กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยผลการสำรวจมีพฤติกรรมไม่กินอาหารเช้าของเด็กวัยเรียนอายุ 6-11 ปี พบว่า ไม่กินอาหารเช้า ร้อยละ 30 โดยเฉพาะเด็กนักเรียนหญิง อายุ 12-14 ปี ไม่กินอาหารเช้า ถึงร้อยละ 52 แนะผู้ปกครองต้องให้ความสำคัญกับอาหารเช้า เพราะการขาดสารอาหารในช่วงเช้าจะส่งผลเสียต่อการเรียนและสุขภาพ
ดร.นพ. สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงผลการสำรวจพฤติกรรมการกินอาหารเช้าของเด็กวัยเรียน พบว่า เด็กอายุ 6-11 ปี ร้อยละ 30 ไม่กินอาหารเช้า และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กนักเรียนหญิง จึงอยากให้ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับอาหารเช้าโดยเฉพาะในช่วงเปิดเทอม ซึ่งเป็นช่วงการเดินทางที่เร่งรีบ สำหรับการเตรียมอาหารเช้า แนะวิธีเตรียมซึ่งบางส่วนอาจเตรียมไว้ตั้งแต่ตอนเย็น เมนูอาหารเช้าที่ดีต้องประกอบถูกหลักโภชนาการ มีโปรตีนสูง และเป็นเมนูที่เตรียมง่ายๆ เป็นอาหารจานเดียว เช่น ข้าวต้มเครื่อง โจ๊ก ข้าวผัด อาหารสำเร็จรูปประเภทซีเรียลผสมนมรสจืด ขนมปังแซนด์วิช สำหรับข้าวเหนียวหมูปิ้งซึ่งเป็นเมนูอาหารเช้าที่หาซื้อได้ง่าย ก่อนเลือกเป็นเมนูสำหรับลูกต้องเลือกเป็นหมูปิ้งไม้ที่ไม่ติดมัน ไม่ไหม้เกรียมจนเกินไป และควรเพิ่มผัก อาทิ แตงกวา หรือกะหล่ำปลี เพื่อความหลากหลาย การเพิ่มผักในเมนูอาหารเป็นการฝึกให้เด็กกินผัก ด้วยวิธีใช้ผักที่ไม่มีกลิ่นฉุน และรสขม เช่น ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ผักบุ้ง แครอท หรือหั่นผักให้เป็นชิ้นเล็กเพื่อเพิ่มสีสัน ในเมนูอาหาร ที่สำคัญควรเตรียมนมรสจืด 1 กล่อง และผลไม้ประมาณ 1 ผล เช่น ส้ม แอปเปิล ชมพู่ เพื่อให้เด็กได้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมและครบถ้วน
ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อไปว่า ผลกระทบของการขาดสารอาหารในช่วงเช้า โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียนจะส่งผลเสียต่อการเรียนและสุขภาพ เพราะการเผาผลาญสารอาหารของร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะช่วงระหว่างอาหารเย็นถึงช่วงเช้า ร่างกายจะทำงานเพื่อเผาผลาญตลอดเวลาแม้ในขณะหลับ และหากร่างกายไม่ได้รับสารอาหารในมื้อเช้า จะทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย หงุดหงิด อารมณ์เสีย อาจถึงขั้นหน้ามืดเป็นลมได้ เนื่องจากสมองได้รับน้ำตาลกลูโคสไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ซึ่งอาการเหล่านี้หากเกิดในช่วงเวลาเรียน จะทำให้เด็กไม่มีสมาธิเรียนและอาจเป็นโรคกระเพาะถึงขั้นต้องพักการเรียนได้
“ทั้งนี้ หลักโภชนาการที่ถูกต้องควรกินอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ ผู้ปกครองควรหันมาใส่ใจบุตรหลานของตนเองให้มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องอาหารเช้า หากไม่มีเวลาเตรียมอาหารเช้าเองก็ควรจะเพิ่มเวลาเพื่อออกไปเลือกเมนูอาหารเช้าที่เหมาะสมนอกบ้าน เพราะเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ต้องการพลังงาน สารอาหารที่ครบถ้วน และหลากหลายให้เพียงพอต่อร่างกาย ควรหลีกเลี่ยงน้ำอัดลม ขมหวาน ขนมขบเขี้ยว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนของเด็กไทย พร้อมทั้งควรพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง เพราะการพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยให้สมองปลอดโปร่ง ทำให้สมองสามารถเรียนรู้ จดจำ มีสมาธิ พร้อมเริ่มวันใหม่ ตลอดจนทำกิจกรรมการเรียนรู้กันเพื่อนได้อย่างดี ควบคู่กับสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย” อธิบดีกรมอนามัยกล่าวในที่สุด
