IHPP พบ รพช.เกิดปัญหา แพทย์ลาออก-ย้ายพื้นที่เพียบ เหตุค่าตอบแทนน้อย-ภาระหนัก แนะแพทยสภา-โรงเรียนแพทย์ รับ นศ.ให้สอดคล้องโควตาของ สธ.ด้วย แก้แพทย์ทั่วไปขาดแคลน พร้อมหนุนโครงการ ODOD ผลิตแพทย์จากชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ
วานนี้ (26 เม.ย.) ดร.นงลักษณ์ พะไกยะ ผู้จัดการสำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กล่าวว่า จากการประชุมเสวทีสัมมนาเพื่อพัฒนาข้อเสนอการทบทวนมาตรการพันธสัญญาชดใช้ทุนของแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร ที่จัดขึ้นเมื่อต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมมากมาย เช่น คณะกรรมการข้าราชการและพลเรือน (ก.พ.) แพทยสภา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ตัวแทนจากสภาวิชาชีพต่าง แพทย์ชนบท สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ตัวแทนจากโรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.)/โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) และโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ที่ประชุมได้มีการนำเสนอรายงานสถานการณ์ด้านบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขมานำเสนอ โดยพบว่า ขณะนี้ปัญหาหลักของวงการสาธารณสุขของไทย คือ เรื่องของการขาดแคลนแพทย์ประจำโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) โดยปัญหาที่พบคือ พบว่าแพทย์ทั่วไปที่ประจำการใน รพช.พยายามจะลาออกหรือย้ายตัวเองออกจากพื้นที่มากขึ้น ซึ่งมีทั้งแพทย์ที่สิ้นภาระการใช้ทุนของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และแพทย์ที่ยังใช้ทุนไม่เสร็จ
ทั้งนี้ จากการสำรวจของสำนักงานวิจัยฯ พบว่า ปี 2553 จากจำนวนแพทย์ที่โรงเรียนแพทย์ผลิตออกมาได้ราวปีละ 2,000-2,500 รายนั้นร้อยละ 70-80 เป็นแพทย์ใช้ทุนของ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยได้รับทุนรายละประมาณ 170,0000 บาทต่อคนต่อการเรียนแพทย์ 6 ปี แต่ 1 ใน 3 ของแพทย์ใช้ทุนกลับอยู่ปฏิบัติภารกิจไม่ครบ 3 ปี ตามเกณฑ์ของ สธ. ปัญหาคือ แพทย์ใช้ทุนที่ สธ.ผลิตมานั้นส่วนมากให้ประจำการที่ รพช.เพื่อให้รับใช้ชุมชนเป็นหลัก
ดร.นงลักษณ์กล่าวอีกว่า ปัญหาคือปัจจุบันพบว่า รพช.เกิดปัญหาแพทย์ลาออกและย้ายมากขึ้น จนทำให้ขาดแคลนแพทย์ประจำการที่จำเป็นสำหรับประชาชน โดยจากจำนวน รพช.ทั่วประเทศที่มีอยู่ 738 แห่ง ในจำนวนนี้มี 30-40 แห่ง มีแพทย์ประจำการแค่ 2 คน ขณะที่ 20 แห่งมีเพียง 1 คน ส่งผลให้ รพศ.รพท.ประจำจังหวัดต้องจัดแพทย์ไปช่วยกันเปลี่ยนเวร เพื่อบริการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วย ขณะนี้ตนเพิ่งทราบอีกว่าจะมีแพทย์ที่ รพช.บันนังสตา จ.ยะลา รพช.ภูเรือ และ รพช.นาแห้ว จ.เลย กำลังจะลาออกเช่นกัน โดยในพื้นที่ จ.ยะลานั้นเป็นแพทย์ที่จบใหม่ใช้ทุนได้แค่ 2 ปี แต่จะย้ายออก ซึ่งส่วนนี้ทาง สธ.อนุญาตเป็นกรณีพิเศษ เพราะเป็นพื้นที่ชายแดนใต้ และอันตรายแต่ให้ย้ายไปใช้ทุนให้ครบ 3 ปี ในรพ.ของรัฐ ได้ที่อื่นตามเจ้าตัวสะดวก ส่วนพื้นที่ จ.เลย นั้นทราบว่าเป็นแพทย์ที่ใช้ทุนครบกำหนดแล้วแต่ไม่ต้องการประจำการใน รพช.ด้วยเหตุผลหลักๆ เช่นเดียวกับแพทย์รุ่นก่อนๆ คือ 1.มีปัญหาเรื่องค่าตอบแทนที่ยังน้อย ขณะที่ภาระงานหนัก 2.ต้องการย้ายเพื่อเข้าไปอยู่ในภูมิลำเนาของตนเอง 3.เข้ากับแพทย์ผู้บริหารไม่ได้ 4.ลาออกเพื่อเรียนต่อเฉพาะสาขา
