“จุรินทร์” ออกนโยบายสงกรานต์ปลอดเหล้า ปลอดภัย เตรียมพร้อมโรงพยาบาลทุกระดับ รับมือผู้บาดเจ็บอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ 11-17 เมษายน 2554 มีแพทย์ประจำตลอด 24 ชม.ตั้งเป้าลดจำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากปี 2553 ให้ได้ร้อยละ 5
วันนี้ (7 เม.ย.) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์ ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค นายแพทย์ ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และ พลเอก นายแพทย์ ชูศักดิ์ สุวรรณศิริกุล กรรมการเภสัชกรองค์กรร่วมทศวรรษโรคกระดูกและข้อ แถลงข่าวการเตรียมความพร้อมรับมืออุบัติเหตุสงกรานต์ 2554 “สงกรานต์ปลอดเหล้า ปลอดภัย”
นายจุรินทร์ กล่าวว่า สถิติอุบัติเหตุทางถนนแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตประมาณ 12,000 คน บาดเจ็บอีกกว่า 1 ล้านคน และผู้พิการอีกหลายหมื่นคน สาเหตุเกิดจากสภาพยานพาหนะ พื้นผิวการจราจร และที่สำคัญ คือ พฤติกรรมของผู้ขับขี่ มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับขี่ และขับรถเร็ว ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2553 ที่ผ่านมา มีอุบัติเหตุจราจรเกิดจากเมาแล้วขับร้อยละ 40 ขับรถเร็วร้อยละ 20 พาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ รถจักรยานยนต์ คิดเป็นร้อยละ 80 รองลงมาคือ รถปิกอัพ นอกจากนั้น ยังพบว่า เกิดจากการขับขี่ของเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ประมาณร้อยละ 30 อายุ 15-19 ปี ร้อยละ 17.7 รัฐบาลจึงได้กำหนดให้อุบัติเหตุทางถนนเป็นวาระแห่งชาติ ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการทำงานเข้าด้วยกัน โดยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ กำหนดให้ดำเนินงานเข้มข้นในช่วงวันที่ 11-17 เมษายน 2554 ตั้งเป้าหมายลดจำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากปี 2553 ให้ได้ร้อยละ 5
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ปีนี้จะดำเนินการควบคู่กันทั้งมาตรการป้องกันและมาตรการรักษาพยาบาล เพื่อมุ่งเน้นให้สงกรานต์ปีนี้เป็นสงกรานต์ปลอดเหล้า ปลอดภัย โดยมาตรการป้องกัน ประการแรกจะบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเคร่งครัด ทั้งเรื่องอายุ สถานที่ และเวลาห้ามขาย ประการที่ 2 ขอฝากเตือนผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะต่างๆต้องไม่ประมาทและคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก ที่สำคัญคือ ต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เด็ดขาด ในปีที่ผ่านมาได้จับกุมผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วขับขี่ยานพาหนะ 9,952 ราย
สำหรับมาตรการด้านการรักษา ได้เตรียมความพร้อมการแพทย์ฉุกเฉินภายใต้สายด่วน 1669 ตั้งเป้าหมายทันที่ที่ได้รับแจ้งเหตุจะประสานหน่วยกู้ชีพฉุกเฉินไปถึงจุดเกิดเหตุภายใน 10 นาทีให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของกรณีที่ได้รับแจ้ง โดยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และสั่งการให้โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับ ทั้งโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน เตรียมพร้อมห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ห้องไอซียู ตึกผู้ป่วยใน ตลอด 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ จากการศึกษาข้อมูลอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2552 เปรียบเทียบกับปี 2553 พบว่า ยอดรวมอุบัติเหตุในปี 