กรมวิทย์ พบ “ลูกน้ำยุงลาย” 1 ตัว มีเชื้อถึง 2 ชนิด เผย หน้าร้อนอาจกัดคนสูงถึง 45 ตัวต่อ ชม.คาดปีนี้ระบาดแรง
วานนี้ (21 เม.ย.) ดร.อุษาวดี ถาวระ หัวหน้าฝ่ายชีววิทยาและนิเวศวิทยา สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากการวิจัย เรื่อง “ชีววิทยาและอัตราการติดเชื้อของยุงพาหะโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย” ระหว่างปี 2549-2553 เป็นเวลา 5 ปี ในพื้นที่ 25 จังหวัดของประเทศไทย โดยศึกษาทั้งยุงลายบ้าน และยุงลายสวน พบว่า ในฤดูร้อนยุงลายบ้าน มีอัตราการกัดสูงสุดเท่ากับ 45 ตัวต่อคนต่อชั่วโมง ขณะที่ฤดูหนาวยุงลายสวน มีอัตราการกัดสูงสุด 18 ตัวต่อคนต่อชั่วโมง นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาเกี่ยวกับอัตราการติดเชื้อของยุงพาหะในธรรมชาติ ด้วยการตรวจหาเชื้อไวรัสเดงกี่ในยุงลายทั้ง 2 ชนิด โดยใช้เทคนิคการตรวจสารพันธุกรรม ยุงลายบ้านมีอัตราการติดเชื้อมากกว่ายุงลายสวน
ดร.อุษาวดี กล่าวอีกว่า ดังนั้น ในการควบคุมโรคไข้เลือดออกต้องทำทั้งยุงลายบ้าน และยุงลายสวน โดยทางภาคใต้ ซึ่งยุงลายสวนมีอัตราการติดเชื้อไวรัสเดงกี่สูงสุด คือ 24% อีกทั้งตรวจพบเชื้อไวรัสเดงกี่ในลูกน้ำยุงลาย และยุงลายเพศผู้ ที่ไม่กัดคนในยุงลายทั้ง 2 ชนิดด้วย แสดงให้เห็นว่า มีการถ่ายทอดเชื้อจากยุงลายรุ่นแม่สู่รุ่นลูก จากเดิมที่มีการเข้าใจว่า ยุงลายจะได้รับเชื้อจากการกัดคนที่มีเชื้อเท่านั้น เมื่อลูกน้ำโตขึ้นสามารถกัดคนและคนได้รับเชื้อไวรัสได้โดยที่ยุงไม่เคยกัดผู้ป่วยมาก่อน ทำให้โอกาสการแพร่เชื้อมายังคนมากขึ้น และยังพบว่า ยุงลายหนึ่งตัวมีเชื้อไวรัสเดงกี่ถึง 2 ชนิด พบทั้งในยุงลายบ้าน และยุงลายสวน ทั้งนี้ อันตรายของยุงลายที่มีเชื้อ 2 ชนิดใน 1 ตัว ทำให้ผู้ถูกกัดได้รับเชื้อไวรัสไข้เลือดออกถึง 2 ชนิดในเวลาเดียวกัน แต่ความรุนแรงของเชื้อจะน้อยกว่าการโดนยุงที่มีเชื้อเพียง 1 ชนิดกัด
ด้านดร.อภิวัฎ ธวัชสิน นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการพิเศษ กล่าวว่า จากการศึกษาพฤติกรรมการกัดของยุงลาย พบว่า สภาพภูมิอากาศมีผลต่อพฤติกรรมการกัดของยุงลาย โดยยุงลายบ้าน ในฤดูร้อนและฤดูฝนอัตราการกัดสูงกว่าในฤดูหนาว และมีอัตราการกัดในช่วงกลางคืนด้วย ขณะที่ในฤดูหนาวไม่กัดเวลากลางคืน ในการป้องกันประชาชนจึงควรให้ความสำคัญกับการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และคาดว่า ในปี 2554 การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกน่าจะสูง เพราะมีฝนตกในช่วงหน้าร้อนทำให้มีพื้นที่น้ำขังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงมาก โดยในปี 2553 มีผู้ป่วย 113,017 ราย เสียชีวิต 139 ราย
