“ชินภัทร” สั่ง ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา บริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีเด็กต่ำกว่า 40 คน กว่า 2.5 พันแห่ง จะ “ยุบรวม-ยุบเลิก” แนะดูตัวอย่าง โรงเรียนพยุหะศึกษาคาร
วันนี้ (3 พ.ค.) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า วันนี้ที่ประชุมได้หารือเรื่องการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ปี 2554-2555 โดยในการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในวันที่ 11-12 พ.ค.นี้ จะนำข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศที่ทางสำนักนโยบายและแผน สพฐ. มอบเป็นการบ้านให้กับ ผอ.เขตพื้นที่ฯ เพื่อไปจัดทำแผนในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ของตนเอง โดยจะมุ่งเน้นไปที่โรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 40 คนลงไปเป็นลำดับแรก ปัจจุบันมีจำนวน 2,545 แห่ง แบ่งเป็น โรงเรียนที่มีนักเรียน 0-20 คน จำนวน 581 แห่ง และ 21-40 คน จำนวน 1,964 แห่ง
นายชินภัทร กล่าวว่า โรงเรียนขนาดเล็กส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ซึ่งเขตพื้นที่ฯ จะต้องไปจัดทำแผนการบริหารจัดการให้เป็นรูปธรรม และมีความชัดเจนว่า จะยุบรวม หรือยุบเลิกได้กี่แห่ง และจะให้โรงเรียนใดยังคงมีต่อไป โดย สพฐ.จะให้เวลาในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตั้งแต่ปี 2554-2555 ซึ่งในปี 2554 จะต้องมีแผน และสพฐ.จะกำกับติดตามดูความคืบหน้าของการบริหารจัดการ พร้อมกันนี้ สพฐ.ถือว่าการบริหารจัดการจะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของเขตพื้นที่ฯด้วย ซึ่งผอ.เขตพื้นที่ฯ จะไม่ยอมรับคงไม่ได้ เพราะเป็นความรับผิดชอบที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า โรงเรียนพยุหะศึกษาคาร จ.นครสวรรค์ ตนถือว่าเป็นต้นแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่ประสบความสำเร็จ โดยการดึงโรงเรียนใกล้เคียงมาเรียนรวม และไปร่วมมือกับทางองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เปิดศูนย์ปฐมวัย ส่งผลให้โรงเรียนมีจำนวนนักเรียนที่มากขึ้น และในที่สุดก็ได้รับการพิจารณาเป็นโรงเรียนดีประจำตำบล
วันนี้ (3 พ.ค.) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า วันนี้ที่ประชุมได้หารือเรื่องการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ปี 2554-2555 โดยในการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในวันที่ 11-12 พ.ค.นี้ จะนำข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศที่ทางสำนักนโยบายและแผน สพฐ. มอบเป็นการบ้านให้กับ ผอ.เขตพื้นที่ฯ เพื่อไปจัดทำแผนในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ของตนเอง โดยจะมุ่งเน้นไปที่โรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 40 คนลงไปเป็นลำดับแรก ปัจจุบันมีจำนวน 2,545 แห่ง แบ่งเป็น โรงเรียนที่มีนักเรียน 0-20 คน จำนวน 581 แห่ง และ 21-40 คน จำนวน 1,964 แห่ง
นายชินภัทร กล่าวว่า โรงเรียนขนาดเล็กส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ซึ่งเขตพื้นที่ฯ จะต้องไปจัดทำแผนการบริหารจัดการให้เป็นรูปธรรม และมีความชัดเจนว่า จะยุบรวม หรือยุบเลิกได้กี่แห่ง และจะให้โรงเรียนใดยังคงมีต่อไป โดย สพฐ.จะให้เวลาในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตั้งแต่ปี 2554-2555 ซึ่งในปี 2554 จะต้องมีแผน และสพฐ.จะกำกับติดตามดูความคืบหน้าของการบริหารจัดการ พร้อมกันนี้ สพฐ.ถือว่าการบริหารจัดการจะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของเขตพื้นที่ฯด้วย ซึ่งผอ.เขตพื้นที่ฯ จะไม่ยอมรับคงไม่ได้ เพราะเป็นความรับผิดชอบที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า โรงเรียนพยุหะศึกษาคาร จ.นครสวรรค์ ตนถือว่าเป็นต้นแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่ประสบความสำเร็จ โดยการดึงโรงเรียนใกล้เคียงมาเรียนรวม และไปร่วมมือกับทางองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เปิดศูนย์ปฐมวัย ส่งผลให้โรงเรียนมีจำนวนนักเรียนที่มากขึ้น และในที่สุดก็ได้รับการพิจารณาเป็นโรงเรียนดีประจำตำบล