“ส่วนปัญหาเรื่องแพทย์ที่จบด้วยทุนของ สธ.พยายามจะไปเรียนต่อเฉพาะสาขานั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากโรงเรียนแพทย์พยายามรับสมัครนักศึกษาในจำนวนเกินกว่าอัตราที่ สธ.มี เช่น สธ.มีโควตาตำแหน่งแพทย์ทั่วไปจำนวน 600 คน แต่โรงเรียนแพทย์พยายามจะรับนักศึกษาจำนวน 1,000 คน สมมติทั้ง 600 คนนั้นเป็นแพทย์ใช้ทุนแล้ว อีก 400 จะมีทั้งแพทย์ที่เรียนด้วยทุนตัวเองและแพทย์ที่ยังใช้ทุนไม่เสร็จแต่อยากเรียนก็ต้องลาออกก่อน ด้วยความพยายามของแพทยสภาและโรงเรียนแพทย์ส่วนนี้เองทำให้อัตราส่วนแพทย์ใน 100 คน มีแพทย์เฉพาะทางสูงถึง 80 คนอีก 20 คนเป็นแพทย์ทั่วไป ซึ่งแพทย์เฉพาะทางนั้นจะไม่ยอมประจำการใน รพช.แน่นอน เพราะไม่มีโอกาสได้ฝึกทักษะมากเท่ากับ รพศ.รพท.อีกทั้งถึงจะอยู่ประจำการรายได้ของรัฐก็ไม่พอจะจ้างแพทย์เฉพาะทางแน่นอน ส่วนนี้เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ลงตัว”ดร.นงลักษณ์กล่าว
ดร.นงลักษณ์กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังพบว่าสาเหตุหนึ่งที่แพทย์ใน รพช.ยังขาดแคลน เป็นเพราะแพทย์ที่ใช้ทุนส่วนมากไม่ได้เป็นคนชนบทแต่เป็นคนเมือง โดยอัตราส่วนของแพทย์เรียนทุนในแต่ละปีพบว่า กว่าร้อยละ 70 เป็นคนเมืองที่อยู่กระจายตามจังหวัดต่างๆ โดยกว่าครึ่งหนึ่งของแพทย์กลุ่มนี้เป็นคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขณะที่สัดส่วนของแพทย์ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ชนบทจริงๆมีแค่ร้อยละ 20-30 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 27 พ.ค. 2554 ทางหน่วยงานต่างๆ จะมาหารือเรื่องการแก้ปัญหาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอีกครั้ง โดยเบื้องต้นอาจจะเสนอมาตรการให้ มีการออกใบประกอบวิชาชีพหลังจากเสร็จสิ้นการใช้ทุน 3 ปี รวมทั้งเสนอให้มีขยายการผลิตแพทย์ประจำชุมชนหรือที่เรียกว่า one doctor one district (ODOD) โดยการดึงนักศึกษาจากพื้นที่มาเรียนในด้านแพทย์ศาสตร์มากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมทางด้านการบริการสุขภาพ
วานนี้ (26 เม.ย.) ดร.นงลักษณ์ พะไกยะ ผู้จัดการสำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กล่าวว่า จากการประชุมเสวทีสัมมนาเพื่อพัฒนาข้อเสนอการทบทวนมาตรการพันธสัญญาชดใช้ทุนของแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร ที่จัดขึ้นเมื่อต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมมากมาย เช่น คณะกรรมการข้าราชการและพลเรือน (ก.พ.) แพทยสภา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ตัวแทนจากสภาวิชาชีพต่าง แพทย์ชนบท สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ตัวแทนจากโรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.)/โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) และโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ที่ประชุมได้มีการนำเสนอรายงานสถานการณ์ด้านบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขมานำเสนอ โดยพบว่า ขณะนี้ปัญหาหลักของวงการสาธารณสุขของไทย คือ เรื่องของการขาดแคลนแพทย์ประจำโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) โดยปัญหาที่พบคือ พบว่าแพทย์ทั่วไปที่ประจำการใน รพช.พยายามจะลาออกหรือย้ายตัวเองออกจากพื้นที่มากขึ้น ซึ่งมีทั้งแพทย์ที่สิ้นภาระการใช้ทุนของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และแพทย์ที่ยังใช้ทุนไม่เสร็จ