วานนี้ (21 เม.ย.) ดร.อุษาวดี ถาวระ หัวหน้าฝ่ายชีววิทยาและนิเวศวิทยา สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากการวิจัย เรื่อง “ชีววิทยาและอัตราการติดเชื้อของยุงพาหะโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย” ระหว่างปี 2549-2553 เป็นเวลา 5 ปี ในพื้นที่ 25 จังหวัดของประเทศไทย โดยศึกษาทั้งยุงลายบ้าน และยุงลายสวน พบว่า ในฤดูร้อนยุงลายบ้าน มีอัตราการกัดสูงสุดเท่ากับ 45 ตัวต่อคนต่อชั่วโมง ขณะที่ฤดูหนาวยุงลายสวน มีอัตราการกัดสูงสุด 18 ตัวต่อคนต่อชั่วโมง นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาเกี่ยวกับอัตราการติดเชื้อของยุงพาหะในธรรมชาติ ด้วยการตรวจหาเชื้อไวรัสเดงกี่ในยุงลายทั้ง 2 ชนิด โดยใช้เทคนิคการตรวจสารพันธุกรรม ยุงลายบ้านมีอัตราการติดเชื้อมากกว่ายุงลายสวน
ดร.อุษาวดี กล่าวอีกว่า ดังนั้น ในการควบคุมโรคไข้เลือดออกต้องทำทั้งยุงลายบ้าน และยุงลายสวน โดยทางภาคใต้ ซึ่งยุงลายสวนมีอัตราการติดเชื้อไวรัสเดงกี่สูงสุด คือ 24% อีกทั้งตรวจพบเชื้อไวรัสเดงกี่ในลูกน้ำยุงลาย และยุงลายเพศผู้ ที่ไม่กัดคนในยุงลายทั้ง 2 ชนิดด้วย แสดงให้เห็นว่า มีการถ่ายทอดเชื้อจากยุงลายรุ่นแม่สู่รุ่นลูก จากเดิมที่มีการเข้าใจว่า ยุงลายจะได้รับเชื้อจากการกัดคนที่มีเชื้อเท่านั้น เมื่อลูกน้ำโตขึ้นสามารถกัดคนและคนได้รับเชื้อไวรัสได้โดยที่ยุงไม่เคยกัดผู้ป่วยมาก่อน ทำให้โอกาสการแพร่เชื้อมายังคนมากขึ้น และยังพบว่า ยุงลายหนึ่งตัวมีเชื้อไวรัสเดงกี่ถึง 2 ชนิด พบทั้งในยุงลายบ้าน และยุงลายสวน ทั้งนี้ อันตรายของยุงลายที่มีเชื้อ 2 ชนิดใน 1 ตัว ทำให้ผู้ถูกกัดได้รับเชื้อไวรัสไข้เลือดออกถึง 2 ชนิดในเวลาเดียวกัน แต่ความรุนแรงของเชื้อจะน้อยกว่าการโดนยุงที่มีเชื้อเพียง 1 ชนิดกัด
ด้านดร.อภิวัฎ ธวัชสิน นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการพิเศษ กล่าวว่า จากการศึกษาพฤติกรรมการกัดของยุงลาย พบว่า สภาพภูมิอากาศมีผลต่อพฤติกรรมการกัดของยุงลาย โดยยุงลายบ้าน ในฤดูร้อนและฤดูฝนอัตราการกัดสูงกว่าในฤดูหนาว และมีอัตราการกัดในช่วงกลางคืนด้วย ขณะที่ในฤดูหนาวไม่กัดเวลากลางคืน ในการป้องกันประชาชนจึงควรให้ความสำคัญกับการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และคาดว่า ในปี 2554 การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกน่าจะสูง เพราะมีฝนตกในช่วงหน้าร้อนทำให้มีพื้นที่น้ำขังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงมาก โดยในปี 2553 มีผู้ป่วย 113,017 ราย เสียชีวิต 139 ราย