สบส. นัดถกมท. -พาณิชย์ -และสนช. หาแนวทางควบคุมสถานบริการสุขภาพ ป้องกันนวดไทยแอบแฝงขายบริการทางเพศ กู้ภาพลักษณ์สปาไทยในต่างแดน
นพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้กล่าวถึง แนวทางในการกู้ภาพลักษณ์สปาไทย ในการประชุมหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงมหาดไทย (มท) กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สนช.)และสมาพันธ์สปาไทยว่า ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ธุรกิจบริการสุขภาพหรือสปา มี ๓ ประเภทด้วยกัน คือ ๑. สปาที่ผ่านการรับรองมาตรฐานกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ๒. สปาที่ผ่านการจดทะเบียนจากกระทรวงมหาดไทย และ ๓. สปาที่ไม่ผ่านการจดทะเบียนจากที่ใดเลยหรือก็คือสปาผิดกฎหมายนั่นเอง
จากการประชุมในครั้งนี้ ประเด็นแรกเราได้ประสานงานกับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงมหาดไทยให้ช่วยกันสอดส่องดูแลว่าสปาดังกล่าว มีการให้บริการทางเพศแอบแฝงหรือไม่ ประเด็นที่สองคือการทำประชาสัมพันธ์ ในเชิงรุกโดยให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจ สมาพันธ์สปาไทย และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ทำประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบว่าสปาที่มีมาตรฐานเป็นอย่างไร เพื่อที่ประชาชนจะได้เกิดความมั่นใจในการมาใช้บริการ และการทำประชาสัมพันธ์ตรงนี้ไม่ใช่เฉพาะในภาษาไทยอย่างเดียวแต่ต้องทำเป็นภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากลเพราะส่วนหนึ่งผู้ที่มาใช้บริการสปาก็เป็นชาวต่างชาติด้วย
ในส่วนของต่างประเทศ เราได้มีการสนับสนุนทางวิชาการในการจัดตั้งสมาคมสปาไทยในต่างแดน เพื่อช่วยสอดส่องดูแลเรื่องมาตรฐานสปาไทย ตอนนี้ได้จัดตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ๒ ประเทศ คือประเทศเยอรมัน และประเทศญี่ปุ่น และกำลังจะจัดตั้งในประเทศออสเตรเลีย ประเทศสวีเดน ต่อด้วยประเทศอื่นๆ ที่มีความนิยมในสปาไทย อีกทั้งเราต้องทำประชาสัมพันธ์ให้คนรู้ว่านี่คือสปาไทยแน่นอน ไม่ใช่สปาที่แอบอ้างโดยชาวต่างประเทศ ซึ่งสบส.จะทำตราสัญลักษณ์ให้ผู้ใช้บริการเห็นแล้วเกิดความมั่นใจว่านี่คือมาตรฐานของสปาไทยที่แท้จริง
นพ.ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมธุรกิจบริการสุขภาพ สบส.กล่าวว่า สำหรับรายชื่อสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ กว่า ๑,๓๔๑ แห่ง ที่มาขอรับรองมาตรฐานกับทางสบส.นั้น ทาง สบส. จะส่งรายชื่อไปที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สทช.) กระทรวงการท่องเที่ยว กรมสรรพสามิต และกรมการปกครอง ซึ่งเรารับรองเพียงมาตรฐานของสปา แต่ไม่ได้รับรองว่า สถานบริการนั้น ขึ้นทะเบียนถูกต้องหรือไม่ ในการรับรองมาตรฐานสปานั้น จะแบ่งเป็นระดับ ตั้งแต่ระดับเงิน ระดับทอง และระดับแพลตตินั่ม
ทั้งนี้ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จะดำเนินการตรวจและ ให้ตราสัญลักษณ์กับสถานประกอบการสปาที่ประเทศเยอรมณี ในช่วงเดือนกรกฎาคมและทำการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ พร้อมมอบวุฒิบัตรให้ สำหรับในประเทศญี่ปุ่น จะเป็นการปูพื้นความเข้าใจก่อน เนื่องจากเพิ่งมีการจัดตั้งสมาคมผู้ประกอบการสปาในญี่ปุ่นและมีการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายของญี่ปุ่น โดยปีนี้จะเน้นให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องมาตรฐานสปาไทย
นพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้กล่าวถึง แนวทางในการกู้ภาพลักษณ์สปาไทย ในการประชุมหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงมหาดไทย (มท) กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สนช.)และสมาพันธ์สปาไทยว่า ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ธุรกิจบริการสุขภาพหรือสปา มี ๓ ประเภทด้วยกัน คือ ๑. สปาที่ผ่านการรับรองมาตรฐานกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ๒. สปาที่ผ่านการจดทะเบียนจากกระทรวงมหาดไทย และ ๓. สปาที่ไม่ผ่านการจดทะเบียนจากที่ใดเลยหรือก็คือสปาผิดกฎหมายนั่นเอง
จากการประชุมในครั้งนี้ ประเด็นแรกเราได้ประสานงานกับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงมหาดไทยให้ช่วยกันสอดส่องดูแลว่าสปาดังกล่าว มีการให้บริการทางเพศแอบแฝงหรือไม่ ประเด็นที่สองคือการทำประชาสัมพันธ์ ในเชิงรุกโดยให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจ สมาพันธ์สปาไทย และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ทำประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบว่าสปาที่มีมาตรฐานเป็นอย่างไร เพื่อที่ประชาชนจะได้เกิดความมั่นใจในการมาใช้บริการ และการทำประชาสัมพันธ์ตรงนี้ไม่ใช่เฉพาะในภาษาไทยอย่างเดียวแต่ต้องทำเป็นภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากลเพราะส่วนหนึ่งผู้ที่มาใช้บริการสปาก็เป็นชาวต่างชาติด้วย
ในส่วนของต่างประเทศ เราได้มีการสนับสนุนทางวิชาการในการจัดตั้งสมาคมสปาไทยในต่างแดน เพื่อช่วยสอดส่องดูแลเรื่องมาตรฐานสปาไทย ตอนนี้ได้จัดตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ๒ ประเทศ คือประเทศเยอรมัน และประเทศญี่ปุ่น และกำลังจะจัดตั้งในประเทศออสเตรเลีย ประเทศสวีเดน ต่อด้วยประเทศอื่นๆ ที่มีความนิยมในสปาไทย อีกทั้งเราต้องทำประชาสัมพันธ์ให้คนรู้ว่านี่คือสปาไทยแน่นอน ไม่ใช่สปาที่แอบอ้างโดยชาวต่างประเทศ ซึ่งสบส.จะทำตราสัญลักษณ์ให้ผู้ใช้บริการเห็นแล้วเกิดความมั่นใจว่านี่คือมาตรฐานของสปาไทยที่แท้จริง
นพ.ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมธุรกิจบริการสุขภาพ สบส.กล่าวว่า สำหรับรายชื่อสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ กว่า ๑,๓๔๑ แห่ง ที่มาขอรับรองมาตรฐานกับทางสบส.นั้น ทาง สบส. จะส่งรายชื่อไปที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สทช.) กระทรวงการท่องเที่ยว กรมสรรพสามิต และกรมการปกครอง ซึ่งเรารับรองเพียงมาตรฐานของสปา แต่ไม่ได้รับรองว่า สถานบริการนั้น ขึ้นทะเบียนถูกต้องหรือไม่ ในการรับรองมาตรฐานสปานั้น จะแบ่งเป็นระดับ ตั้งแต่ระดับเงิน ระดับทอง และระดับแพลตตินั่ม
ทั้งนี้ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จะดำเนินการตรวจและ ให้ตราสัญลักษณ์กับสถานประกอบการสปาที่ประเทศเยอรมณี ในช่วงเดือนกรกฎาคมและทำการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ พร้อมมอบวุฒิบัตรให้ สำหรับในประเทศญี่ปุ่น จะเป็นการปูพื้นความเข้าใจก่อน เนื่องจากเพิ่งมีการจัดตั้งสมาคมผู้ประกอบการสปาในญี่ปุ่นและมีการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายของญี่ปุ่น โดยปีนี้จะเน้นให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องมาตรฐานสปาไทย