สบส.เรียกผู้ประกอบการ “สปาปลา ”ชี้แจงประเด็นมาตรฐานบริการ 23 มี.ค.นี้ เผยเตรียมประสานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สุ่มตรวจเชื้อในตู้ปลา
นพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวถึงกรณีการควบคุมมาตรฐานการให้บริการของธุรกิจสปาปลาที่ปัจจุบันมีการวิพากษ์ถึงประเด็นเรื่องสุขลักษณะอย่างกว้างขวาง ว่า ทาง สบส.จะเชิญผู้ประกอบการธุรกิจสปาปลาเข้ามารับฟังการชี้แจงข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับการทำธุรกิจดังกล่าวประมาณ 100 แห่ง ซึ่งจะถือเป็นรุ่นแรกที่จะทำการอบรม และจะมีการวางกรอบแนวทางที่ชัดเจน เพื่อชี้แจงและเป็นมาตรฐานให้ผู้ประกอบการได้ยึดถือนำไปปฏิบัติ แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีพระราชบัญญัติที่จะสามารถกำหนดโทษ หากผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตาม แต่จะถือว่าเป็นการขอความร่วมมือเพื่อยกระดับให้มีมาตรฐานต่อไป โดยมีกำหนดการในการหารือ คือ วันที่ 23 มี.ค.นี้
“แนวทางข้อควรปฏิบัติที่จะแนะนำแก่ผู้ประกอบ คือ 1.ก่อนให้บริการควรล้างเท้าให้ผู้ใช้บริการ เพื่อตรวจว่ามีบาดแผลหรือโรคผิวหนัง ซึ่งไม่ควรรับบริการหรือไม่ รวมถึงในกรณีผู้ใช้บริการควรทราบว่า หากตนเองเพิ่งตัดเล็บ หรือ โกนขนหน้าแข้ง ก็ไม่ควรเข้ารับบริการ เพราะอาจมีแผลขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ 2.ระบบน้ำควรใช้น้ำแบบหมุนเวียน และมีกติกาในการเปลี่ยนที่กรองน้ำให้ได้มาตรฐานตามคำแนะนำ 3.ระบบการไหลเวียนน้ำ ต้องติดตั้งเครื่องฉายแสงยูวี เพื่อฆ่าเชื้อโรคด้วย 4.หลังจากรับบริการต้องมีการล้างเท้าอีกครั้งเพื่อลดการติดเชื้อลง” นพ.สมชัย กล่าว
อธิบดี สบส.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ภายในสัปดาห์หน้า สบส.จะประสานความร่วมมือกักรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ส่งเจ้าหน้าที่ไปสุ่มตรวจเก็บเชื้อในตู้ปลาของธรุกิจที่บริการสปาปลา เพื่อนำมาวิเคราะห์สถานการณ์ต่อไป อย่างไรก็ตาม เพื่อความสะอาด ปลอดภัย การหารือในวันที่ 23 มี.ค.นั้น จะเน้นที่การขอความร่วมมือผู้ประกอบการให้ทำตามมาตรฐานที่มีด้วย เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายมาคุมเข้มที่แน่ชัด
นพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวถึงกรณีการควบคุมมาตรฐานการให้บริการของธุรกิจสปาปลาที่ปัจจุบันมีการวิพากษ์ถึงประเด็นเรื่องสุขลักษณะอย่างกว้างขวาง ว่า ทาง สบส.จะเชิญผู้ประกอบการธุรกิจสปาปลาเข้ามารับฟังการชี้แจงข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับการทำธุรกิจดังกล่าวประมาณ 100 แห่ง ซึ่งจะถือเป็นรุ่นแรกที่จะทำการอบรม และจะมีการวางกรอบแนวทางที่ชัดเจน เพื่อชี้แจงและเป็นมาตรฐานให้ผู้ประกอบการได้ยึดถือนำไปปฏิบัติ แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีพระราชบัญญัติที่จะสามารถกำหนดโทษ หากผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตาม แต่จะถือว่าเป็นการขอความร่วมมือเพื่อยกระดับให้มีมาตรฐานต่อไป โดยมีกำหนดการในการหารือ คือ วันที่ 23 มี.ค.นี้
“แนวทางข้อควรปฏิบัติที่จะแนะนำแก่ผู้ประกอบ คือ 1.ก่อนให้บริการควรล้างเท้าให้ผู้ใช้บริการ เพื่อตรวจว่ามีบาดแผลหรือโรคผิวหนัง ซึ่งไม่ควรรับบริการหรือไม่ รวมถึงในกรณีผู้ใช้บริการควรทราบว่า หากตนเองเพิ่งตัดเล็บ หรือ โกนขนหน้าแข้ง ก็ไม่ควรเข้ารับบริการ เพราะอาจมีแผลขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ 2.ระบบน้ำควรใช้น้ำแบบหมุนเวียน และมีกติกาในการเปลี่ยนที่กรองน้ำให้ได้มาตรฐานตามคำแนะนำ 3.ระบบการไหลเวียนน้ำ ต้องติดตั้งเครื่องฉายแสงยูวี เพื่อฆ่าเชื้อโรคด้วย 4.หลังจากรับบริการต้องมีการล้างเท้าอีกครั้งเพื่อลดการติดเชื้อลง” นพ.สมชัย กล่าว
อธิบดี สบส.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ภายในสัปดาห์หน้า สบส.จะประสานความร่วมมือกักรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ส่งเจ้าหน้าที่ไปสุ่มตรวจเก็บเชื้อในตู้ปลาของธรุกิจที่บริการสปาปลา เพื่อนำมาวิเคราะห์สถานการณ์ต่อไป อย่างไรก็ตาม เพื่อความสะอาด ปลอดภัย การหารือในวันที่ 23 มี.ค.นั้น จะเน้นที่การขอความร่วมมือผู้ประกอบการให้ทำตามมาตรฐานที่มีด้วย เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายมาคุมเข้มที่แน่ชัด