ไอไออี หนุนพยาบาลเร่งเรียนภาษา และสอบไอเอสพีเอ็น ยกระดับวิชาชีพสู่สากล เชื่อหากไทยต้องการเป็นเมดิคัลฮับ ควรเร่งพัฒนาทักษะภาษา
วันนี้ (10 พ.ค.) ที่โรงแรมเซนทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิร์ล กทม.มีการจัดเสวนาเรื่อง “การยกระดับการพัฒนาวิชาชีพพยาบาลในประเทศไทย” โดยมีหน่วยงานต่างจากของสถาบันการศึกษานานาชาติ ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือไอไออี (The Southeast Asian Office of the Institute of The International Education: IIE) คณะกรรมาธิการผู้จบการศึกษาจากสถาบันด้านการพยาบาลในต่างประเทศ หรือ ซีจีเอฟเอ็นเอส อินเตอร์เนชันแนล (The Commission on Graduate for Foreign Nursing School : CGFNS International ) และตัวแทนจากมหาวิทยาลัยการพยาบาล สภาการพยาบาล เข้าร่วมการเสวนาด้วย
โดย ดร.ชลินทร เอ็น เบอเรียน ผู้อำนวยการไอไออี กล่าวว่า ในการจัดเสวนาครั้งนี้เป็นการสรุปรวมสถานการณ์ของการศึกษาด้านพยาบาลของไทย และการระดมความคิดเห็น เพื่อนำไปพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาพยาบาลสู่ระดับสากลมากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะภาษาแก่พยาบาลวิชาชีพทั่วไปและพยาบาลเฉพาะทาง ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยมีชาวต่างชาติเข้ามารับบริการสาธารณสุขมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยว เหตุเพราะเมืองไทยมีศักยภาพในการบริการที่ดี โดยเฉพาะสถานพยาบาลเอกชนนั้น นับว่ามีการแข่งขันเรื่องการพัฒนาศักยภาพอย่างมาก ผ่านการเข้าสอบในโครงการรับรองมาตรฐานระดับสากลสำหรับพยาบาลวิชาชีพ หรือไอเอสพีเอ็น (ISPN Exam)ซึ่งผู้ที่สามารถสอบผ่านจะได้ใบรับรองระดับนานาชาติ และสามารถเข้าศึกษาต่อและทำงานในต่างประเทศได้
“ยิ่งในตอนนี้ เห็นว่า ไทยมีแนวโน้มจะพัฒนาด้านสาธารณสุขให้สู่ความเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ หรือ เมดิคัลฮับ หากเร่งพัฒนาศักยภาพการศึกษาพยาบาลในระดับสากลได้เร็วก็จะยิ่งดีต่อการผลิตพยาบาลเข้าสู่ระบบดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ถือว่าเป็นโอกาสในการเตรียมความพร้อม ที่เหมาะสม ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบแบบเต็มตัว” ดร.ชลินทร กล่าว
ด้านรศ.ดร.พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์ รองอธิกาบดีรฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ กทม.กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์การพัฒนาด้านพยาบาลของประเทศไทยโดยรวมถือว่า มีศักยภาพในด้านความสามารถทางการพยาบาลไม่แพ้ชาติอื่น จัดอยู่ในอันตับต้นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เหตุผลที่ยังมีบุคลากรน้อยอยู่อาจเพราะขาดการสนับสนุนและขาดแรงจูงใจ เชื่อว่ามาจาก 2 สาเหตุ คือ ยังไม่มีตำแหน่งรองรับแต่ในส่วนนี้เป็นหน้าที่ของทางภาครัฐบาลไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งอาจเพราะสถาบันการศึกษาไม่มีการส่งเสริมให้มีการยกระดับของผู้เรียน จึงทำให้ทางเลือกในการเติบโตของวิชาชีพนั้นเป็นไปได้ยาก ขณะที่ระบบสาธารณสุขทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ และต้องการพึ่งบุคลากรพยาบาลมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จำเป็นจะต้องเร่งพัฒนาทั้งทักษะวิชาชีพและทักษาภาษา ซึ่งไทยถือว่ายัง ตามหลังฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และถ้าไม่เร่งพัฒนาก็อาจจะช้ากว่าพม่า แต่ยังดีที่ไทยได้เปรียบเรื่องทักษะ การพยาบาล และการบริการ จึงทำให้นานาชาติสนใจรับเข้าทำงาน