ดร.นพ. สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงผลการสำรวจพฤติกรรมการกินอาหารเช้าของเด็กวัยเรียน พบว่า เด็กอายุ 6-11 ปี ร้อยละ 30 ไม่กินอาหารเช้า และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กนักเรียนหญิง จึงอยากให้ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับอาหารเช้าโดยเฉพาะในช่วงเปิดเทอม ซึ่งเป็นช่วงการเดินทางที่เร่งรีบ สำหรับการเตรียมอาหารเช้า แนะวิธีเตรียมซึ่งบางส่วนอาจเตรียมไว้ตั้งแต่ตอนเย็น เมนูอาหารเช้าที่ดีต้องประกอบถูกหลักโภชนาการ มีโปรตีนสูง และเป็นเมนูที่เตรียมง่ายๆ เป็นอาหารจานเดียว เช่น ข้าวต้มเครื่อง โจ๊ก ข้าวผัด อาหารสำเร็จรูปประเภทซีเรียลผสมนมรสจืด ขนมปังแซนด์วิช สำหรับข้าวเหนียวหมูปิ้งซึ่งเป็นเมนูอาหารเช้าที่หาซื้อได้ง่าย ก่อนเลือกเป็นเมนูสำหรับลูกต้องเลือกเป็นหมูปิ้งไม้ที่ไม่ติดมัน ไม่ไหม้เกรียมจนเกินไป และควรเพิ่มผัก อาทิ แตงกวา หรือกะหล่ำปลี เพื่อความหลากหลาย การเพิ่มผักในเมนูอาหารเป็นการฝึกให้เด็กกินผัก ด้วยวิธีใช้ผักที่ไม่มีกลิ่นฉุน และรสขม เช่น ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ผักบุ้ง แครอท หรือหั่นผักให้เป็นชิ้นเล็กเพื่อเพิ่มสีสัน ในเมนูอาหาร ที่สำคัญควรเตรียมนมรสจืด 1 กล่อง และผลไม้ประมาณ 1 ผล เช่น ส้ม แอปเปิล ชมพู่ เพื่อให้เด็กได้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมและครบถ้วน
ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อไปว่า ผลกระทบของการขาดสารอาหารในช่วงเช้า โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียนจะส่งผลเสียต่อการเรียนและสุขภาพ เพราะการเผาผลาญสารอาหารของร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะช่วงระหว่างอาหารเย็นถึงช่วงเช้า ร่างกายจะทำงานเพื่อเผาผลาญตลอดเวลาแม้ในขณะหลับ และหากร่างกายไม่ได้รับสารอาหารในมื้อเช้า จะทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย หงุดหงิด อารมณ์เสีย อาจถึงขั้นหน้ามืดเป็นลมได้ เนื่องจากสมองได้รับน้ำตาลกลูโคสไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ซึ่งอาการเหล่านี้หากเกิดในช่วงเวลาเรียน จะทำให้เด็กไม่มีสมาธิเรียนและอาจเป็นโรคกระเพาะถึงขั้นต้องพักการเรียนได้
“ทั้งนี้ หลักโภชนาการที่ถูกต้องควรกินอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ ผู้ปกครองควรหันมาใส่ใจบุตรหลานของตนเองให้มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องอาหารเช้า หากไม่มีเวลาเตรียมอาหารเช้าเองก็ควรจะเพิ่มเวลาเพื่อออกไปเลือกเมนูอาหารเช้าที่เหมาะสมนอกบ้าน เพราะเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ต้องการพลังงาน สารอาหารที่ครบถ้วน และหลากหลายให้เพียงพอต่อร่างกาย ควรหลีกเลี่ยงน้ำอัดลม ขมหวาน ขนมขบเขี้ยว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนของเด็กไทย พร้อมทั้งควรพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง เพราะการพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยให้สมองปลอดโปร่ง ทำให้สมองสามารถเรียนรู้ จดจำ มีสมาธิ พร้อมเริ่มวันใหม่ ตลอดจนทำกิจกรรมการเรียนรู้กันเพื่อนได้อย่างดี ควบคู่กับสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย” อธิบดีกรมอนามัยกล่าวในที่สุด