดซื้อครุภัณฑ์ต่างๆ สมาคมก็ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกลางในการส่งสารจากสมาชิกไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมบัญชีกลาง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และกรรมาธิการ เป็นต้น เพื่อตรวจสอบข้อมูลแนะเอกสารที่สมาชิกส่งมาให้ สมาคมไม่ได้ทำตัวเป็นปฏิปักษ์กับผู้บริหารของสอศ.แต่ทำหน้าที่และปกป้องสิทธิวัตถุประสงค์การจัดตั้งสมาคม เท่านั้น ทั้งนี้ สมาคมพร้อมให้ร่วมมือกับ สอศ.ในการพัฒนาวงการวิชาชีพอาชีวศึกษา แต่ที่ผ่านมาก็ถูกปฏิเสธมาโดยตลอด” นายธีรพัฒน์ กล่าว