ทั้งนี้ จากการสำรวจของสำนักงานวิจัยฯ พบว่า ปี 2553 จากจำนวนแพทย์ที่โรงเรียนแพทย์ผลิตออกมาได้ราวปีละ 2,000-2,500 รายนั้นร้อยละ 70-80 เป็นแพทย์ใช้ทุนของ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยได้รับทุนรายละประมาณ 170,0000 บาทต่อคนต่อการเรียนแพทย์ 6 ปี แต่ 1 ใน 3 ของแพทย์ใช้ทุนกลับอยู่ปฏิบัติภารกิจไม่ครบ 3 ปี ตามเกณฑ์ของ สธ. ปัญหาคือ แพทย์ใช้ทุนที่ สธ.ผลิตมานั้นส่วนมากให้ประจำการที่ รพช.เพื่อให้รับใช้ชุมชนเป็นหลัก
ดร.นงลักษณ์กล่าวอีกว่า ปัญหาคือปัจจุบันพบว่า รพช.เกิดปัญหาแพทย์ลาออกและย้ายมากขึ้น จนทำให้ขาดแคลนแพทย์ประจำการที่จำเป็นสำหรับประชาชน โดยจากจำนวน รพช.ทั่วประเทศที่มีอยู่ 738 แห่ง ในจำนวนนี้มี 30-40 แห่ง มีแพทย์ประจำการแค่ 2 คน ขณะที่ 20 แห่งมีเพียง 1 คน ส่งผลให้ รพศ.รพท.ประจำจังหวัดต้องจัดแพทย์ไปช่วยกันเปลี่ยนเวร เพื่อบริการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วย ขณะนี้ตนเพิ่งทราบอีกว่าจะมีแพทย์ที่ รพช.บันนังสตา จ.ยะลา รพช.ภูเรือ และ รพช.นาแห้ว จ.เลย กำลังจะลาออกเช่นกัน โดยในพื้นที่ จ.ยะลานั้นเป็นแพทย์ที่จบใหม่ใช้ทุนได้แค่ 2 ปี แต่จะย้ายออก ซึ่งส่วนนี้ทาง สธ.อนุญาตเป็นกรณีพิเศษ เพราะเป็นพื้นที่ชายแดนใต้ และอันตรายแต่ให้ย้ายไปใช้ทุนให้ครบ 3 ปี ในรพ.ของรัฐ ได้ที่อื่นตามเจ้าตัวสะดวก ส่วนพื้นที่ จ.เลย นั้นทราบว่าเป็นแพทย์ที่ใช้ทุนครบกำหนดแล้วแต่ไม่ต้องการประจำการใน รพช.ด้วยเหตุผลหลักๆ เช่นเดียวกับแพทย์รุ่นก่อนๆ คือ 1.มีปัญหาเรื่องค่าตอบแทนที่ยังน้อย ขณะที่ภาระงานหนัก 2.ต้องการย้ายเพื่อเข้าไปอยู่ในภูมิลำเนาของตนเอง 3.เข้ากับแพทย์ผู้บริหารไม่ได้ 4.ลาออกเพื่อเรียนต่อเฉพาะสาขา
“ส่วนปัญหาเรื่องแพทย์ที่จบด้วยทุนของ สธ.พยายามจะไปเรียนต่อเฉพาะสาขานั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากโรงเรียนแพทย์พยายามรับสมัครนักศึกษาในจำนวนเกินกว่าอัตราที่ สธ.มี เช่น สธ.มีโควตาตำแหน่งแพทย์ทั่วไปจำนวน 600 คน แต่โรงเรียนแพทย์พยายามจะรับนักศึกษาจำนวน 1,000 คน สมมติทั้ง 600 คนนั้นเป็นแพทย์ใช้ทุนแล้ว อีก 400 จะมีทั้งแพทย์ที่เรียนด้วยทุนตัวเองและแพทย์ที่ยังใช้ทุนไม่เสร็จแต่อยากเรียนก็ต้องลาออกก่อน ด้วยความพยายามของแพทยสภาและโรงเรียนแพทย์ส่วนนี้เองทำให้อัตราส่วนแพทย์ใน 100 คน มีแพทย์เฉพาะทางสูงถึง 80 คนอีก 20 คนเป็นแพทย์ทั่วไป ซึ่งแพทย์เฉพาะทางนั้นจะไม่ยอมประจำการใน รพช.แน่นอน เพราะไม่มีโอกาสได้ฝึกทักษะมากเท่ากับ รพศ.รพท.อีกทั้งถึงจะอยู่ประจำการรายได้ของรัฐก็ไม่พอจะจ้างแพทย์เฉพาะทางแน่นอน ส่วนนี้เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ลงตัว”ดร.นงลักษณ์กล่าว
ดร.นงลักษณ์กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังพบว่าสาเหตุหนึ่งที่แพทย์ใน รพช.ยังขาดแคลน เป็นเพราะแพทย์ที่ใช้ทุนส่วนมากไม่ได้เป็นคนชนบทแต่เป็นคนเมือง โดยอัตราส่วนของแพทย์เรียนทุนในแต่ละปีพบว่า กว่าร้อยละ 70 เป็นคนเมืองที่อยู่กระจายตามจังหวัดต่างๆ โดยกว่าครึ่งหนึ่งของแพทย์กลุ่มนี้เป็นคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขณะที่สัดส่วนของแพทย์ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ชนบทจริงๆมีแค่ร้อยละ 20-30 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 27 พ.ค. 2554 ทางหน่วยงานต่างๆ จะมาหารือเรื่องการแก้ปัญหาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอีกครั้ง โดยเบื้องต้นอาจจะเสนอมาตรการให้ มีการออกใบประกอบวิชาชีพหลังจากเสร็จสิ้นการใช้ทุน 3 ปี รวมทั้งเสนอให้มีขยายการผลิตแพทย์ประจำชุมชนหรือที่เรียกว่า one doctor one district (ODOD) โดยการดึงนักศึกษาจากพื้นที่มาเรียนในด้านแพทย์ศาสตร์มากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมทางด้านการบริการสุขภาพ