รศ.ดร.พวงรัตน์ กล่าวต่อว่า เชื่อว่า หากประเทศไทยเร่งยกระดับการศึกษาพยาบาลสู่สากล หรือพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์การศึกษาสองภาษา หรือหลักสูตรนานาชาติให้มากขึ้น จะก่อเกิดประโยชน์อย่างมากทั้งตัวผู้เรียนและระบบสาธารณสุขของไทย โดยตัวผู้เรียนเองมีทั้งโอกาสก้าวหน้าในการเรียนพยาบาลมากขึ้น ได้รับค่าตอบแทนที่สูง ขณะที่หากมีการเพิ่มตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ และพยาบาลเฉพาะทางให้มากขึ้น ก็จะช่วยให้การกระจายตัวการให้บริการในระบบสาธารณสุขดีขึ้นด้วย ประชาชนผู้เข้ารับบริการก็จะได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกันทั้งในสถานพยาบาลเอกชนและของรัฐ เนื่องจากขณะนี้ทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาต่างให้ความสำคัญกับระบบบริการสุขภาพ
อนึ่ง จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า พยาบาลในประเทศไทยที่มีใบประกอบวิชาชีพของสมาคมพยาบาลรวมทั้งสิ้น 140,000 คน แต่มีผู้ประกอบวิชาชีพจริงเพียง 90,000 คน โดยปฏิบัติหน้าที่อยู่ สถานพยาบาลเอกชนของไทยและนานาชาติ 34,550 คน และอีก 55,450 คนทำงานในสถานพยาบาลของรัฐ
วันนี้ (10 พ.ค.) ที่โรงแรมเซนทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิร์ล กทม.มีการจัดเสวนาเรื่อง “การยกระดับการพัฒนาวิชาชีพพยาบาลในประเทศไทย” โดยมีหน่วยงานต่างจากของสถาบันการศึกษานานาชาติ ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือไอไออี (The Southeast Asian Office of the Institute of The International Education: IIE) คณะกรรมาธิการผู้จบการศึกษาจากสถาบันด้านการพยาบาลในต่างประเทศ หรือ ซีจีเอฟเอ็นเอส อินเตอร์เนชันแนล (The Commission on Graduate for Foreign Nursing School : CGFNS International ) และตัวแทนจากมหาวิทยาลัยการพยาบาล สภาการพยาบาล เข้าร่วมการเสวนาด้วย
โดย ดร.ชลินทร เอ็น เบอเรียน ผู้อำนวยการไอไออี กล่าวว่า ในการจัดเสวนาครั้งนี้เป็นการสรุปรวมสถานการณ์ของการศึกษาด้านพยาบาลของไทย และการระดมความคิดเห็น เพื่อนำไปพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาพยาบาลสู่ระดับสากลมากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะภาษาแก่พยาบาลวิชาชีพทั่วไปและพยาบาลเฉพาะทาง ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยมีชาวต่างชาติเข้ามารับบริการสาธารณสุขมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยว เหตุเพราะเมืองไทยมีศักยภาพในการบริการที่ดี โดยเฉพาะสถานพยาบาลเอกชนนั้น นับว่ามีการแข่งขันเรื่องการพัฒนาศักยภาพอย่างมาก ผ่านการเข้าสอบในโครงการรับรองมาตรฐานระดับสากลสำหรับพยาบาลวิชาชีพ หรือไอเอสพีเอ็น (ISPN Exam)ซึ่งผู้ที่สามารถสอบผ่านจะได้ใบรับรองระดับนานาชาติ และสามารถเข้าศึกษาต่อและทำงานในต่างประเทศได้