2553 ลดลง ผู้บาดเจ็บลดลงร้อยละ 12 จาก 4,332 รายเหลือ 3,802 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตลดลงร้อยละ 3 โดยลดจาก 373 ราย เหลือ 361 ราย อุบัติเหตุร้อยละ 67.7 เกิดขึ้นบนถนนสายรอง เช่นถนนตามหมู่บ้าน ส่วนถนนทางหลวงแผ่นดินเกิดร้อยละ 32.9 จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุดในปี 2553 ได้แก่ นครศรีธรรมราช 142 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด คือ นครราชสีมา 18 ราย ส่วนจังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด คือนครศรีธรรมราช 159 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตเลย ได้แก่ ตราด พังงา แม่ฮ่องสอน ระนอง สมุทรสงคราม สุโขทัย และ ยะลา
ด้านนพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการมาตรการด้านการป้องกันให้ดำเนินการให้สอดคล้องกับศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน โดยจะมีการบูรณาการงานของทุกภาคส่วนภายในจังหวัด ตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีการรายงานผลการปฏิบัติงาน และรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัย การตั้งจุดตรวจ/จุดบริการร่วม มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.ร่วมเฝ้าระวัง และให้บริการชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่จะขับขี่มอเตอร์ไซค์ในถนนสายรอง ซึ่งเป็นจุดที่เกิดอุบัติเหตุมากขึ้น นอกเหนือจากถนนสายหลัก และจะให้โรงพยาบาลที่เป็นเครือข่ายเฝ้าระวังการบาดเจ็บ 33 แห่งทั่วประเทศ รวบรวมข้อมูลเฝ้าระวังการบาดเจ็บช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการบาดเจ็บต่อไป นอกจากนั้น ให้สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคเขตเฝ้าระวังการบังคับใช้กฎหมายการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งเรื่องสถานที่ เวลา และอายุในการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ด้านนพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในปีนี้กรมควบคุมโรคจะให้สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคเขต ทั้ง 12 เขตทั่วประเทศ จัดทีมออกสุ่มสำรวจการขายสุราในสถานที่ เช่น ปั๊มน้ำมัน สวนสาธารณะ และร้านค้าตามเส้นทางต่างๆ ในวันที่ 11 และ 13 เมษายน 2554 เพื่อตรวจสอบการจำหน่ายสุราในสถานที่และและเวลาห้ามขาย คือ นอกเวลา 11.00- 14.00 น..และ 17.00-24.00 น.จากการสำรวจในช่วงสงกรานต์ 2553 พบว่า มีการขายสุราในสถานที่และเวลาที่ห้ามขายลดลงจากปี 2552 โดยการขายในสถานที่ห้ามขาย เฉพาะที่ปั๊มน้ำมันลดจากร้อยละ 15 ในปี 2552 เหลือร้อยละ 7 ในปี 2553 ส่วนการขายในเวลาห้ามขายลดจากร้อยละ 18 เหลือร้อยละ 8
นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวว่า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือศูนย์นเรนทร จะเน้นหนักในการดูแลผู้ป่วยจากจุดเกิดเหตุมาโรงพยาบาล ขณะนี้มีบุคลากรกู้ชีพประมาณ 100,000 คน มีรถปฏิบัติการกู้ชีพกู้ภัยฉุกเฉินกว่า 10,000 คัน รวมทั้งได้ทำสัญญากับเรือกู้ชีพกู้ภัยอีกกว่า 1,000 ลำ และเฮลิคอปเตอร์พยาบาลอีก 100 กว่าลำ พร้อมปฏิบัติการที่จุดเกิดเหตุ โดยรับแจ้งเหตุที่หมายเลข 1669 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมงทั่วประเทศ และในปีนี้จะให้รถพยาบาลไปประจำจุดเสี่ยงของกรมทางหลวงที่มีทั้งหมด 100 กว่าจุดเพิ่มเติมด้วย
ด้านนพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวถึงมาตรการควบคุมการดื่มของผู้โดยสารท้ายรถปิกอัพ ว่า ปัจจุบันนี้ มีเฉพาะการตรวจแอลกอฮอล์ในลมหายใจของผู้ขับขี่ ตามกฎหมายเดิมเท่านั้น ส่วนของการห้ามดื่มท้ายรถกระบะ ขณะนี้กฎหมายลูกในการควบคุมยังไม่ออกมา มีเฉพาะมาตรการขอความร่วมมือเท่านั้น