“ยิ่งในตอนนี้ เห็นว่า ไทยมีแนวโน้มจะพัฒนาด้านสาธารณสุขให้สู่ความเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ หรือ เมดิคัลฮับ หากเร่งพัฒนาศักยภาพการศึกษาพยาบาลในระดับสากลได้เร็วก็จะยิ่งดีต่อการผลิตพยาบาลเข้าสู่ระบบดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ถือว่าเป็นโอกาสในการเตรียมความพร้อม ที่เหมาะสม ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบแบบเต็มตัว” ดร.ชลินทร กล่าว
ด้านรศ.ดร.พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์ รองอธิกาบดีรฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ กทม.กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์การพัฒนาด้านพยาบาลของประเทศไทยโดยรวมถือว่า มีศักยภาพในด้านความสามารถทางการพยาบาลไม่แพ้ชาติอื่น จัดอยู่ในอันตับต้นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เหตุผลที่ยังมีบุคลากรน้อยอยู่อาจเพราะขาดการสนับสนุนและขาดแรงจูงใจ เชื่อว่ามาจาก 2 สาเหตุ คือ ยังไม่มีตำแหน่งรองรับแต่ในส่วนนี้เป็นหน้าที่ของทางภาครัฐบาลไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งอาจเพราะสถาบันการศึกษาไม่มีการส่งเสริมให้มีการยกระดับของผู้เรียน จึงทำให้ทางเลือกในการเติบโตของวิชาชีพนั้นเป็นไปได้ยาก ขณะที่ระบบสาธารณสุขทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ และต้องการพึ่งบุคลากรพยาบาลมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จำเป็นจะต้องเร่งพัฒนาทั้งทักษะวิชาชีพและทักษาภาษา ซึ่งไทยถือว่ายัง ตามหลังฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และถ้าไม่เร่งพัฒนาก็อาจจะช้ากว่าพม่า แต่ยังดีที่ไทยได้เปรียบเรื่องทักษะ การพยาบาล และการบริการ จึงทำให้นานาชาติสนใจรับเข้าทำงาน
รศ.ดร.พวงรัตน์ กล่าวต่อว่า เชื่อว่า หากประเทศไทยเร่งยกระดับการศึกษาพยาบาลสู่สากล หรือพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์การศึกษาสองภาษา หรือหลักสูตรนานาชาติให้มากขึ้น จะก่อเกิดประโยชน์อย่างมากทั้งตัวผู้เรียนและระบบสาธารณสุขของไทย โดยตัวผู้เรียนเองมีทั้งโอกาสก้าวหน้าในการเรียนพยาบาลมากขึ้น ได้รับค่าตอบแทนที่สูง ขณะที่หากมีการเพิ่มตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ และพยาบาลเฉพาะทางให้มากขึ้น ก็จะช่วยให้การกระจายตัวการให้บริการในระบบสาธารณสุขดีขึ้นด้วย ประชาชนผู้เข้ารับบริการก็จะได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกันทั้งในสถานพยาบาลเอกชนและของรัฐ เนื่องจากขณะนี้ทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาต่างให้ความสำคัญกับระบบบริการสุขภาพ
อนึ่ง จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า พยาบาลในประเทศไทยที่มีใบประกอบวิชาชีพของสมาคมพยาบาลรวมทั้งสิ้น 140,000 คน แต่มีผู้ประกอบวิชาชีพจริงเพียง 90,000 คน โดยปฏิบัติหน้าที่อยู่ สถานพยาบาลเอกชนของไทยและนานาชาติ 34,550 คน และอีก 55,450 คนทำงานในสถานพยาบาลของรัฐ