วันนี้ (7 เม.ย.) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์ ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค นายแพทย์ ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และ พลเอก นายแพทย์ ชูศักดิ์ สุวรรณศิริกุล กรรมการเภสัชกรองค์กรร่วมทศวรรษโรคกระดูกและข้อ แถลงข่าวการเตรียมความพร้อมรับมืออุบัติเหตุสงกรานต์ 2554 “สงกรานต์ปลอดเหล้า ปลอดภัย”
นายจุรินทร์ กล่าวว่า สถิติอุบัติเหตุทางถนนแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตประมาณ 12,000 คน บาดเจ็บอีกกว่า 1 ล้านคน และผู้พิการอีกหลายหมื่นคน สาเหตุเกิดจากสภาพยานพาหนะ พื้นผิวการจราจร และที่สำคัญ คือ พฤติกรรมของผู้ขับขี่ มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับขี่ และขับรถเร็ว ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2553 ที่ผ่านมา มีอุบัติเหตุจราจรเกิดจากเมาแล้วขับร้อยละ 40 ขับรถเร็วร้อยละ 20 พาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ รถจักรยานยนต์ คิดเป็นร้อยละ 80 รองลงมาคือ รถปิกอัพ นอกจากนั้น ยังพบว่า เกิดจากการขับขี่ของเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ประมาณร้อยละ 30 อายุ 15-19 ปี ร้อยละ 17.7 รัฐบาลจึงได้กำหนดให้อุบัติเหตุทางถนนเป็นวาระแห่งชาติ ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการทำงานเข้าด้วยกัน โดยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ กำหนดให้ดำเนินงานเข้มข้นในช่วงวันที่ 11-17 เมษายน 2554 ตั้งเป้าหมายลดจำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากปี 2553 ให้ได้ร้อยละ 5
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ปีนี้จะดำเนินการควบคู่กันทั้งมาตรการป้องกันและมาตรการรักษาพยาบาล เพื่อมุ่งเน้นให้สงกรานต์ปีนี้เป็นสงกรานต์ปลอดเหล้า ปลอดภัย โดยมาตรการป้องกัน ประการแรกจะบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเคร่งครัด ทั้งเรื่องอายุ สถานที่ และเวลาห้ามขาย ประการที่ 2 ขอฝากเตือนผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะต่างๆต้องไม่ประมาทและคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก ที่สำคัญคือ ต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เด็ดขาด ในปีที่ผ่านมาได้จับกุมผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วขับขี่ยานพาหนะ 9,952 ราย
สำหรับมาตรการด้านการรักษา ได้เตรียมความพร้อมการแพทย์ฉุกเฉินภายใต้สายด่วน 1669 ตั้งเป้าหมายทันที่ที่ได้รับแจ้งเหตุจะประสานหน่วยกู้ชีพฉุกเฉินไปถึงจุดเกิดเหตุภายใน 10 นาทีให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของกรณีที่ได้รับแจ้ง โดยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และสั่งการให้โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับ ทั้งโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน เตรียมพร้อมห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ห้องไอซียู ตึกผู้ป่วยใน ตลอด 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ จากการศึกษาข้อมูลอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2552 เปรียบเทียบกับปี 2553 พบว่า ยอดรวมอุบัติเหตุในปี 2553 ลดลง ผู้บาดเจ็บลดลงร้อยละ 12 จาก 4,332 รายเหลือ 3,802 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตลดลงร้อยละ 3 โดยลดจาก 373 ราย เหลือ 361 ราย อุบัติเหตุร้อยละ 67.7 เกิดขึ้นบนถนนสายรอง เช่นถนนตามหมู่บ้าน ส่วนถนนทางหลวงแผ่นดินเกิดร้อยละ 32.9 จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุดในปี 2553 ได้แก่ นครศรีธรรมราช 142 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด คือ นครราชสีมา 18 ราย ส่วนจังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด คือนครศรีธรรมราช 159 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตเลย ได้แก่ ตราด พังงา แม่ฮ่องสอน ระนอง สมุทรสงคราม สุโขทัย และ ยะลา
ด้านนพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการมาตรการด้านการป้องกันให้ดำเนินการให้สอดคล้องกับศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน โดยจะมีการบูรณาการงานของทุกภาคส่วนภายในจังหวัด ตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีการรายงานผลการปฏิบัติงาน และรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัย การตั้งจุดตรวจ/จุดบริการร่วม มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.ร่วมเฝ้าระวัง และให้บริการชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่จะขับขี่มอเตอร์ไซค์ในถนนสายรอง ซึ่งเป็นจุดที่เกิดอุบัติเหตุมากขึ้น นอกเหนือจากถนนสายหลัก และจะให้โรงพยาบาลที่เป็นเครือข่ายเฝ้าระวังการบาดเจ็บ 33 แห่งทั่วประเทศ รวบรวมข้อมูลเฝ้าระวังการบาดเจ็บช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการบาดเจ็บต่อไป นอกจากนั้น ให้สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคเขตเฝ้าระวังการบังคับใช้กฎหมายการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งเรื่องสถานที่ เวลา และอายุในการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ด้านนพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในปีนี้กรมควบคุมโรคจะให้สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคเขต ทั้ง 12 เขตทั่วประเทศ จัดทีมออกสุ่มสำรวจการขายสุราในสถานที่ เช่น ปั๊มน้ำมัน สวนสาธารณะ และร้านค้าตามเส้นทางต่างๆ ในวันที่ 11 และ 13 เมษายน 2554 เพื่อตรวจสอบการจำหน่ายสุราในสถานที่และและเวลาห้ามขาย คือ นอกเวลา 11.00- 14.00 น..และ 17.00-24.00 น.จากการสำรวจในช่วงสงกรานต์ 2553 พบว่า มีการขายสุราในสถานที่และเวลาที่ห้ามขายลดลงจากปี 2552 โดยการขายในสถานที่ห้ามขาย เฉพาะที่ปั๊มน้ำมันลดจากร้อยละ 15 ในปี 2552 เหลือร้อยละ 7 ในปี 2553 ส่วนการขายในเวลาห้ามขายลดจากร้อยละ 18 เหลือร้อยละ 8
นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวว่า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือศูนย์นเรนทร จะเน้นหนักในการดูแลผู้ป่วยจากจุดเกิดเหตุมาโรงพยาบาล ขณะนี้มีบุคลากรกู้ชีพประมาณ 100,000 คน มีรถปฏิบัติการกู้ชีพกู้ภัยฉุกเฉินกว่า 10,000 คัน รวมทั้งได้ทำสัญญากับเรือกู้ชีพกู้ภัยอีกกว่า 1,000 ลำ และเฮลิคอปเตอร์พยาบาลอีก 100 กว่าลำ พร้อมปฏิบัติการที่จุดเกิดเหตุ โดยรับแจ้งเหตุที่หมายเลข 1669 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมงทั่วประเทศ และในปีนี้จะให้รถพยาบาลไปประจำจุดเสี่ยงของกรมทางหลวงที่มีทั้งหมด 100 กว่าจุดเพิ่มเติมด้วย
ด้านนพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวถึงมาตรการควบคุมการดื่มของผู้โดยสารท้ายรถปิกอัพ ว่า ปัจจุบันนี้ มีเฉพาะการตรวจแอลกอฮอล์ในลมหายใจของผู้ขับขี่ ตามกฎหมายเดิมเท่านั้น ส่วนของการห้ามดื่มท้ายรถกระบะ ขณะนี้กฎหมายลูกในการควบคุมยังไม่ออกมา มีเฉพาะมาตรการขอความร่วมมือเท่านั้น